Get Adobe Flash player

         1)      ศึกษา และทบทวนงานวิจัย เอกสารวิชาการ ฐานข้อมูล รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น

1.1)   สภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โอกาส อุปสรรค ศักยภาพทางการแข่งขัน ฯลฯ ในระดับภาพรวมของภูมิภาคและประเทศเป้าหมาย

1.2)   สถิติการค้าอาหาร มูลค่าตลาด ขนาดตลาด แนวโน้มการบริโภค คู่แข่งขัน

1.3)   ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค โลจิสติกส์ ช่องทางกระจายสินค้า โครงสร้างราคา ของประเทศเป้าหมาย

1.4)   นโยบายส่งเสริมการลงทุน ภาษี ตลอดจนกฎระเบียบ และมาตรการนำเข้าอาหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของประเทศเป้าหมาย

 

2)       สำรวจและรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากผู้ประกอบการไทย และหน่วยงานในประเทศเป้าหมาย

2.1)      สำรวจความต้องการของผู้ประกอบการไทยที่มีการค้าในภูมิภาค MENA และผู้ที่ยังไม่มีการค้าแต่มีความสนใจ

2.2)      สัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีประสบการณ์ตรงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในไทยเพื่อค้นหาความต้องการ โอกาส ปัญหา และอุปสรรค

2.3)      สำรวจข้อมูลปฐมภูมิในพื้นที่ประเทศเป้าหมายเพื่อค้นหาช่องว่างและโอกาสทางการค้าและการสร้างเครือข่ายการผลิต อย่างน้อย 2 ประเทศ

2.4)      สำรวจข้อมูลปฐมภูมิในพื้นที่ประเทศเป้าหมายด้วยแบบสอบถาม

2.5)      จัดประชุมกลุ่มย่อยระดมสมองและรับฟังข้อเสนอแนะ 3 ครั้ง

 

3)       สังเคราะห์/ประมวลผล / วิเคราะห์ข้อมูล

              

3.1) วิเคราะห์และคัดเลือกสินค้าหรือสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายการผลิต

3.2) วิเคราะห์และคัดเลือกประเทศที่มีศักยภาพจากปัจจัยพื้นฐาน ทรัพยากร กำลังซื้อ และความต้องการของตลาด และปัจจัยที่สะท้อนความสามารถในการแข่งขันด้านต่างๆ

     3.3)วิเคราะห์โอกาส ความเป็นไปได้ และรูปแบบในการสร้างเครือข่ายการผลิตอาหารแปรรูปของไทยไปยังตลาดเป้าหมาย

     3.4)จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการสร้างเครือข่ายการผลิตเพื่อรองรับการขยายตัวในตลาด MENA

 

     4)     เผยแพร่ผลการศึกษา

     4.1) จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ความรู้จำนวน 300 เล่ม

     4.2) จัดทำเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Smartphone ระบบต่างๆ

     4.3) จัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ 1 ครั้ง ผู้เข้าร่วมอย่างน้อย 200 คน 

   4.4) จัดส่งรายงานการศึกษาตามงวดงาน  จำนวน 4 ครั้ง