Get Adobe Flash player

1. การผลิต

อุตสาหกรรมประมง สร้างรายได้ให้กับประเทศโมร็อกโกมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยศักยภาพด้านภูมิศาสตร์ที่มีแนวชายฝั่งยาวกว่า 3,500 กิโลเมตร และมีความหลากหลายของชีวภาพทางทะเลที่มีสัตว์น้ำกว่า 500 ชนิด ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าให้กับระบบเศรษฐกิจได้ ปัจจุบัน โมร็อกโก เป็นผู้ส่งออกสินค้าประมง อันดับ 1 ในภูมิภาคแอฟริกา ด้วยมูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2556 อยู่ที่ 11.7 พันล้านเดอร์แฮม คิดเป็นร้อยละ 58 ของมูลค่าการส่งออกอาหาร และร้อยละ 6.8 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด นอกจากนี้ โมร็อกโก ถูกจัดอันดับเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสินค้าประมงเป็นอันดับ 18 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคแอฟริกา รองจากประเทศอียิปต์ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 1.087 ล้านตัน (ปี พ.ศ. 2551-2555) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณผลผลิตประมงที่จับได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วรองจากเวียดนาม รัสเซีย และอินโดนีเซีย ผลผลิตส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 

แหล่งผลิตประมงในโมร็อกโกที่สำคัญ ได้แก่ Laayaun Safi, Tan-Tan และ Agadir โดยเป็นแหล่งผลิตและส่งออกซาร์ดีนที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกไปตลาดสหภาพยุโรป ประเภทสัตว์น้ำที่จับจากธรรมชาติเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม ได้แก่ ทูน่า ซาร์ดีน แมคเคอเรล แอนโชวี เป็นต้น โดยมีปริมาณที่จับได้ประมาณ 800,000 ตันต่อปี คิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั้งหมด สินค้าประมงอื่นๆ ได้แก่ หมึก กุ้ง หอยนางรม และปลาไหล เป็นต้น ส่วนการประมงเพาะเลี้ยง ยังมีไม่มากนัก เนื่องจากโมร็อกโกยังไม่มีความชำนาญในการเพาะเลี้ยง จะมีเพียงบางเขตที่พบว่ามีการเพาะเลี้ยง ได้แก่ เมือง HoceimaNador, และ Azrou (แหล่งข้อมูล : http://www.marokko-info.nl/english/agriculture-and-fishery/)

โมร็อกโกให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงในประเทศเป็นอย่างมาก โดยสมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงไว้ภายใต้แผนที่เรียกว่า “Halieutis” ซึ่งได้เริ่มดำเนินการเมื่อ ปี พ.ศ. 2552 ภายใต้แผนงานมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้ในภาคอุตสาหกรรมประมง  เพิ่มการส่งออก เพิ่มการบริโภคอาหารประมงในประเทศเป็น 16 กิโลกรัม/คน/ปี (จากเดิม 10 กิโลกรัม/คน/ปี) เพิ่มการจ้างงานในอุตสาหกรรมประมงเป็น 115,000 คน และเพิ่มปริมาณผลผลิตเป็น 3 เท่า โดยดำเนินกลยุทธ์ 3 ประการสำคัญได้แก่

·       การผลิตมุ่งสู่ความยั่งยืน

·       การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเครื่องมือเครื่องจักร และโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างกลไกในการควบคุมคุณภาพด้านความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

·       การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นความสามารถการแข่งขันด้านราคา การพัฒนาคุณภาพแรงงาน การขยายการส่งออก และการขยายการบริโภคในประเทศ

แหล่งข้อมูล : http://www.maroc.ma/en/content/halieutis

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรมประมงในโมร็อกโก ที่สำคัญ คือ มีท่าเรือสินค้าประมง 2 แห่ง ได้แก่

