Get Adobe Flash player

          รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้ความสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอาหารมาตั้งแต่ปี 2537 ผลที่ตามมาทำให้เกิดโรงงานแปรรูปอาหารเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จากข้อมูลล่าสุดปี 2556 ของกระทรวงเศรษฐกิจ พบว่ามีโรงงานแปรรูปอาหาร 2,563 โรงดำเนินกิจการแปรรูปอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ขนมหวานจากน้ำตาล โกโก้และช็อกโกแลต เนื้อสัตว์แปรรูป ผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูป น้ำมันพืช น้ำดื่ม น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ ขนมขบเคี้ยว พาสต้า และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เป็นต้น ตลาดมีการแข่งขันสูงเนื่องมาจากนโยบายการค้าที่เปิดเสรี  ผู้จัดหา (ซัพพลายเออร์) อาหารจากทั่วทุกมุมโลกต่างแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และเอเชีย การนำเข้าและจัดจำหน่ายทางบกของผลิตภัณฑ์อาหารจะดำเนินการโดยภาคเอกชน การแทรกแซงของรัฐบาลจะถูกจำกัดแค่เพียงกฎระเบียบด้านสุขอนามัยและการติดฉลากตามที่กำหนด  ภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารของ UAE ได้มีการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นแนวโน้มที่คาดว่าจะยังเติบโตต่อไปข้างหน้า  เนื่องจากการลงทุนของต่างประเทศและรัฐบาลที่พยายามจะเพิ่มการผลิตอาหารในประเทศและความมั่นคงด้านอาหาร  สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตเริ่มที่จะผุดขึ้นพร้อมกับระเบียบที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม  UAE ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารอย่างมากเพื่อเติมช่องว่างระหว่างการผลิตภายในประเทศกับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น

                   ดังนั้น  ผู้ประกอบการอาหารของไทยก็ยังคงมีโอกาสที่จะเข้าไปสร้างเครือข่ายการผลิตในประเทศ UAE และภูมิภาคตะวันออกกลางนี้ เพราะไทยมีความเข้มแข็งและความพร้อมในหลายด้านมากกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ  ซึ่งในบทนี้จะได้นำให้ผู้อ่านได้ค้นหาจุดยืนในตลาดนี้และเริ่มต้นแสวงหาโอกาสที่ยังรออยู่

 

1.      ปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม ประชากรศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม - Social

1) การที่ UAE มีประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 89.5 อาศัยในเขตเมือง และมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ทำให้มีความต้องการบริโภคอาหารแปรรูปที่สะดวกรวดเร็ว และมีความต้องการอาหารที่ตอบสนองความคุ้นเคยในการบริโภคของแต่ละเชื้อชาติ  จึงเป็นโอกาสให้อาหารจากประเทศต่างๆ หลั่งไหลเข้าสู่ UAE  ดังนั้นผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องค้นหาว่าสินค้าของตนต้องการตอบสนองลูกค้ากลุ่มใด เพื่อจะได้เลือกการวางตำแหน่งสินค้า ราคา และช่องทางจัดจำหน่ายที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น ชาวเอมิเรตส์มีเพียงประมาณ ร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งหมด เป็นกลุ่มชนชั้นนักปกครอง ข้าราชการ เจ้าของธุรกิจ มีรายได้สูงและมีค่านิยมในการใช้ชีวิตในระดับไฮเอนด์ การซื้อสินค้าอาหารเพื่อรับประทานในบ้านส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ของแม่บ้าน นอกจากชาวเอมิเรตส์ท้องถิ่นแล้วยังมีชาวอาหรับจากในภูมิภาคที่เข้ามาตั้งรกรากใน UAE นานแล้วอีกประมาณร้อยละ 12 ของประชากรรวม ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มชาวเอมิเรตส์พื้นเมือง แต่ทว่ากลุ่มเชื้อชาติที่อาศัยใน UAE มากที่สุด คือ ชาวเอเชียใต้มาจาก อินเดีย ปากีสถาน และบังคลาเทศ มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 47-50 ของประชากรทั้งหมด ที่เข้ามาเพื่อเป็นแรงงาน มีรายได้ต่ำ และต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง การเลือกซื้อสินค้าอาหารจะเน้นที่ราคาถูก ซื้อครั้งละน้อยๆ แบบวันต่อวัน เลือกซื้อสินค้าที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นหลัก เช่น ข้าว น้ำมันพืช แป้ง  เครื่องดื่ม สินค้าอาหรที่จะเจาะตลาดกลุ่มนี้เน้นการแข่งขันที่ราคาเป็นหลัก เป็นต้น

