Get Adobe Flash player

1.      รูปแบบธุรกิจ

นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจในโมร็อกโกสามารถเลือกรูปแบบของการดำเนินธุรกิจได้หลากหลายรูปแบบทั้งบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของคนเดียว หรือบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกัน หรือเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบการและองค์ประกอบที่สำคัญของธุรกิจ เช่น ลักษณะของกิจการ เงินลงทุน และความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

                  •   บุคคลธรรมดา

ลักษณะของบุคคลธรรมดาที่จะเข้าไปทำธุรกิจในโมร็อกโกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เป็นเจ้าของกิจการ แต่เพียงผู้เดียว (Enterprise personality)

2. เป็นพันธมิตรแต่เพียงผู้เดียวของผู้ถือหุ้นรายเดียว มีความรับผิดชอบจำกัดในหนี้สินของบริษัทตามที่ระบุไว้ (Sociate Responsibility Limited Associate) ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัดในประเทศไทย

                 ตัวอย่างเช่น Sole Trader และ Sole-Partner Private Limited Company

                    •    นิติบุคคล

ลักษณะของนิติบุคคลที่จะเข้าไปทำธุรกิจในโมร็อกโกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. บริษัทจำกัด (Limited Company)

2. บริษัทจำกัดมหาชน (Public Limited Company)

โดยบริษัทจำกัดจะต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 5 คนและมีเงินทุนขั้นต่ำ 300,000 MAD (ประมาณ 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือ 3,000,000 MAD (ประมาณ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ) กรณีมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัดมหาชนแล้ว     ผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องชำระค่าหุ้นครั้งแรก 25% ของเงินทุน ส่วนที่เหลืออีก 75% จะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี สำหรับความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะถูกจำกัดตามปริมาณของการลงทุน โดยผู้ถือหุ้นใหญ่มีหน้าที่อนุมัติงบการเงินที่จะตัดสินใจว่าหากบริษัทมีกำไรจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นหรือเก็บไว้เพื่อขยายธุรกิจ รวมถึงการแต่งตั้ง/ถอดถอนกรรมการหรือสมาชิกที่กำกับดูแลกิจการ ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบบัญชีโดย       ผู้ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายและส่งรายงานให้กับสรรพากรอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่วนกฎระเบียบและการบริหารงานโดยทั่วไปจะถูกพิจารณาในการประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้น แต่หากเป็นการพิจารณาและตัดสินใจในสิ่งที่สำคัญเช่น การควบรวมกิจการหรือการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับสำคัญ จะต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นกรณีพิเศษ โดยการตัดสินใจใดๆ จะต้องเป็นมติของที่ประชุมและยึดหลักเสียงข้างมากที่ 2 ใน 3 ของ      ผู้ถือหุ้นทั้งหมด

                  •    รูปแบบอื่น

ลักษณะของการดำเนินธุรกิจรูปแบบอื่นที่สามารถเข้าไปทำธุรกิจในโมร็อกโกได้ที่สำคัญประกอบด้วย

1.    องค์กรธุรกิจ (GROUPEMENT D'intérêt Economique: GIE) ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลเพื่อดำเนินธุรกิจบางอย่าง เช่น การวิจัย, การตลาด, การขายร่วมกันและการส่งออก เป็นต้น โดยลักษณะของธุรกิจจะมีหรือไม่มีเงินทุนก็ได้ วัตถุประสงค์ของธุรกิจอาจจะทำเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสมาชิกหรือเพื่อเชิงพาณิชย์ก็ได้ และสมาชิกมีอิสระในการกำหนดกฎระเบียบภายในของตน ทั้งนี้ GIE จะต้องขึ้นทะเบียนเพื่อให้ได้รับการรับรองตามกฎหมาย มีความโปร่งใสในการคำนวณภาษีเงินได้ และสมาชิกจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ

2.    กิจการร่วมค้า (EN SOCIETE) หรือ Joint Venture เป็นการร่วมธุรกิจของธุรกิจหรือบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำสัญญาที่จะร่วมทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการร่วมกัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น สิทธิความเป็นเจ้าของ หน้าที่ความรับผิดชอบ การรับผิดชอบต่อความเสียหายและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการดำเนินงานร่วมกัน