§  ท่าเรือเมืองอากาดีร์ เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยเป็น 1 ใน 9 ท่าเรือพาณิชย์ของราชอาณาจักรโมร็อกโก ได้แก่ Nador, Mohammedia, Casablanca, Jorf Lasfar, Safi, Agadir, Laayoune, Dakhla และ Autres อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Agence Nationale des Ports: ANP ที่รับผิดชอบงานของท่าเรือ 3 ส่วนคือ 1) เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าประมง และกำหนดราคากลางของสินค้าประมง 2) ดูแลการนำเข้าและส่งออกสินค้าผ่านทางเรือระหว่างโมร็อกโกกับต่างประเทศ 3) ควบคุมและบริหารจัดการกิจกรรมภายในท่าเรือ ได้แก่ การต่อเรือ และคลังสินค้าต่างๆ

ปัจจุบัน ท่าเรืออากาดีร์ มีการซื้อขายปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทะเลอื่นๆ มากเป็นอันดับ 2 รองจากท่าเรือลายูน เนื่องจากปริมาณปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทะเลอื่นๆ มีปริมาณลดลง ทำให้ชาวประมงต้องออกเรือไปไกลกว่าชายฝั่งมากขึ้น เพื่อจับปลาทำให้มีต้นทุนสูง โดยมีเรือที่เข้ามาเทียบท่าเพื่อจำหน่ายปลาชนิดต่างๆ ประมาณ 600 ลำ อย่างไรก็ตาม ท่าเรืออากาดีร์นี้เป็นแหล่งต่อเรือทั้งเรือขนาดเล็กที่ทำจากไม้และเรือขนาดใหญ่ที่ทำจากเหล็กที่สำคัญของโมร็อกโก สำหรับการส่งออกสินค้าผ่านท่าเรืออากาดีร์ถือว่ามีปริมาณมากที่สุดในโมร็อกโกคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของปริมาณการส่งออก เนื่องจากอยู่ใกล้ EU เรือขนส่งสินค้าใช้เวลาเดินทางเพียง 3 วันก็ถึง EU โดยสินค้าที่โมร็อกโกส่งไปต่างประเทศได้แก่ ผักผลไม้ และผลิตภัณฑ์ประมง เป็นต้น ในขณะที่สินค้านำเข้าก็ผ่านท่าเรือนี้มากเช่นกันได้แก่ ไม้ และธัญพืช เป็นต้น

§  ท่าเรือเมืองลายูน เป็น 1 ใน 9 ท่าเรือพาณิชย์ของราชอาณาจักรโมร็อกโก ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าประมง และกำหนดราคากลางของสินค้าประมง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อขาย ท่าเรือลายูนมีการซื้อขายปลาซาร์ดีนเฉลี่ย 5 ล้านตันต่อปี โดยมีเรือที่เข้ามาเทียบท่าเพื่อจำหน่ายปลาซาร์ดีนประมาณ 120 ลำ ซึ่งแต่ละลำสามารถนำส่งปลาซาร์ดีนได้ 30 ตันต่อลำต่อวัน ราคาจำหน่ายปลาซาร์ดีนสดเป็นราคากลางซึ่งกำหนดโดย ANP ที่จะใช้เป็นราคากลางเป็นเวลา 3 เดือน ทำให้อุตสาหกรรมสามารถวางแผนการผลิตและควบคุมต้นทุนการผลิตได้ค่อนข้างแน่นอน

  

 

2.       โครงสร้างอุตสาหกรรมประมง

ปัจจุบัน จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมประมงในโมร็อกโก มีจำนวน 412 โรงงาน ดำเนินธุรกิจบริษัทเดินเรือประมงอีก 319 บริษัท อุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าประมงในโมร็อกโกส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปเพื่อการส่งออก โดยแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แช่แข็ง แปรรูปบรรจุกระป๋อง และน้ำมันปลา โดยผลผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 30 จะเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปบรรจุกระป๋อง มีกำลังการผลิตประมาณ 300,000 ตัน/ปี ผลิตภัณฑ์แช่แข็ง ร้อยละ 20 เป็นน้ำมันปลาอีกร้อยละ 30 ผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ร้อยละ 20