Text Box:  2) โอกาสทางการศึกษาและการประกอบอาชีพสำหรับผู้หญิงเป็นปัจจัยที่ทำให้วิถีครอบครัวแบบอาหรับดั้งเดิมเปลี่ยนไป ส่งผลให้แต่ละครัวเรือนมีกำลังซื้อมากขึ้น การบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้แม่บ้านมีเวลาน้อยลงในการตระเตรียมอาหาร ต้องพึ่งพาอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น ส่งผลให้การบริโภคอาหารที่ปรุงได้รวดเร็ว (convenient foods) เช่น อาหารพร้อมรับประทาน อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมเมือง  ในอีกด้านหนึ่ง การออกไปทำงานนอกบ้านของผู้หญิงอาหรับก็ทำให้เกิดการจ้างคนรับใช้ไว้คอยทำงานแม่บ้านแทนตนเองที่ไม่มีเวลา การมีคนรับใช้เป็นแม่บ้านทำให้หน้าที่ของผู้หญิงในการตระเตรียมอาหารการกิน การจับจ่ายซื้อของตามตลาด การเลี้ยงและให้อาหารเด็กเล็ก และการบริหารจัดการเรื่องงานในบ้าน จึงค่อย ๆ หมดไป เพราะงานเหล่านี้กลายเป็นหน้าที่ของแม่บ้านชาวต่างชาติแทน และได้กลายเป็นการค่อย ๆ ซึมผ่านวัฒนธรรมด้านอาหารจากแม่บ้านต่างชาติสู่ครอบครัวอาหรับ เช่น แม่บ้านชาวอินโดนีเซียนำวัฒนธรรมการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาสู่อาหรับรุ่นใหม่ ทำให้ผลิตภัณฑ์อินโดหมี่ (Indome) เป็นที่รู้จักในตลาด UAE มากขึ้น ดังนั้นการจะแนะนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มแม่บ้านต่างชาติด้วย

Text Box:  3) ธุรกิจส่วนใหญ่ใน UAE โดยเฉพาะการทำการค้า ธุรกิจนำเข้าส่งออก การกระจายสินค้าใน UAE รวมทั้งกระจายสินค้าออกต่างประเทศ ส่วนใหญ่บริหารและดำเนินงานโดยคนต่างชาติ อาทิ คนอินเดีย อิหร่าน รวมทั้งคนอาหรับ (อิหร่าน จอร์แดน เลบานอน) เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการต้องศึกษาวัฒนธรรมและแนวคิดของคนกลุ่มนี้ เพื่อให้เข้าใจและสื่อสารกันง่ายขึ้น  

Text Box:  4) การที่ประชาชนมีโอกาสเดินทาง  ทำงาน  และศึกษาในต่างประเทศมากขึ้น รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว  การเข้ามาตั้งรกรากของชนต่างถิ่น ทำให้วัฒนธรรมอาหารเปิดกว้างมากขึ้น จะพบเห็นร้านอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารของชาติต่างๆ ได้มากขึ้น  ไลฟสไตล์ที่นิยมการบริโภคอาหารนอกบ้าน และการขยายตัวของธุรกิจบริการจัดเลี้ยงอาหาร ปี 2558 มูลค่าตลาด  555 พันล้านบาท ติดอันกับ Top 20 ของโลก และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง การแนะนำผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้คนภูมิภาคนี้รู้จักจึงสามารถทำได้ตั้งแต่ในประเทศไทย โดยการเลือกทำเลที่ชาวอาหรับเข้ามาท่องเที่ยวหรือรักษาพยาบาลในไทยจำนวนมาก เพราะผลการสำรวจการรู้จักอาหารไทยของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ส่วนใหญ่รู้จักอาหารไทยจากการแนะนำของเพื่อน ญาติ หรือคนรู้จัก

