Get Adobe Flash player

          ในปี 2558  UAE อยู่ในอันดับที่ 7 ในการจัดอันดับ Country for Retail Business และมีดัชนี GRDI (Global Retail Development Index) อยู่ในอันดับที่ 7 ธุรกิจค้าปลีกใน UAE เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในรัฐที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ดูไบ, อะบูดาบี โดยมีมูลค่าทางการตลาดโดยการแบ่งตามช่องทางการจัดจำหน่ายของ UAE เป็น 4 ประเภท ได้แก่

1)         Hypermarkets มีมูลค่าประมาณ 69.00 %

2)         Supermarkets มีมูลค่าประมาณ 24.00 %

3)         Convenience Stores มีมูลค่าประมาณ 2.00 %

4)         Forecourt Retailers มีมูลค่าประมาณ 5.00 %

ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกใน UAE มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจค้าปลีกประเภท Forecourt Retailers (ร้านค้าปลีกตามปั้มน้ำมัน) มีจำนวนร้านค้าที่มากที่สุด แต่จากแนวโน้มมีการคาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของจำนวนร้านค้าจะมีการลดลง เนื่องจากภาวะทางด้านสินค้าน้ำมันที่มีการปรับตัวลงลดส่งผลให้ร้านค้าปลีกประเภทนี้ลดลงตามไปด้วย ซึ่งมีความแตกต่างกับธุรกิจค้าปลีกในส่วนของ Hypermarkets, Supermarkets และ ConvenienceStores ที่มีอัตราการขยายสาขาและจำนวนร้านค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นับได้ว่าเป็นผู้นำในการค้าปลีกยุคใหม่ของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งจากภูมิประเทศที่ได้รับอิทธิผลมาจากแถบตะวันตก ไฮเปอร์มาร์เก็ต/ ซูเปอร์มาร์เก็ต ประสบความสำเร็จอย่างมาก และแทนที่ร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในตลาดได้ โดยไฮเปอร์มาร์เก็ต/ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ที่ครอบครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุดคือ Carrefour,Lulu Hypermarketและ ร้านค้าปลีกท้องถิ่นที่มีสาขา คือ Union Co-operative Society ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีจำนวนสาขามากที่สุดใน UAE คือ Panda store รองลงมา คือ Spinneys, Choithram, Al Maya Supermarket

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และระดับรายได้ เป็นปัจจัยส่งผลให้ภาคธุรกิจร้านค้าปลีกอาหาร เติบโตขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงหลายที่ผ่านมา และคาดว่ายังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง  และการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปัจจัย คือ พื้นที่และปริมาณน้ำที่จำกัด, ประชากร และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค เป็นปัจจัยส่งเสริมตลาดภาคธุรกิจอาหาร ความเชื่อมั่นในอาหารนำเข้าที่เพิ่มขึ้น และความต้องการบริโภคที่มากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการพัฒนาและลักษณะเฉพาะของเครือข่ายห่วงโซ่อุปทานการจัดส่งอาหาร (food supply chain) เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถจัดส่งได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง

ลักษณะสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทต่างๆจะคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่ความหลากหลายของสินค้าที่มีจำหน่ายเท่านั้น โดยสินค้าอาหารประเภทแช่เย็น/แช่เยือกแข็ง, อาหารสด, อาหารแปรรูป และเครื่องดื่มจะมีจำหน่ายทุกร้านค้าปลีก ยกเว้นร้านค้าปลีกประเภท convenience Stores จะไม่มีสินค้าอาหารประเภทแช่เย็น/แช่เยือกแข็งจำหน่าย  เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และบุคคลากรที่จะให้บริการกับลูกค้า

 

          

          ช่องทางการจำหน่ายอาหารนำเข้าในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

          ปัจจุบันร้านค้าปลีกในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยเฉพาะ Hypermarket และ Supermarket หลายแห่ง มีการนำเข้า-ส่งออก และกระจายสินค้าเอง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง  โดยบริษัทร้านค้าปลีกจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะนำเข้ามาจำหน่ายจากคู่ค้าโดยตรง โดยเกณฑ์พิจารณาการตัดสินใจมีหลายปัจจัย เช่น ความมีชื่อเสียงของสินค้า ราคาของสินค้า สินค้าตรงตามความต้องการของลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น ธุรกิจค้าปลีกที่มีการบริการด้านช่องทางการจำหน่ายครบวงจร ได้แก่ Carrefour, Lulu Hypermarket, Choithram และ Spinneys

ร้านจำหน่ายสินค้าเฉพาะทาง  

อีกช่องทางในการจำหน่ายสินค้าอาหารแบบพรีเมี่ยมใน UAE คือร้านค้าเฉพาะทางเช่นOrganic food & café  เป็นร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อินทรีย์มีทั้งที่เป้นอาหารและไม่ใช่อาหาร  มี 3 สาขาในดูไบ บนถนนSheikh Zayed, ในหมู่บ้านใน Jumeirah, และใน the Greens มี 1 สาขาในอะบูดาบี และ 1 สาขา ในบาห์เรน

Product: มีสินค้าประมาณ 10,000 รายการทั้งอาหาร เครื่องสำอางค์ และของใช้ในบ้านอื่นๆ  ลูกค้าหลักของร้านคือชาวตะวันตกและชาวอาหรับที่มีการศึกษาสูง

          Price:  ตั้งราคาขายระดับสูง

          Place:  ทำเลที่ตั้งอยู่ย่านชุมชนที่อยู่อาศัย มีบริการจัดส่งในบริเวณใกล้ที่ตั้งของร้านสาขามีหน้าเว็บไซต์สำหรับสั่งซื้อออนไลน์ www.organicfoodsandcafe.com)

          Promotion:  ไม่พบการจัดโปรโมชั่นหรือสินค้าลดราคา          

ผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในตลาดเฉพาะกลุ่ม  โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวตะวันตก  ส่วนผู้บริโภคชาวอาหรับยังไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์  จากการสำรวจตลาดพบว่าไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าปลีกยุคใหม่ เริ่มมีการจัดชั้นอาหารอินทรีย์แยกโซน ซึ่งจะมีขนาดพื้นที่แตกต่างกันไป ระดับราคาก็ขึ้นกับตำแหน่งของร้านค้า แต่ส่วนใหญ่จะมีราคาสูงกว่าสินค้าทั่วไป อย่างน้อย 10อย่างไรก็ตาม สินค้าที่วางทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ตจะต้องมีตรารับรองอินทรีย์จากหน่วยงาน/ประเทศที่น่าเชื่อถือ  สำหรับสินค้าที่วางจำหน่ายในร้านอินทรีย์โดยเฉพาะหลายรายการแค่ใช้ตัวหนังสือระบุ ไม่มีโลโก้รับรองมาตรฐานอินทรีย์และราคาจำหน่ายในร้านค้าเฉพาะทางนี้ค่อนข้างสูง เนื่องจากลูกค้ามีกำลังซื้อสูง