3.    สาขาขององค์กรต่างประเทศ (Succursale) เป็นรูปแบบของธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของ นักลงทุนต่างชาติที่เริ่มเข้าไปดำเนินธุรกิจในช่วงแรก เนื่องจากมีข้อกำหนดทางกฎหมายน้อยกว่า อาจมีเพียงผู้จัดการ 1 คน และไม่มีเงินทุนขั้นต่ำ โดยนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่รู้สึกว่าวิธีการตั้งสาขาในโมร็อกโกน่าจะง่ายเหมือนกับการตั้งสาขาในต่างประเทศโดยทั่วไป แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ง่ายหรือรวดเร็วกว่าการจัดตั้งบริษัทจำกัดเท่าใดนัก เนื่องจากในโมร็อกโก บริษัทย่อย (filiale) ของบริษัทต่างประเทศ ถือว่าเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากภายใต้กฎหมายขององค์กรของโมร็อกโก แต่สาขาของบริษัทต่างประเทศ (Succursale) จะไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนิติบุคคล อำนาจของตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งถูกต้องตามกฎหมายในโมร็อกโกจะต้องมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับการรับรองจากทนายความสาธารณะหรือสถานทูต/สถานกงสุลของประเทศต้นกำเนิดในโมร็อกโก โดยต้องตรวจสอบลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานใหญ่ที่จะมอบหมายอำนาจดังกล่าวให้กับตัวแทนในโมร็อกโก เมื่อสาขาขึ้นทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจแล้วจะต้องเขียนบทความอธิบายลักษณะของธุรกิจของบริษัทและสาขา โดยแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและเก็บไฟล์ไว้ เพื่อยื่นต่อศาลพาณิชย์จำนวน 2 ฉบับเพื่อขอการรับการรับรอง มีการเผยแพร่บัญชีของบริษัทเป็นภาษาฝรั่งเศสและได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องโดยตัวแทนที่ศาลพาณิชย์ทุกปี ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในโมร็อกโก จึงไม่แนะนำให้เลือกรูปปแบบการดำเนินธุรกิจแบบสาขา แต่ให้จัดตั้งเป็นบริษัทที่แยกขาดจากบริษัทแม่ เพื่อทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่ของสาขาโมร็อกโก ส่วนการจัดตั้งสาขาของบริษัทต่างประเทศในโมร็อกโกให้เลือกใช้กับการดำเนินธุรกิจดังต่อไปนี้

    (1) กรณีที่เป็นโครงการสัญญาเฉพาะคือ มีส่วนร่วมในการผลิตหรือบริการ และไม่มีกิจกรรมเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรมในอนาคตตามแผนการพัฒนาของโมร็อกโก

    (2) กรณีที่ระยะเวลาของสัญญาหรือโครงการมีจำกัด เช่น 1-2 ปี หรือ 3 ปี (ไม่สามารถใช้ได้กับบริการการกำจัดเสียน้ำ)

4.       สำนักงานประสานงาน (Bureau De Coordinator) เป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตลาด เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจของบริษัท ไม่ได้รับอนุญาตในการประกอบกิจกรรมในเชิงพาณิชย์ โดยสำนักงานประสานงานจะต้องขึ้นทะเบียนกับกรมทะเบียนการค้า และกรรมการผู้จัดการของบริษัทจะต้องมีใบอนุญาตในการดำเนินธุรกิจ

5.       บริษัทก่อสร้าง (Societe Civile) เป็นบริษัทที่มีอำนาจในการดำเนินกิจกรรมทางแพ่งไม่ใช่เชิงพาณิชย์ สมาชิกที่มีความรับผิดชอบต่อสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัท

 

2.  นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

รัฐบาลโมร็อกโกมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ ด้วยการออกมาตรการสำคัญหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน อาทิ อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ 100% ไม่จำเป็นต้องมี       ผู้ร่วมทุนท้องถิ่น และสามารถลงทุนได้เกือบทุกสาขา ยกเว้นการซื้อที่ดินการเกษตร โดยสามารถว่าจ้างชาวต่างชาติได้ในกรณีที่เป็นงานซึ่งต้องใช้ฝีมือ หรือความสามารถเฉพาะทาง รวมทั้งอนุญาตให้ชาวต่างชาติมีสิทธิในการซื้อที่ดิน (ยกเว้นเพื่อการเกษตร) ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติยังจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีอีกหลายประการ หากเข้าไปลงทุนในโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนเป็นพิเศษ หรือเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น