Text Box: 5) ผลการศึกษาของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา พบว่า ชาวซาอุดิอาระเบียมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เลียนแบบชาวตะวันตกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว ประกอบกับการใช้ชีวิตแบบสมัยใหม่ที่เร่งรีบวุ่นวายมากขึ้นทำให้ไม่มีเวลามากนักในการเตรียมอาหาร ดังนั้น คนเหล่านี้จึงหันมาหาอาหารประเภทพร้อมรับประทาน อาหารจานด่วน และอาหารที่ซื้อกลับบ้าน ส่วนชาว UAE โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว นิยมรับประทานอาหารสะดวกซื้อเช่นกัน และรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น โดยนิยมเลือกร้านอาหารที่มีบรรยากาศสบาย ๆ เป็นกันเอง ไม่เน้นความหรูหรา ร้านอาหารและร้านไอศกรีมที่เป็นแฟรนไซส์จากต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ชาวUAE บางส่วนยังนิยมรับประทานอาหารส่งถึงบ้าน (Home Delivery) โดยส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้ออาหารประเภทคบเคี้ยว ขนมอบ (Bakery) และเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ ดังนั้นการมุ่งเน้นช่องทางกระจายสินค้าโดยการนำเสนอสินค้าที่เหมาะกับธุรกิจบริการอาหารหรือร่วมมือกับธุรกิจบริการอาหารก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

Text Box:  6) การรับประทานข้าว เนื้อสัตว์ แป้งสาลี น้ำตาล น้ำมันประกอบอาหาร เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ช่วงต้นของทศวรรษที่ 1970 เนื่องจากนโยบายพยุงราคาอาหารของภาครัฐและรายได้ที่เพิ่มขึ้นของประชากร แต่ในระยะหลังนโยบายด้านนี้ของภาครัฐก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะการกินอาหารประเภทให้พลังงานมาก ๆ ทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วน โรคหัวใจ เบาหวาน และโรคฟันผุ ด้วยเหตุนี้ อาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคในตะวันออกกลาง การนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ข้อนี้ก็ยังมีโอกาสอีกมาก

Text Box:  7) ประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของอาหารฮาลาล นั่นหมายถึงคนกลุ่มนี้มีความรู้เกี่ยวกับที่มาและองค์ประกอบของอาหารฮาลาลเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ที่ไหน คนกลุ่มนี้ก็จะแสวงหาผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลเพื่อนำมาบริโภค ตราสัญลักษณ์ฮาลาลจึงเป็นเครื่องมือทำให้เกิดความมั่นใจในสถานะของผลิตภัณฑ์สินค้า เหมาะที่จะบริโภคตามหลักการศาสนา และมีกระบวนการผลิตที่ตรงตามหลักการและแนวทางของศาสนาอย่างแท้จริง ไทยจึงต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการรับรองและการใช้เครื่องหมายฮาลาลอย่างถูกต้องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค

 

2.      ปัจจัยด้านการเมือง รัฐบาล และนโยบายรัฐที่มีผลกระทบ - Political

Text Box:       1) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศมุสลิมสายกลาง มีเสถียรภาพทางการเมืองสูงมาก ไม่มีปัญหาความขัดแย้งกับต่างประเทศ รวมทั้งไม่มีภัยก่อการร้าย ดังนั้นจึงถือว่าเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจในการลงทุนสูง

Text Box:       2) การมีนโยบายส่งเสริมการค้าและการลงทุนเสรีโดยออกมาตรการปลอดภาษี เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ชาวต่างชาติมาดำเนินธุรกิจ มีการเปิดเขต Free Zone ที่ต่างชาติสามารถลงทุนถือหุ้นได้ 100% ไม่มีระบบ Partnership รวมถึงไม่มีภาษีต่าง ๆ ทั้งภาษีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) รวมทั้งยังไม่มีภาษีนำเข้า (Import Duty) ส่งผลทำให้ UAE เป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค โดยมีรัฐดูไบเป็นเมืองเศรษฐกิจและเมืองท่าที่สำคัญ และถูกจัดลำดับความน่าสนใจในการลงทุนเป็นอันดับ 2 ของโลก จากรายงาน The Global Competitiveness Report 2015-2016 

