Get Adobe Flash player

UAE ผลสำรวจพฤติกรรมการบริโภคทั่วไป

การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จัดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเครื่องมือที่นำมาใช้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งมีคำถามที่ครอบคลุมตัวแปรที่ต้องการศึกษา และเพื่อให้ตรงต่อวัตถุประสงค์ในการวิจัย          

        

vผู้บริโภคที่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ทีมวิจัยได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค UAE โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริโภคที่มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ใน UAE ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการบริโภคอาหารสำเร็จรูป การรับรู้เกี่ยวกับอาหารไทย พื้นที่เป้าหมายในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รัฐดูไบ และกรุงเทพมหานคร (ชาว UAE ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและรักษาพยาบาลในประเทศไทย) โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง 15 พฤษภาคม – 15 กรกฎาคม 2559 จากตัวอย่าง 546 คน ปรากฏผลการสำรวจข้อมูล สรุปลักษณะทางประชากรศาสตร์ ดังภาพที่ 4.7

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด อายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี  เป็นชาวอาหรับ/ชาวตะวันออกกลาง ร้อยละ 69.60 ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลาร้อยละ 33.70 รองลงมาคือเป็นข้าราชการ และเจ้าของธุรกิจตามลำดับ มีรายได้กระจายอยู่ในแต่ละช่วงใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ในด้านเชื้อชาตินั้นพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีสัดส่วนกระจายในแต่ละเชื้อชาติในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงกับลักษณะประชากรที่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และตะวันออกกลาง


 

*        พฤติกรรมการบริโภคทั่วไป

พบว่าผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 52.82  มีพฤติกรรมก่อนซื้ออาหาร จะอ่านฉลากอย่างละเอียดโดยให้ความสำคัฐในระดับมาก  และผู้บริโภคถึงร้อยละ 33.01 ให้ความสำคัญมากที่สุดในประเด็นที่ว่าอาหารแปรรูปต้องมีเครื่องหมายฮาลาลจึงจะซื้อและผู้บริโภคร้อยละ 16.12  ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ว่าถ้าฉลากอาหารไม่มีเครื่องหมายฮาลาล จะเลือกดูจากส่วนผสมที่ระบุในฉลาก แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากและเครื่องหมายฮาลาลอย่างมาก

ทั้งนี้ พฤติกรรมที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญมากเรียงไปหาน้อย ตามระดับค่าคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากผลการสำรวจสรุปดังนี้

1)    ในอาหารแปรรูปต้องมีเครื่องหมายฮาลาลจึงจะซื้อ (3.88)

2)    มีความใส่ใจดูแลสุขภาพ (3.84)

3)    หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีวัตถุเจือปนอาหาร  (3.81)

4)    ยินดีจ่ายเพื่อคุณภาพที่ดีกว่า (3.80)

5)    ก่อนซื้ออาหาร จะอ่านฉลากอย่างละเอียด (3.75)

6)    ชอบบริโภคอาหารแคลอรีต่ำ/ หวานน้อย/ไขมันต่ำ (3.70)

7)    ชอบที่จะทดลองอาหารต่างชาติ/อาหารแบบใหม่ๆ (3.60)

8)    เชื่อมั่นในตรารับรองฮาลาลไทย (3.56)

9)    ตัดสินใจซื้อสินค้าตามโฆษณาใน TV หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต หรือสื่ออื่นๆ (3.51)

10)    ถ้าฉลากอาหารไม่มีเครื่องหมายฮาลาล คุณจะเลือกดูจากส่วนผสมที่ระบุในฉลาก (3.48)

11)    มีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้า (3.40)

12)    ชอบสังสรรค์หลังเลิกงาน (3.22)

13)    มักจะมีความสุขกับการกินอาหารนอกบ้านบ่อยๆ (3.20)

 

จากผลการสำรวจพบว่า พฤติกรรมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ  การกินอาหารนอกบ้านบ่อยๆ (3.20)  รองลงมาคือ พฤติกรรมชอบสังสรรค์หลังเลิกงาน (3.22)  และการอ่อนไหวต่อราคาสินค้า (3.40)  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ชอบรับประทานอาหารที่บ้าน และไม่ได้อ่อนไหวต่อราคาสินค้า แต่ยินดีจ่ายเพื่อคุณภาพที่ดีกว่า และมีความสนใจใส่ใจดูแลสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีวัตถุเจือปนอาหาร และมีพฤติกรรมการอ่านฉลากอาหารอย่างละเอียด