·       เขตอุตสาหกรรมปลอดภาษี (Free Zones) ก่อตั้งขึ้นภายใต้ Law 19-94 (Dahir No. 1-95-1) เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2538 เพื่อยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรสำหรับกิจกรรมการส่งออกเชิงพาณิชย์และเชิงอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น Tangier Free Zone ในเมือง Tangiers จะได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากร รวมทั้งค่าธรรมเนียมสำหรับสินค้านำเข้า และ/หรือ สินค้าส่งออก นอกจากนี้ ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินกิจการ หลังจากนั้นจะได้รับการลดอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 17.5 และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตราปกติที่ระดับ 35% เหลือ 8.75% ในอีก 10 ปีถัดไปด้วย ปัจจุบันมี Free Zones ในโมร็อกโก ได้แก่ Export Processing Zone of Tangier, Free Zones at Tanger Med Ksar el Majaz Mellousa 1 and 2, Free Zone in Dakhla and Laayoune, Free Storage Zone of hydrocarbons: Kebdana and Nador, Export Processing Zone in Kenitra

·       เอกชนที่เข้าไปลงทุนในโมร็อกโกด้วยเงินลงทุนมากกว่า 200 ล้านดีร์แฮม จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ในช่วงการก่อตั้งโรงงานหรือสถานที่ และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 36 เดือนแรก สำหรับวัตถุดิบและเครื่องมือต่างๆ

·       โครงการที่ผ่านเงื่อนไขที่กำหนดของกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมและการลงทุน The Investment and Industrial Development Fund (IIDF) เช่น ต้องก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างถาวรตั้งแต่ 250 คนขึ้นไป มูลค่าการลงทุนมากกว่า 100 ล้านดีร์แฮม รับประกันการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น โดยกองทุนนี้จะสนับสนุนด้านค่าใช้จ่ายบางส่วนเกี่ยวกับค่าที่ดิน ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภายนอก และค่าฝึกอบรมพนักงาน

ทั้งนี้ เมื่อปี 2542 รัฐบาลโมร็อกโกได้จัดตั้ง The Moroccan Investment Development Agency –ADMI ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างชาติ โดยให้บริการในการให้คำแนะนำ และประสานงานเบื้องต้นเกี่ยวกับการก่อตั้งธุรกิจในโมร็อกโก สามารถดูรายละเอียดและเงื่อนไขการลงทุนจากต่างชาติได้ที่ http://www.invest.gov.ma

                    •    เขตการลงทุน (Investment Zone)

เขตการลงทุนในโมร็อกโกสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

1.       เขตอุตสาหกรรมบูรณาการ

2.       เขตอุตสาหกรรม

3.       เขตปลอดอากร

 



                      •    การคุ้มครองนักลงทุน

          การลงทุนในโมร็อกโกจะได้รับการรับประกันและการปกป้องจากอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันและการคุ้มครองการลงทุน ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลโมร็อกโกจึงได้ให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันและการคุ้มครองการลงทุนเหล่านี้รวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้ง:

o   ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการตั้งถิ่นฐานของข้อพิพาทการลงทุน "ICSID"

o   พหุภาคีประกันการลงทุนหน่วยงาน "MIGA"

o   องค์การระหว่างอาหรับเพื่อการลงทุนบรรษัทประกัน

นอกจากนี้ ในส่วนของข้อตกลงทิวภาคีและพหุภาคีของโมร็อกโกกับต่างประเทศ ยังมีข้อตกลงเรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนดังนี้คือ

o   การคุ้มครองและปกป้องการลงทุนที่ได้รับอนุญาต

o   การบริการรับส่งฟรีของเงินลงทุนและรายได้

o   การไม่ยกเลิกการลงทุน ยกเว้น การลงทุนที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคและการลงทุนอื่นๆ ที่ศาลตัดสินให้ยกเลิก

o   ข้อพิพาทกับการขอรับความช่วยเหลือต่างๆ ที่เกิดจากการลงทุนให้ผ่านการพิจารณาโดยศาลในประเทศหรืออนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับความต้องการของนักลงทุน

 