Text Box:  3) UAE ตั้งเป้าหมายทางธุรกิจในการเป็นศูนย์กลางการค้าส่งแบบ E-commerce ระดับโลก ภายใต้โครงการ “Dubai Wholesale City” โดยนครการค้าส่งแห่งใหม่นี้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 50 ล้าน ตร.ม. คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 10 ปี ซึ่งจะเป็นสถานที่ที่นักธุรกิจค้าส่งนานาชาติจำนวนกว่า 1.5 หมื่นรายมาอยู่รวมกัน โดยมีสนามบิน Al Maktoum International Airport และท่าเรือ Jebel Ali เป็นแหล่งขนถ่ายและระบายสินค้า ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ของทวีปทั้ง 4 ได้แก่ ยุโรป เอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีการนำ Smart Technology เข้ามาใช้ในการบริการ ตอบรับการค้าในยุคดิจิทัล ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยเข้าไปสร้างความเชื่อมโยงกับนักธุรกิจภายใต้โครงการนี้ จะช่วยให้สินค้าของไทยกระจายไปได้เร็วขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง

Text Box:  4) UAE ประกาศจะปรับปรุงและผลักดันนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างความพึงพอใจและการอยู่ดีมีสุขของประชาชน ซึ่งในแผน Vision 2021 รัฐบาลก็ได้ตั้งเป้าว่าจะต้องเป็นหนึ่งในประเทศที่มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ดีที่สุด และเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก นั่นหมายถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอาหารควบคู่กันไป ดังนั้นอาหารเพื่อสุขภาพจึงเป็นโจทย์ที่ไม่ควรมองข้าม

 

3.      ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ - Economic

Text Box:  1) UAE มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาคและอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจมากที่สุดของโลก เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องแม้จะอยู่ในช่วงที่ราคาพลังงานลดลงก็ตาม เนื่องจากได้มีนโยบายในการลดการพึ่งพิงน้ำมันและหันไปพัฒนาเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ มาเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วโดยเฉพาะรัฐดูไบ ทำให้รายได้ต่อหัวของประชากรค่อนข้างสูง และมีกำลังซื้อต่อเนื่อง 

Text Box:  2) Credit Suisse Research Institute มีการประเมินเมื่อปี 2558 ว่าในซาอุดิอาระเบียและ UAE จะมีจำนวนผู้มั่งคั่ง(เศรษฐี) เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมถึงร้อยละ 72 และ 62 ตามลำดับภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาค MENA  ในปี 2558 จำนวนผู้มั่งคั่งในภูมิภาคนี้มี 330,000 คน จะเพิ่มเป็น 500,000 คนในปี 2020  ดังนั้นหากเสนอสินค้าระดับพรีเมี่ยมในช่องทางที่เหมาะสมก็น่าจะมีโอกาสเติบโตได้ดี 

Text Box:  3) คุณภาพของระบบสาธารณูปโภคโดยภาพรวม จัดอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก นอกจากนี้ UAE มีนโยบายการทำธุรกิจและค้าขายที่ค่อนข้างเสรี และได้รับการจัดอันดับความสะดวกในการทำธุรกิจอยู่ที่ 31 ของโลก ตามรายงาน Ease of Doing Business Report 2016 ของธนาคารโลก นับเป็นอันดับสูงที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ การเข้ามาลงทุนใน UAE จึงไม่ใช่เรื่องยากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้

Text Box:  4) เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะในสาขาที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวของประเทศที่ต้องการเพิ่มความหลากหลายทางโครงสร้างเศรษฐกิจและลดการพึ่งพาการส่งออกน้ำมัน

 

Text Box:  5) แรงงานไร้ฝีมือใน UAE ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่มีต้นทุนค่าจ้างไม่สูงนัก อัตราค่าจ้างแรงงานไม่มีทักษะ 500-1,000 AED ต่อเดือน (ประมาณ 4,800-9,600 บาท/เดือน) แรงงานกึ่งทักษะ 1,001-2,000 AED ต่อเดือน (ประมาณ 9,600-19,200 บาท/เดือน) ซึ่งถือว่าหากจะลงทุนด้านการผลิต ระดับค่าจ้างแรงงานจึงไม่มีอุปสรรค และรัฐบาลก็เปิดโอกาสให้นำเข้าแรงงานต่างชาติได้

 