ผลผลิตสินค้าประมงของโมร็อกโก ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2543-2553 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน และเริ่มปรับตัวลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2554-2556 เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านตัน และมีการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัน ตลาดส่งออกหลักส่วนใหญ่จะอยูในสหภาพยุโรป ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ เป็นต้น

ส่วนการบริโภคสินค้าประมงในประเทศ พบว่ายังมีการบริโภคในระดับไม่สูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก รัฐบาลโมร็อกโกจึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้าประมงเพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปในหลากหลายรูปแบบออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ข้อดีในการบริโภคอาหารประเภทสัตว์น้ำ รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าประมงยังคงเป็นสินค้าที่มีราคาสูงหากเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และผลผลิตประมงส่วนใหญ่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก จึงทำให้การบริโภคในประเทศยังไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก

ประเภทของปลาที่เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด คือ ซาร์ดีน จัดเป็นปลาที่มีความสำคัญมากในตลาดโมร็อกโก โดยมีสัดส่วนปริมาณการจับปลามากถึงร้อยละ 75 ตามด้วยปลาแมคเคอเรล ร้อยละ 16 ซึ่งการจับปลาซาร์ดีนมักจะกระทำกันตามเขตภาคกลางและภาคใต้ของประเทศมากกว่าเขตเมดิเตอร์เรเนียนและแอตแลนติคเหนือ หรือคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 95 ของการจับปลาทั้งหมดในโมร็อกโก โดยในปี พ.ศ.2555 โมร็อกโกสามารถจับปลาซาร์ดีนได้ประมาณ 1.02 ล้านตัน (FAO, 2014) และมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเทคโนโลยีการผลิตที่คุ้มค่า (know-how capitalization) และในปี พ.ศ. 2556 โมร็อกโกมีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปประมงจำนวน 47 ราย มีกำลังการผลิตเฉลี่ยปีละ 300,000 ตันวัตถุดิบ ส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปปลาซาร์ดีน ร้อยละ 86 ตามด้วยปลาแมคเคอเรล ร้อยละ 13 ส่งผลให้โมร็อกโกเป็นแหล่งส่งออกซาร์ดีนกระป๋องขนาดใหญ่ ด้วยมูลค่าการส่งออกสูงถึง 442 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2556 โดยจะส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรปและแอฟริกาเป็นหลัก



 กระบวนการผลิตปลาซาร์ดีนและปลาแมคเคอรัลบรรจุกระป๋องในประเทศโมร็อกโก มีลักษณะเช่นเดียวกับการผลิตปลากระป๋องในประเทศไทย โดยมีการจัดทำระบบคุณภาพทั้ง GMP HACCP BRC IFS ISO 14000 ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป รายละเอียดดังภาพ

  

ส่วนการบริโภคสินค้าประมงในประเทศ พบว่ายังมีการบริโภคในระดับไม่สูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 กิโลกรัม/คน/ปี ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก รัฐบาลโมร็อกโกจึงได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้าประมงเพิ่มขึ้น โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปในหลากหลายรูปแบบออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ข้อดีในการบริโภคอาหารประเภทสัตว์น้ำ รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าประมงยังคงเป็นสินค้าที่มีราคาสูงหากเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และผลผลิตประมงส่วนใหญ่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก จึงทำให้การบริโภคในประเทศยังไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก

 

3.       ห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมซาร์ดีนของโมร็อกโก

ในการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นการนำเสนอให้เห็นถึงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมซาร์ดีนในโมร็อกโก  เนื่องจากเป็นสินค้าส่งออกหลักของอุตสาหกรรมประมงของโมร็อกโก โดยมีผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่มูลค่าหลัก ได้แก่