3. อัตราภาษี

รัฐบาลกลางโมร็อกโกมีการกำหนดภาษีในระดับชาติและระดับท้องถิ่นดังนี้

ภาษีระดับชาติ

ภาษีระดับชาติหลักประกอบด้วย ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Impot sur les Sociétés) ภาษีรายได้ส่วนบุคคล (Impot sur le revenu) จำนวนหัก ณ ที่จ่าย ภาษีพิเศษของรายได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Taxe sur lavaleur ajoutée) เป็นต้น ภาษีระดับชาติอื่น ๆ ได้แก่ ภาษีมรดกและของขวัญ, การลงทะเบียนและการถ่ายโอนภาษีอากร รวมถึง ค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น

ภาษีระดับท้องถิ่น

ภาษีระดับท้องถิ่นหลัก ประกอบด้วย ภาษีที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (Taxe Professionnelle) และภาษีบริการมีอำนาจในท้องถิ่น (Service Taxe communaux)

กฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีของโมร็อกโกตราขึ้นโดยรัฐสภา และรวมเป็นรหัสภาษีทั่วไป (Code General des Impots-CGI) กับภาคผนวกเพื่อ CGI ได้แก่ พระราชกฤษฎีกาและกฎระเบียบที่มีผลบังคับใช้ของกฎหมาย หมายเหตุ คำแนะนำ และหนังสือเวียนการตีความกฎหมายภาษีที่มีการเผยแพร่แก่ประชาชนโดยหน่วยงานด้านภาษี ทั้งนี้ การบริหารภาษีระดับชาติจะถูกควบคุมโดยคณะกรรมการระดับชาติของภาษี (DGI) โดยมีกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังทำหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บภาษี นอกจากนี้ ยังตรวจสอบข้อร้องเรียนและข้อพิพาทจากผู้เสียภาษี ส่วนภาษีท้องถิ่นถูกควบคุมโดยคณะกรรมการระดับภูมิภาคของภาษี (DRI) ในแต่ละภูมิภาคที่สำคัญทางเศรษฐกิจโมร็อกโก

 

 

4.   ขั้นตอนขออนุญาตต่างๆ  พิธีการศุลกากร

                                          • การขอวีซ่าเข้าประเทศ

การขอวีซ่าเพื่อเข้าประเทศโมร็อกโก ผู้ประกอบการสามารถไปติดต่อได้ที่ สถานเอกอัครราชทูตโมร็อกโกประจำประเทศไทย (Embassy of the Kingdom of Morocco) ตั้งอยู่ที่อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้นที่ 12, เลขที่ 175 ถนนสาทรใต้ สาทร กรุงเทพ 10120 เบอร์ติดต่อ โทร: 0-2679-5604-6, แฟกซ์:         0-2679-5603

โดยมีเอกสารที่ใช้ประกอบในการทำวีซ่า ประกอบด้วย

1.         ใบสมัคร 1 ชุด (สามารถ download ได้จาก

http://www.moroccoembassybangkok.org/visa.html.pdf)

2.         หนังสือเดินทาง หรือ Passport และสำเนา 1 ฉบับ (อายุการใช้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และมีหน้าว่างสำหรับประทับตราวีซ่าและตราเข้า-ออก อย่างน้อย 2 หน้า)

3.         สำเนาบัตรประชาชน พร้อม ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ

4.         รูปถ่ายปัจจุบัน (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน) ขนาดมาตรฐานของ Passport (พื้นหลังสีขาว ขนาด 2X2 นิ้ว)จำนวน 2 ใบ

5.         เอกสารรับรองจากธนาคาร ฉบับภาษาอังกฤษ

6.         จดหมายรับรองจากบริษัท กรณีเป็นเจ้าของกิจการ ต้องแสดงสำเนาใบทะเบียนการค้า และหนังสือรับรองการจดทะเบียนของเจ้าของกิจการ เป็นกรรรมการ หรือ หุ้นส่วน โดยจะต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาและประทับตราบริษัทเป็นสำคัญ กรณีเป็นพนักงานต้องมีหนังสือรับรองการทำงานจากทางบริษัท มีข้อความระบุตำแหน่ง เงินเดือน รายได้ วันที่เริ่มทำงานและช่วงเวลาที่ได้รับอนุมัติให้เดินทาง และประทับตราบริษัทเช่นกัน (เอกสารทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ)