*      

       

            

            ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างน้อยละ 51.12 เคยซื้อสินค้าอาหารของไทยจากซูเปอร์มาร์เก็ตสมัยใหม่ที่มีหลายสาขา และร้อยละ 23.88 ซื้อจากร้านค้าปลีกดั้งเดิม ส่วนอีกร้อยละ 13.76 ซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่มีสาขา  โดยมีผู้บริโภคร้อยละ 41.39 มีความเห็นว่าราคาของสินค้าอาหารไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าของประเทศอื่นที่เคยซื้อมีราคาใกล้เคียงกัน ส่วนอีกร้อยละ 35.53 เห็นว่าว่าราคาของไทยแพงกว่า และมีร้อยละ 21.61 เห้นว่าสินค้าอาหารของไทยมีราคาถูกกว่า

     

 

*     เหตุผลในการซื้อสินค้าอาหารของไทย

เหตุผลในการซื้อสินค้าอาหารของไทยนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 59.70 เห็นว่า คือ ลักษณะปรากฏของอาหาร  ส่วนประเด็นที่ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.16 ที่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้ความสำคัญมากที่สุด  ที่เป็นเหตุผลในการซื้อสินค้าอาหารของไทยคือ อาหารไทยดีต่อสุขภาพเท่ากับเรื่องคุณภาพของสินค้า  สำหรับระดับคะแนนเฉลี่ยเหตุผลที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างซื้อสินค้าอาหารของไทย  เรียงลำดับตามคะแนนจากมากไปหาน้อย ดังนี้

1)      ดีต่อสุขภาพ (4.13)

2)      คุณภาพสินค้า (4.12)

3)      กลิ่น (4.09)

4)      รสชาติ (4.07)

5)      บรรจุภัณฑ์  (4.04)

6)      ลักษณะปรากฏที่เห็น (3.98)

7)      ราคา (3.84)

8)      การทดลองบริโภคสินค้าใหม่ (3.70) 

*     การรับรู้เกี่ยวกับสินค้าอาหารของไทย

ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างรับรู้เกี่ยวกับสินค้าอาหารของไทยที่มีระดับคะแนนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้

1)      ความสดใหม่ของสินค้า / เชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า  (3.72)

2)      มีราคาเหมาะสมกับคุณภาพ  / เชื่อมั่นในตรารับรองฮาลาล  (3.68)

3)      ราคาถูกกว่าสินค้าของประเทศอื่น (3.59)

4)      ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต (3.57)

และพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 58.92  ให้ความสำคัญในระดับมากในประเด็นสินค้าต้องมีความสดใหม่

*          ปัจจัยที่จะทำให้ซื้อสินค้าอาหารของไทยมากขึ้น

ปัจจัยที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างซื้อสินค้าอาหารจากไทยมากขึ้น เรียงลำดับตามคะแนนค่าเฉลี่ยความสำคัญ ดังนี้

1)      ฉลากชัดเจน และรู้จักสินค้ามากขึ้น  (3.88)

2)      ราคาสินค้าถูกลง (3.84)

3)      สะดวกและใช้เวลาในการปรุงสั้นลง / มีจำหน่ายทั่วไปในตลาด (3.82)

4)      ลักษณะปรากฏและรสชาติที่ดีขึ้น (3.80)

5)       มีข้อมูลในการตัดสินใจจากสื่อต่างๆ มากขึ้น  (3.79)

6)      มีผลิตภัณฑ์มากขึ้นในร้านใกล้บ้าน (3.75)

7)      อายุผลิตภัณฑ์นานขึ้น (3.69)

และพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 55.25 ให้ความสำคัญระดับมาก หากมีสินค้าจำหน่ายทั่วไปในตลาด

*      เหตุผลที่ไม่ซื้อสินค้าอาหารของไทย

ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างไม่ซื้อสินค้าอาหารของไทย มาจาก

1)    ราคาสินค้า (4.03)

2)    คุณภาพสินค้า (4.02)

3)    ประเด็นเรื่องสุขภาพ  (4.01)

4)    เนื้อสัมผัสของอาหาร (3.93)

5)    กลิ่น (3.88)

6)    รสชาติ (3.86)

7)    ลักษณะปรากฏที่เห็น (3.79)

และพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 59.48 ให้ความสำคัญระดับมาก ในลักษณะปรากฏที่เห็นของสินค้าอาหารของไทย

 

          จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคที่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นส่วนใหญ่รู้จักและเคยซื้อสินค้าอาหารของไทย  โดยมีช่องทางการซื้อสินค้าอาหารของไทยจากซูเปอร์มาร์เก็ตสมัยใหม่ที่มีหลายสาขาเป็นหลัก และเห็นว่าอาหารไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสุขภาพและเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า และมีราคาใกล้เคียงกับสินค้าของประเทศอื่นๆ  โดยปัจจัยที่จะทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าของไทยมากขึ้น จำเป็นต้องจัดทำฉลากให้ชัดเจน และหากมีการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ มากขึ้นก็จะช่วยให้สินค้าเป็นที่รู้จักและตัดสินใจซื้อได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้กลุ่มตัวอย่างจะตอบว่าไม่อ่อนไหวต่อราคาสินค้าในพฤติกรรมทั่วไป  แต่เหตุผลที่ไม่ซื้อสินค้าอาหารของไทยประเด็นเรื่องราคาก็ยังมาเป็นอันดับ 1  ส่วนเรื่องเครื่องหมายรับรองฮาลาลนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคในประเทศนี้พิจารณาเมื่อเลือกซื้อสินค้าอาหาร และตรารับรองฮาลาลของไทยก็ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค

 

ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องปรุงรส

ทีมวิจัยได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค UAE โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริโภคที่มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ใน UAE ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการบริโภคอาหารสำเร็จรูป การรับรู้เกี่ยวกับอาหารไทย พื้นที่เป้าหมายในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รัฐดูไบ และกรุงเทพมหานคร (ชาว UAE ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและรักษาพยาบาลในประเทศไทย) โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง 15 พฤษภาคม – 15 กรกฎาคม 2559 จากตัวอย่าง 546 คน ปรากฏผลการสำรวจข้อมูล สรุปลักษณะทางประชากรศาสตร์ ดังภาพ ผลการสำรวจพฤติกรรมการซื้อเครื่องปรุงรส มีข้อสรุปดังนี้

   

 

2) พฤติกรรมการซื้อซอสแบบเอเชีย

§  ผู้บริโภค  47.89 %  เคยซื้อ   52.11 % ไม่เคยซื้อ  ไม่ระบุ 9.66 %

§  ประเภทซอสและเครื่องปรุงรสแบบเอเชียที่ซื้อบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ซอสถั่วเหลือง น้ำจิ้มซีฟูดส์ และซอสหอยนางรม

 

§  เหตุผลในการเลือกซื้อซอสและเครื่องปรุงรสที่นิยมซื้อบ่อย  พบว่ากลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 58.51 ให้ความสำคัญกับลักษณะปรากฏมาก ส่วนร้อยละ 39.64 ให้ความสำคัญกับคุณภาพในระดับมากที่สุด ส่วนเหตุผลในการเลือกซื้อตามระดับคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเรียงตามลำดับคะแนน ดังนี้

อันดับ 1 คุณภาพสินค้า  (4.18)

อันดับ 2 ดีต่อสุขภาพ (4.15)

อันดับ 3 กลิ่น (4.03)

อันดับ 4 รสชาติ (4.02)

อันดับ 5 ราคาสินค้า (4.01)

อันดับ 6 บรรจุภัณฑ์ (3.97)

อันดับ 7 ลักษณะโดยรวมที่ปรากฏ (รวมฉลาก) (3.85)

อันดับ 8 ทดลองสินค้าใหม่ (3.81)

 

 

 


 

 จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคประมาณครึ่งหนึ่งเคยบริโภคซอสและเครื่องปรุงรสไทย โดยรู้จักหลากหลายชนิด และให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า ดีต่อสุขภาพ กลิ่นและรสชาติ และราคาสินค้า เป็นลำดับต้นๆ  ผู้บริโภคชอบที่จะเห็นสินค้าที่บรรจุภายในเพราะชอบบรรจุภัณฑ์แบบใสในขวดแก้ว ขวดเพ็ต ขวดพลาสติก  โดยเฉพาะซอสและเครื่องปรุงบรรจุในขวดแก้วจะให้ภาพลักษณ์สินค้าที่พรีเมี่ยมกว่า ขนาดบรรจุต้องไม่ใหญ่เกินไป ประมาณ 200-500 มิลลิลิตร เป็นขนาดที่เหมาะสำหรับการปรุงอาหารสำหรับครอบครัวขาดใหญ่ที่ใช้ประมาณ 1-3 ครั้ง เพื่อให้มีความสดใหม่และไม่เหลือทิ้งนานเกินไป 

