Get Adobe Flash player

ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับเครื่องปรุงรส

ทีมวิจัยได้ดำเนินการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค UAE โดยกลุ่มเป้าหมายคือผู้บริโภคที่มีถิ่นพำนักอาศัยอยู่ใน UAE ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และทัศนคติต่อการบริโภคอาหารสำเร็จรูป การรับรู้เกี่ยวกับอาหารไทย พื้นที่เป้าหมายในการเก็บข้อมูล ได้แก่ รัฐดูไบ และกรุงเทพมหานคร (ชาว UAE ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและรักษาพยาบาลในประเทศไทย) โดยทำการสำรวจข้อมูลระหว่าง 15 พฤษภาคม – 15 กรกฎาคม 2559 จากตัวอย่าง 490 คน ปรากฏผลการสำรวจข้อมูล สรุปลักษณะทางประชากรศาสตร์ ดังภาพที่ 4.7 ผลการสำรวจพฤติกรรมการซื้อเครื่องปรุงรส มีข้อสรุปดังนี้

1) ประเภทเครื่องปรุงรสที่ใช้บ่อยในรอบ 1 เดือน  15 อันดับแรก มีดังนี้

 

2) พฤติกรรมการบริโภคซอสแบบเอเชีย

§  ผู้บริโภค  74 % เคยบริโภค   26 % ไม่เคยบริโภค

§  ประเภทซอสและเครื่องปรุงรสแบบเอเชียที่ซื้อบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ซอสถั่วเหลือง ซอสหอยนางรม และน้ำจิ้มซีฟูดส์

 

§  เหตุผลในการเลือกซื้อซอสและเครื่องปรุงรสที่นิยมซื้อบ่อย  พบว่ากลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 56.07 ให้ความสำคัญกับลักษณะปรากฏมาก ส่วนร้อยละ 44.96 ให้ความสำคัญกับรสชาติมาก และร้อยละ 44.05 ให้ความสำคัญกับบรรจุภัณฑ์มาก  ส่วนเหตุผลในการเลือกซื้อตามน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเรียงตามลำดับคะแนน ดังนี้

อันดับ 1 คุณภาพสินค้า 

อันดับ 2 ดีต่อสุขภาพ

อันดับ 3 ราคาสินค้า

อันดับ 4 กลิ่นและรสชาติ

อันดับ 5 บรรจุภัณฑ์

อันดับ 6 ลักษณะโดยรวมที่ปรากฏ (รวมฉลาก)

อันดับ 7 ทดลองสินค้าใหม่

§วิธีการใช้ซอสและเครื่องปรุงรสแบบเอเชียที่ซื้อบ่อย นิยมนำไปจิ้มกับเนื้อสัตว์ที่ย่างและทอด รองลงมาคือนำไปใส่ในอาหารประเภทผัด และนำไปผสมข้าว


 

§  ขนาดบรรจุของซอสและเครื่องปรุงรสที่กลุ่มตัวอย่างนิยมซื้อมากที่สุด คือขนาดบรรจุ 200-500 มิลลิลิตร 49.80 %

 

§  ประเภทบรรจุภัณฑ์ซอสและเครื่องปรุงรสที่นิยม กลุ่มตัวอย่างเลือก ขวดแก้วมากที่สุด 51.56%

 

 

 

§  ความถี่ในการซื้อสินค้ากลุ่มซอสและเครื่องปรุงรส กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 31.20 %

 

 

จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักและเคยบริโภคซอสและเครื่องปรุงรสไทย โดยรู้จักหลากหลายชนิด และให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้า ดีต่อสุขภาพ และราคาสินค้า ผู้บริโภคชอบที่จะเห็นสินค้าที่บรรจุภายในเพราะชอบบรรจุภัณฑ์แบบใส  โดยเฉพาะซอสและเครื่องปรุงบรรจุในขวดแก้วจะให้ภาพลักษณ์สินค้าที่พรีเมี่ยมกว่า ขนาดบรรจุต้องไม่ใหญ่เกินไป ประมาณ 200-500 มิลลิลิตร เพื่อให้มีความสดใหม่และไม่เหลือทิ้ง 

 



[1] ทำมาจากมะเขือเทศสับละเอียด นำไปผัดกับน้ำมันมะกอก กระเทียม หัวหอมใหญ่ ปรุงรสเล็กน้อยด้วยเกลือ อาจใส่น้ำตาลเพิ่มและสมุนไพรพวก basil พริกไทย เป็นซอสที่ไว้ทาหน้าพิซซ่าหรือใส่ในพาสต้า เนื้อจะไม่ขันมาก และยังคงมีความสดหลงเหลืออยู่บ้าง (cooking sauce)              

[2] ทำมาจากมะเขือเทศบดที่ผ่านกระบวนการผลิตที่เข้มข้นผสมด้วย น้ำส้มสายชู น้ำเชื่อมข้าวโพดเป็นต้น ทำให้ได้รสชาติที่ตัดจ้านกว่า บรรจุซองหรือขวด ใช้เป็นซอสจิ้ม(Table sauce)[3]ซอสสีน้ำตาลมีส่วนผสมจากน้ำส้มสายชู  มะเขือเทศ อินผลัม และน้ำมะขาม มีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ มีรสเครื่องเทศนิดๆ ใช้ปรุงรสอาหารแทบทุกชนิด

[4] ผักหรือผลไม้ที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆเอามาหมักดอง มีรสชาติเปรี้ยวๆหวานๆ แก้เลี่ยน