7.         หลักฐานการเงิน ใบรับรองสถานะทางการเงินในชื่อของผู้เดินทางจากธนาคารเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมประทับตราจากทางธนาคาร

8.         สำเนาตั๋วเครื่องบิน หรือสำเนาแสดงรายละเอียดการบิน

9.         เอกสารแสดงการจองโรงแรม หรือจดหมายเชิญ

                                          • พิธีการศุลกากร

วิธีการนำเข้า

          ผู้นำเข้าจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าสินค้า (ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตกับศุลกากรตามระบบ EDI ก่อน) โดยกรอกเอกสารการนำเข้าสินค้าและแนบสำเนาใบกำกับสินค้าอย่างละ 5 ชุดที่ระบุ

1.       ราคาต่อหน่วยที่แสดงมูลค่าของสินค้า (FOB, FAS)

2.       ปริมาณหน่วยของสินค้าตามมาตรฐานสากล

3.       รายละเอียดของสินค้า

ผู้นำเข้าจะต้องแสดงเอกสาร (domiciliation) ที่ได้รับการอนุมัติจากธนาคาร (ศุลกากรโมร็อกโกใช้ระบบการชำระภาษีศุลกากรผ่านทางระบบบัญชีธนาคารแบบออนไลน์ (BMCE)) จำนวน 2 ชุดใส่ซองส่งไปที่สำนักงานศุลกากร และดำเนินการนำเข้าสินค้าให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ส่งเอกสารที่ได้รับอนุมัติจากธนาคาร

การนำเข้าสินค้าที่ได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีศุลกากรภายใต้ข้อตกลงทางการและสนธิสัญญาระหว่างโมร็อกโกกับบางประเทศ ผู้นำเข้าจะต้องแสดงหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศต้นทางจำนวน 4 ชุดและใบกำกับสินค้าจำนวน 3 ชุดระบุ

1.       ราคาต่อหน่วยที่แสดงมูลค่าของสินค้า (FOB, FAS)

2.       ปริมาณหน่วยของสินค้าตามมาตรฐานสากล

3.       รายละเอียดของสินค้า

ทั้งนี้ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าของประเทศต้นทาง เพื่อขอรับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีศุลกากร จะต้องได้รับการประทับตราจากกระทรวงการค้าต่างประเทศของประเทศต้นทาง และสามารถใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือนนับแต่ว้นที่ประทับตรา โดยผู้นำเข้าจะต้องส่งเอกสารใบแจ้งหนี้ ชื่อสินค้านำเข้าและเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นซึ่งระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ให้แก่สำนักงานศุลกากรภายใน 60 วันนับจากวันที่ขออนุญาตนำเข้าในกรณีที่สินค้าอยู่ในบัญชีที่ต้องแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม

วิธีการนำเข้าเฉพาะ

          สำหรับสินค้าที่มีความเสี่ยงซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อการผลิตของชนพื้นเมืองในโมร็อกโก โดยเฉพาะสินค้าที่ได้รับการสนับสนุนเพื่อการส่งออกของประเทศต้นทางหรือสินค้าที่มีราคาถูกมากจนอาจเกิดข้อสงสัยว่าจะนำเข้ามาเพื่อทุ่มตลาด ผู้นำเข้าจะต้องส่งสำเนาเอกสารการนำเข้า จำนวน 6 ชุดให้กับกรมการค้าระหว่างประเทศของโมร็อกโก เพื่อทำการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติการนำเข้า โดยกรมจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 10 วันทำการหลังจากได้รับเอกสาร ซึ่งหากผลการพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าได้ ผู้นำเข้าจะต้องนำเข้าสินค้าในครั้งเดียวให้เสร็จสิ้นภายใน 9 เดือนนับจากวันที่ได้รับอนุญาต

การนำเข้าตัวอย่าง

          ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าตัวอย่างของสินค้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร แต่ต้องขออนุญาตนำเข้าสินค้าเพื่อมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น โดยจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 12 เดือนนับจากวันขออนุญาต