 

 

ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคน้ำผลไม้

ทีมวิจัยได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค UAE โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริโภคที่มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ใน UAE ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการบริโภคอาหารสำเร็จรูป การรับรู้เกี่ยวกับอาหารไทย พื้นที่เป้าหมายในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รัฐดูไบ และกรุงเทพมหานคร (ชาว UAE ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและรักษาพยาบาลในประเทศไทย) โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง 15 พฤษภาคม – 15 กรกฎาคม 2559 จากตัวอย่าง 546 คน ปรากฏผลการสำรวจข้อมูล พฤติกรรมการซื้อน้ำผลไม้จากธรรมชาติ มีข้อสรุปดังนี้

1) ประเภทน้ำผลไม้ที่กลุ่มตัวอย่างดื่มบ่อยในรอบ 1 เดือน  10 อันดับแรก มีดังนี้

1. น้ำส้ม

2. น้ำมะม่วง

3. น้ำแอ้ปเปิ้ล

4. น้ำสับปะรด

5. น้ำผลไม้รวม

6. น้ำกล้วย

7. น้ำมะพร้าว

8. น้ำฝรั่ง

9.น้ำแตงโม

10. น้ำองุ่น

 

 

§  เหตุผลในการเลือกซื้อน้ำผลไม้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 36.80 ให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพในระดับมากที่สุด  ขณะที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 56.52 ให้ความสำคัญในระดับมากกับลักษณะปรากฏที่เห็น(รวมฉลาก)  ส่วนเหตุผลในการเลือกซื้อเรียงลำดับตามคะแนนระดับความสำคัญเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้

อันดับ 1 ดีต่อสุขภาพ  / คุณภาพสินค้า   (4.18)

อันดับ 2 รสชาติ  (4.08)

อันดับ 3 กลิ่น  (4.07)

อันดับ 4  บรรจุภัณฑ์  (4.06)

อันดับ 5 ทดลองสินค้าใหม่  / ลักษณะโดยรวมที่ปรากฏ (รวมฉลาก)  (3.93)

อันดับ 6 ราคา (3.73)

 จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ดื่มผลไม้เป็นประจำ  โดยผลไม้ที่นิยมที่สุดคือน้ำส้ม รองลงมาคือน้ำมะม่วง และแอ้ปเปิ้ล ตามลำดับ ขณะที่น้ำผลไม้แบบเอเชียที่นิยมคือน้ำมะม่วง น้ำผลไม้ผสม น้ำสับปะรด ตามลำดับ โดยนิยมดื่มแบบแช่เย็น ซื้อครั้งละ 6 กล่อง ความถี่ในการซื้อ 1 ครั้งต่อสัปดาห์  บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่ชื่นชอบคือบรรจุในขวดแก้ว เพราะจะทำให้เห็นสีและลักษณะของน้ำผลไม้ชัดเจน  เหตุผลอันดับ 1 ที่ซื้อน้ำผลไม้คือ ดีต่อสุขภาพ และคุณภาพของสินค้า

 



[1] ทำมาจากมะเขือเทศสับละเอียด นำไปผัดกับน้ำมันมะกอก กระเทียม หัวหอมใหญ่ ปรุงรสเล็กน้อยด้วยเกลือ อาจใส่น้ำตาลเพิ่มและสมุนไพรพวก basil พริกไทย เป็นซอสที่ไว้ทาหน้าพิซซ่าหรือใส่ในพาสต้า เนื้อจะไม่ขันมาก และยังคงมีความสดหลงเหลืออยู่บ้าง (cooking sauce)

              

[2] ทำมาจากมะเขือเทศบดที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เข้มข้นผสมด้วย น้ำส้มสายชู น้ำเชื่อมข้าวโพดเป็นต้น ทำให้ได้รสชาติที่ตัดจ้านกว่า บรรจุซองหรือขวด ใช้เป็นซอสจิ้ม(Table sauce)

[3]ซอสสีน้ำตาลมีส่วนผสมจากน้ำส้มสายชู  มะเขือเทศ อินผลัม และน้ำมะขาม มีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ มีรสเครื่องเทศนิดๆ ใช้ปรุงรสอาหารแทบทุกชนิด

[4] ผักหรือผลไม้ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆเอามาหมักดอง มีรสชาติเปรี้ยวๆหวานๆ แก้เลี่ยน