4.      ปัจจัยด้านกฎหมาย – Legal

Text Box:  1)  กฎหมายส่งเสริมการลงทุนเอื้อต่อการทำธุรกิจทั้งสัดส่วนการถือหุ้นและการถือครองที่ดิน กฎหมายการเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี  กฎหมายเปิดให้จ้างแรงงานต่างชาติได้ ยังไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม/ภาษีขาย  ภาษีนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 0-5% 

Text Box:  2) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ GCC (Gulf Cooperation Council),GAFTA (Greater Arab Free Trade Area) , US-FTA ทำให้การค้าระหว่างกลุ่มได้เปรียบด้านภาษี

 


3) การจัดทำเขตเศรษฐกิจเสรีหรือเขตปลอดภาษี (
Economic Free Zone) กว่า 20 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของร้อยละ 100  ยกเว้นภาษีอย่างน้อย 15 ปี (ทดแทนสำหรับอีก 15 ปี) การส่งกลับเต็มของผลกำไรและเงินทุน Free zone company เสียภาษีรายได้ 0% หรือปลอดภาษี และยังปลอดภาษีทั้งแบบนำเข้าและการนำเข้าเพื่อส่งออก

Text Box:  4) จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการไทยใน UAE พบว่ามีประเด็นเรื่องกฎระเบียบย่อยๆ ที่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ หลายรายการ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้คาดหมายไว้ และในขั้นตอนปฏิบัติจริงในการดำเนินธุรกิจมีประเด็นปลีกย่อยที่ซับซ้อนต้องอาศัยความช่วยเหลือจากนักกฎหมายท้องถิ่น เพราะบางสินค้าที่ไม่ตรงกับที่กฎหมายกำหนดต้องอาศัยการตีความดดยเจ้าหน้าที่ซึ่งอาจไม่รู้จักสินค้าไทย

Text Box:  5) การปรับปรุงระบบการรับรองฮาลาล UAE ได้กำหนดให้การควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์ฮาลาลมาอยู่ในกำกับของสำนักงานมาตรฐานและมาตรวิทยา หรือ ESMA ทำให้กระบวนการขึ้นทะเบียนเพื่อเป็นผู้มีอำนาจออกตราฮาลาล และการขึ้นทะเบียนโรงฆ่าสัตว์ของประเทศที่ส่งออกไป UAE ต้องดำเนินการใหม่ทั้งหมด โดยจะเริ่มรับคำร้องขอขึ้นทะเบียนจากหน่วยงานรับรองฮาลาลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 - 30 มกราคม 2560 หากไทยจะส่งออกสินค้าฮาลาลไปยังยูเออี หน่วยรับรองฮาลาลของไทยต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ ESMA โดยต้องผ่านการรับรองระบบงานจากหน่วยรับรองระบบงานของ GAC ก่อน และขอความร่วมมือ มกอช. ในการตรวจประเมินหน่วยรับรองอาหารฮาลาลของไทย ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างเตรียมขอขึ้นทะเบียนกับ ESMA โดยระหว่างนี้โรงฆ่าสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนไว้เดิมสามารถส่งออกได้ตามปกติจนถึงปี 2560

Text Box:  6) มีข้อกำหนดว่าสินค้าอาหารต้องมีฉลากภาษาอารบิก และมีอายุอย่างน้อย 12 เดือน ทุกผลิตภัณฑ์นำเข้าต้องจดทะเบียนในระบบ FIRS

 

5.      ปัจจัยด้านเทคโนโลยี - Technology

Text Box:  1)รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นของครัวเรือนในกลุ่มประเทศ GCC และความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกสมัยใหม่ ทำให้ผู้คนเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ จานดาวเทียม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่น ๆ มากขึ้น คนเหล่านี้ใช้เวลาส่วนใหญ่ดูรายการโทรทัศน์ หรือใช้อินเตอร์เนต การโฆษณาสินค้าอาหารผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนในภูมิภาคนี้อย่างมาก ทำให้ผู้ประกอบการมีช่องทางที่ใช้ต้นทุนต่ำในการสื่อสารถึงผู้บริโภคโดยตรง

 

จากการพิจารณาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับมหภาค พบว่ามีหลายปัจจัยที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน(ปัจจัยบวก)  จึงนับว่า UAE เป็นประเทศที่น่าสนใจสำหรับการทำธุรกิจทั้งในแบบการเข้าไปลงทุนผลิตและการค้าระดับต้นๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลางและระดับโลกก็ว่าได้