ภาษีศุลกากรและภาษีในการนำเข้า

          อัตราภาษีศุลกากรและภาษีในการนำเข้าของโมร็อกโกยึดหลักเกณฑ์ตาม WTO โดยมีอัตราภาษีการนำเข้าสินค้าทั่วไปขั้นต่ำอยู่ที่ 23% และ 42% สำหรับการผลิตเกษตร ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 9.3% และอัตราภาษีการนำเข้าสินค้าขั้นสูงอยู่ 50% - 300% นอกจากนี้ ยังมีอัตราภาษีพิเศษภายใต้กรอบข้อตกลง    ทวิภาคีหรือพหุภาคีกับ UMA, EFTA และประเทศรัฐอิสลาม อยู่ที่ 0%, 2% 5% และ 10% ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าภายใต้ระบบ Harmonize Code ซึ่งภายใต้ข้อตกลง EFTA ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2000 ได้ส่งผลให้ภาษีศุลกากรถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของโมร็อกโกที่ 17.87% (1 มีนาคม ค.ศ. 2004) สามารถลดลงได้ถึง 0.05% ภายในปี 2012

วิธีการคำนวณภาษีศุลกากรและภาษีในการนำเข้าของโมร็อกโกจะคิดจากมูลค่าของสินค้าตามราคา CIF ไม่รวมภาษีการบริโภคภายในประเทศ (TIC) โดยผู้นำเข้ามีหน้าที่ชำระภาษีศุลกากรผ่านทางระบบบัญชีธนาคาร (ผู้นำเข้าต้องมีบัญชีธนาคาร) แบบออนไลน์ (BMCE) ซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาตกับศุลกากรตามระบบ EDI ก่อน

 

5. ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทในโมร็อกโก

ขั้นตอนที่ 1 การจองชื่อบริษัท

          ทุกบริษัทจะต้องจองชื่อบริษัทกับสำนักงานการลงทุนของโมร็อกโก The Regional Investment Center (CRI, Centre Regional d’Investissement)โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัคร แนบสำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้ลงทุน และสำเนาประจำตัวประชาชนหรือหนังเดินทางของตัวแทน พร้อมใบมอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม 50 MAD สำหรับการค้นหา และ100 MAD การออกใบรับรองว่าชื่อสามารถใช้ได้

ขั้นตอนที่ 2 การขอหนังสือรับรองบริษัท

          ทุกบริษัทจะต้องขอหนังสือรับรองบริษัทจากหน่วยงานตามกฎหมายของโมร็อกโก โดยเสียค่าธรรมเนียมสำหรับหนังสือรับรองบริษัท 1.5% ของเงินลงทุนขั้นต่ำ และค่าธรรมเนียมของอากรแสตมป์ 20 MAD ต่อหนังสือรับรอง 1 แผ่น

ขั้นตอนที่ 3 การเปิดบัญชีเงินฝาก

          ทุกบริษัทจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารในโมร็อกโก เพื่อดำเนินธุรกรรมทางการเงิน

ขั้นตอนที่ 4 การขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษี

          ทุกบริษัทจะต้องขึ้นทะเบียนผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มกับสำนักผู้อำนวยการด้านภาษีของ CRI

ขั้นตอนที่ 5 การขึ้นทะเบียนการค้า

          บริษัททั้งหมด ยกเว้น กิจการร่วมค้า ยื่นเอกสารการขึ้นทะเบียนการค้ากับศาลพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวแทนของ CRI โดยเสียค่าธรรมเนียมสำหรับการขึ้นทะเบียน 350 MAD

ขั้นตอนที่ 6 การประกันสังคม

          ทุกบริษัทจะต้องส่งเอกสารการหักเงินประกันสังคมของพนักงานให้กับสำนักงานประกันสังคมของโมร็อกโก (Caisse National de Securite Sociale (CNSS)) ภายใน 8 วันนับจากได้รับใบเสร็จการรับเงิน

ขั้นตอนที่ 7 การแสดงใบทะเบียนการค้าในหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์โฆษณาอย่างเป็นทางการ

          เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนการค้าแล้ว ทุกบริษัทจะต้องแสดงใบทะเบียนการค้าในหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์โฆษณาที่บริษัทใช้เพื่อการโฆษณาอย่างเป็นทางการ เพื่อให้ลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้

 