·       ท่าเรือประมง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบบอุตสาหกรรมสมัยใหม่ แต่ส่วนใหญ่ยังมีขนาดเล็ก และการจับแบบชาวบ้าน ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากตามชายฝั่ง โดยจะส่งปลาต่อมายังพ่อค้าคนกลาง

 

·       พ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะทำหน้าที่จัดส่งวัตถุดิบปลาให้แก่โรงงานแปรรูป ส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางเหล่านี้มักจะอยู่ที่ท่าเรือในเขตตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ โดยจะส่งวัตถุดิบเข้าโรงงานแปรรูป รายละเอียดการบริหารจัดการในส่วนของกิจกรรมนี้ จากการลงพื้นที่สำรวจเชิงลึก สรุปได้คือ กัปตันเรือและเจ้าของเรือซึ่งเป็นผู้ขาย จะมีการลงทุนร่วมกันเพื่อจับปลามาจำหน่าย โดยกัปตันถือหุ้น 60% (รับผิดชอบค่าแรงชาวประมง 30 คนต่อลำ และค่าน้ำแข็ง) ขณะที่เจ้าของเรือถือหุ้น 40% (รับผิดชอบต้นทุนเรือและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการจับปลาและติดต่อกับผู้ซื้อ) ซึ่งจะต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารสำหรับรับเงินค่าปลาที่จำหน่ายได้ ขณะที่ผู้ซื้อก็จะต้องเปิด Bank guarantee ไว้กับธนาคารทุกเดือน เพื่อรับประกันว่าจะมีการจ่ายเงินเข้าบัญชีให้กับผู้ขายภายใน 7 วันหลังจากที่ประมูลปลาได้แจ้งไว้กับ ANP ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการซื้อขาย เมื่อปลาซาร์ดีนสดที่ผ่านการซื้อขายแล้ว ถูกขนส่งขึ้นจากเรือก็จะถูกแช่น้ำแข็งเพื่อส่งต่อไปยังผู้ซื้อ ที่มีการตกลงจำหน่ายปลาซาร์ดีนต่อให้กับโรงงานปลาแช่แข็งและโรงงานปลากระป๋องทันที

·       โรงงานแปรรูป ได้แก่ ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง แช่แข็ง และแล่ชิ้นสด ปลาซาร์ดีนกระป๋องจะใช้วัตถุดิบเฉลี่ยประมาณปีละ 240,000 ตัน หลังจากแปรรูปแล้ว ผู้กระจายสินค้าจะจัดส่งสินค้าให้กับเครือข่ายต่างๆ อาทิ ธุรกิจบริการอาหาร ห้างค้าปลีก และผู้นำเข้า ทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ เช่น ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง เป็นต้น

 

 

อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าประมงในโมร็อกโก ที่สำคัญดังนี้

·       อุตสาหกรรมซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง ใช้วัตถุดิบประมาณ 240,000 ตันต่อปี มีจำนวนผู้ผลิตประมาณ 43 ราย และมีการจ้างงาน 21,000 คน

·       การถนอมอาหารขั้นต้น เช่น การหมักเกลือ มีผู้ผลิตประมาณ 20 ราย

·       อุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ส่วนใหญ่เป็นซาร์ดีน แมคเคอเรล แอนโชวี่ และหมึก และมีการจ้างงาน 6,000 คน

·       อาหารทะเลสด มีผู้ผลิตประมาณ 40 ราย และมีการจ้างงานประมาณ 3,000 ราย

·       อุตสาหกรรมน้ำมันปลาและปลาป่น ยังมีผู้ผลิตจำนวนน้อย และมีการจ้างงานประมาณ 1,000 ราย 

 