6.      แรงงานและอัตราค่าจ้าง

แรงงานประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโมร็อกโกเป็นลูกจ้างในภาคการเกษตร ส่วนที่เหลืออีก 2 ใน 3 เป็นลูกจ้างในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โรงงานผลิต และการก่อสร้าง รวมไปถึงการค้า การเงินและภาคบริการ ไม่นับรวมแรงงานนอกระบบเศรษฐกิจที่มีอีกเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นคนงานทั่วไปและบุคคลที่ไม่ได้ทำงานแบบเต็มเวลา การว่างงานจัดเป็นปัญหาสำคัญของโมร็อกโก โดยตัวเลขอย่างเป็นทางการประมาณการว่าการว่างงานในโมร็อกโกมีมากถึง 1 ใน 10 ของจำนวนแรงงานที่มีงานทำ แต่ในทางปฏิบัติอาจจะสูงกว่านี้ โดยเฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่ช่างเทคนิค ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (MENA)

สัญญาการทำงานจะต้องเป็นข้อสรุประหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยมีทั้งที่จำกัดและไม่จำกัดระยะเวลาของสัญญา สามารถยกเลิกได้ตามข้อตกลงในสัญญา ยกเว้นกิจกรรมดังนี้

o   ค่าจ้างขั้นต่ำของวิชาชีพ จะต้องรับประกันค่าจ้างขั้นต่ำของวิชาชีพ (SMIG) 12.85 MAD ต่อชั่วโมงหรือ 2,454 MAD ต่อเดือน (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2014) และเพิ่มขึ้นเป็น 13.46 MAD ต่อชั่วโมงหรือ 2,571 MAD ต่อเดือนตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป

o   ค่าจ้างขั้นต่ำของเกษตรกร จำต้องรับประกันค่าจ้างขั้นต่ำของเกษตรกร (SMAG) 66.56 MAD ต่อวัน (เริ่มต้นจาก 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ) และเพิ่มขึ้นเป็น 69.73 MAD ต่อวัน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 เป็นต้นไป

โดยคนงานทุกคนมีสิทธิในการได้รับเงินสมทบจากการจ้างงานของนายจ้างดังนี้

o   5% ของเงินเดือนหลังจาก 2 ปีของการบริการ (ต่อเนื่องหรือไม่) ภายในสถาบันเดียวกันหรือกับนายจ้างคนเดียวกัน

o   10% หลังจาก 5 ปีของการบริการ

o   15 % หลังจาก 12 ปีของการบริการ

o   20% หลังจาก 20 ปีของการบริการ

 

 

ข้อกำหนดอื่นๆ มีดังนี้

o   ชั่วโมงการทำงานสำหรับคนงานและพนักงานทุกคนในสถาบันการศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจทั่วไป จะต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือ 44 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยค่าล่วงเวลาให้คิดเพิ่มเติมจากชั่วโมงการทำงานและเงินเดือนดังนี้ ช่วงเวลา 05:00-10:00 น. คิดเพิ่ม 25 % ของชั่วโมงการทำงานและเงินเดือน และ ช่วงเวลา 22:00-05:00 น. คิดเพิ่ม 50% ของชั่วโมงการทำงานและเงินเดือน สำหรับค่าล่วงเวลาในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดประจำชาติให้คิดเพิ่มถึง 50% ของชั่วโมงการทำงานและเงินเดือน และ 100% ของชั่วโมงการทำงานและเงินเดือนตามลำดับ

o   วันหยุด

·       คนงานและพนักงานทุกคนมีสิทธิที่ลาหยุดได้ หลังจากทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพแล้ว 6 วันทำงาน

·       สิทธิในวันหยุดจะถูกคำนวณจากวันทำงานของพนักงานรายวัน และครึ่งหนึ่งจากเดือนของพนักงานรายเดือน

·       สถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการที่มีนายจ้างคนเดียวกัน พนักงานจะได้รับสิทธิวันหยุดเพิ่มเติมอีก 2 วันของวันหยุดปกติ สำหรับการทำงานมาเป็นระยะเวลา 5 ปี

·       พนักงานทุกคนจะได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยว่า 24 ชั่วโมงติดต่อกัน

 

 

o   การประกันสังคม นายจ้างจะต้องลงทะเบียนกับกองทุนแห่งชาติเพื่อความมั่นคงทางสังคม (Caisse Nationale de Sécurité Sociale- CNSS) ให้กับลูกจ้าง โดยนายจ้างมีความรับผิดชอบจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 7.93% และลูกจ้างมีความรับผิดชอบจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตรา 3.96% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2013