จากการสัมภาษณ์ผู้ผลิตอุตสาหกรรมประมง ซาร์ดีนกระป๋อง ในโมร็อกโก ได้แก่ Damsa เป็นบริษัทในกลุ่ม Copelit Group ผู้จับและแปรรูปปลา (แช่แข็ง ปลากระป๋อง ปลาป่น และน้ำมันปลา) รายใหญ่ของราชอาณาจักรโมร็อกโก โดยโรงงาน Damsa ที่ลายูนนี้ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม zone industrielle Al Marsa lot 59- port - Laayoune ดำเนินกิจกรรมการผลิตปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอรัลและปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง เพื่อจำหน่ายในโมร็อกโกและส่งออกไปสหภาพยุโรป โรงงานผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน BRC, IFS, FSSC และ ISO 14000 และ บริษัท Avero Moroc บริษัทในเครือ GB (Groupe Bicha) ของโมร็อกโก เป็นผู้ผลิตปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรลและปลาทูน่าบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของโมร็อกโก โดยเป็น 1 ใน 5 โรงงานปลากระป๋องของ Agadir จำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา โรงงานตั้งอยู่ในเขต new Ait Melloul industrial zone ผ่านการรับรองระบบ HACCP, BRC, IFS และ ISO 14000 จากการเข้าเยี่ยมชมสายการผลิตและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน พบว่า มีข้อมูลที่น่าสนใจเพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายการผลิตร่วมกัน คือ

1)         กระบวนการผลิตซาร์ดีนกระป๋อง จะมีส่วนเหลือของปลาซาร์ดีนส่วนหัว ท้องปลา และหางปลา ที่ยังไม่ได้มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ มากนัก โดยส่วนใหญ่จะส่งเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประมาณ 50 % ของปลาทั้งตัว

 

 

หากประเมินจากจำนวนปลาซาร์ดีนที่เข้าสู่อุตสาหกรรมแปรรูปทั้งหมดซึ่งมีปริมาณอยู่ที่ 300,000 ตันต่อปี ประเมินส่วนเหลือใช้จะอยู่ที่ประมาณ 75,000 ตันต่อปี  ในส่วนเหลือใช้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในอุตสาหกรรมประมงปลาซาร์ดีน

2)         การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงในโมร็อกโก ยังไม่มีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นผลิตภัณฑ์ซาร์ดีนกระป๋อง

 

4. การตลาดสินค้าประมงแปรรูปในโมร็อกโก

ผลผลิตสินค้าประมงของโมร็อกโก ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการส่งออก โดยพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2543-2553 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน และเริ่มปรับตัวลดลงในช่วงปี พ.ศ. 2554-2556 เนื่องจากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้มีจำนวนลดลง หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2557 เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านตัน และมีการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 500,000 ตัน ตลาดส่งออกหลักส่วนใหญ่จะอยูในสหภาพยุโรป ได้แก่ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ เป็นต้น 


 

 

  

บริษัท Conserveries Marocaines Doha เป็นผู้ผลิตภายในประเทศ และจัดเป็นผู้นำด้านการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตสินค้าอาหารทะเลแปรรูปที่มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงที่วิเคราะห์ โดยมีมูลค่าการจำหน่ายสูงถึง  ล้านดีร์แฮม 190ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งได้รับอานิสงส์จากความหลากหลายของสินค้าอาหารทะเลกระป๋อง ภายใต้แบรนด์ “Joly” ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดโมร็อกโกประกอบกับราคาที่อยู่ในระดับปานกลางเมื่อเทียบกับตราสินค้าอื่น และระบบการกระจายสินค้าที่ครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งร้านค้าสมัยใหม่และร้านค้าแบบดั้งเดิม   โดยกลยุทธ์หลักที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นำมาใช้ในการกระตุ้นความต้องการตลาด ได้แก่ การโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์หน้าร้าน รวมทั้งการจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ยกตัวอย่างเช่น สินค้าอาหารทะเลกระป๋อง ตรา Isabel” ของบริษัท Conservas Garavilla SA และตรา Mario” ของบริษัท Excelo SA ที่มีโปรโมชั่นแถมสินค้าฟรี 1 ชิ้น เมื่อซื้อสินค้าของบริษัทครบ 3 ชิ้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดวิธีหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคชาวโมร็อกโกได้เป็นอย่างมาก