Get Adobe Flash player

เกณฑ์การคัดเลือกสินค้า

การคัดเลือกสินค้าเพื่อศึกษาเชิงลึกในโอกาสการสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และภูมิภาคตะวันออกกลางนั้น จะใช้เกณฑ์ที่สำคัญ 3 ด้านคือ

1)    ศักยภาพการผลิตหรือความสามารภในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดเป้าหมาย

2)    ความน่าสนใจของตลาด ได้แก่ ขนาดตลาด และแนวโน้มการเติบโตที่ผ่านมา

3)    ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยในวงกว้าง

ด้วยแนวคิดที่ว่าปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทุน แรงงาน และเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ความสามารถในการผลิตสินค้าแต่ละประเทศแตกต่างกันไป  โดยประเทศที่มีความสามารถในการผลิตอะไรก็ควรเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าชนิดนั้นๆ  หากไม่มีความสามารถก็ควรนำเข้าสินค้าชนิดนั้นแทน  ตามหลักการความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในการเปรียบเทียบความสามารถในการแขงขันของสินคาสงออกระหวางประเทศโดยใชขอมูลดานตนทุนและประสิทธิภาพการผลิตนั้นทําไดยาก  ดังนั้นการวิเคราะหความสามารถในการแขงขันของสินคาระหวางประเทศมักจะนิยมใชดัชนีความไดเปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (Revealed Comparative Advantage Index) หรือดัชนี RCA  หากว่า RCA > 1 แสดงว่า ประเทศนั้นมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตสินค้าชนิดนั้น  ข้อจำกัดของดัชนี RCA อาจถูกกระทบได้หลายปัจจัยที่บิดเบือนรูปแบบการค้าไป อาทิ การกีดกันทางการค้าทั้งด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี ซึ่งไม่ได้สะท้อนความสามารถในการผลิตสินค้าชนิดนั้นๆ ออกมาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม สำหรับภูมิภาคตะวันออกลางและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีอุปสรรคทางการค้าทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี ดังนั้น ดัชนี RCA น่าจะใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกสินค้าเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายการผลิตได้ในระดับหนึ่ง

เกณฑ์ด้านความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสินค้าอาหารไทยในตลาดตะวันออกกลางและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

เนื่องจากคณะผู้วิจัยไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสถิติการค้าของภูมิภาคตะวันออกกลางและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้จากแหล่งอ้างอิงของหน่วยงานรัฐของแต่ละประเทศโดยตรง และหน่วยงานรวบรวมสถิติการค้าระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล เช่น Global Trade Atlas ก็ไม่มีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอ ดังนั้นจึงต้องใช้ข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่มีข้อมูลมากที่สุด ถึงแม้เป็นเพียงข้อมูลเงาสะท้อน (ได้จากการประมวลจากสถิติของประเทศอื่นๆ) โดยในรายงานฉบับนี้ได้อ้างอิงข้อมูลจากฐาน TradeMap ของ International Trade Center ภายใต้ UNCTAD/WTO

ผลจากการคำนวณค่าเฉลี่ยของมูลค่าการค้าในช่วงปี 2556-2558 พบว่า สินค้าอาหารที่ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดตะวันออกกลางและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความใกล้เคียงกัน รายละเอียดการวิเคราะห์ดังตารางที่ 4.11 แต่มีประเด็นข้อสังเกต คือ มีสินค้าบางประเภทที่ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA>1) ในตลาดตะวันออกกลาง แต่ไม่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  ได้แก่ HS 0307 หอยหมึก เป่าฮื้อสด แช่เย็น แช่แข็ง แช่แข็ง แห้ง ในน้ำเกลือ รมควัน ฯ  HS 0409 น้ำผึ้งจากธรรมชาติ HS 0410 ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่บริโภคได้ ซึ่งไม่ได้ระบุหรือรวมไว้ในที่อื่นHS 1109แป้ง แป้งหยาบและผง ที่ทำจากพืชผักตระกูลถั่วHS 2009 น้ำผลไม้และน้ำพืชผัก แสดงถึงว่าไทยมีการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้และมีส่วนแบ่งตลาดในระดับพอสมควรในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ยังมีการส่งออกน้อยในตลาด UAE ซึ่งน่าจะมีโอกาสขยายการส่งออกใน UAE เพิ่มขึ้นได้หากมีการใช้กลยุทธ์การตลาดหรือแนะนำสินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ขณะที่มีสินค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ไทยมีการส่งออกและเริ่มมีส่วนแบ่งตลาดบ้างใน UAE แต่ยังไม่ได้ขยายการส่งออกในประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลางมากนัก  ได้แก่ HS 0207 ไก่แช่แข็ง HS 0308 ปลิงทะเล เม่นทะเล แมงกระพรุน สด มีชีวิต แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง ในน้ำเกลือ รมควัน ฯ HS 0408 ไข่สัตว์ปีกเอาเปลือกออกแล้ว ทำไว้ไม่ให้เสีย HS 0711 พืชผักทำไว้ไม่ให้เสียชั่วคราวในสภาพไม่เหมาะสำหรับบริโภคทันที HS 2001พืชผัก ผลไม้ ลูกนัต และส่วนอื่นที่บริโภคได้ ของพืชที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสียโดยใช้ น้ำส้มสายชู หรือกรดอะซิติก

ทั้งนี้ จากประเภทสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในระดับประเทศและภูมิภาคนี้ หากนำไปพิจารณาประกอบกับมูลค่าตลาดและแนวโน้มการเติบโตก็จะคัดกรองสินค้าที่มีความน่าสนใจในการวิเคราะห์เชิงลึกในลำดับต้นๆ ได้

 

เกณฑ์ด้านขนาดตลาดและแนวโน้มการเติบโต

ทั้งนี้ ดังที่ทราบแล้วว่าภูมิภาคตะวันออกกลางนั้นประเทศส่วนใหญ่ไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต้องพึ่งพาการนำเข้ามากกว่าร้อยละ 70 ของปริมาณการบริโภค  ดังนั้นการพิจารณามูลค่านำเข้าสินค้าอาหารในแต่ละปีก็จะสามารถสะท้อนภาพความต้องการของตลาดหรือมูลค่าตลาดของสินค้านั้นๆ ในภูมิภาคได้ส่วนหนึ่ง จากค่าเฉลี่ยของมูลค่านำเข้าอาหารของตะวันออกกลางและ UAE ในช่วงปี 2556-2558 เมื่อนำมาจัดกลุ่มตามมูลค่าการนำเข้า (ขนาดตลาด) และแนวโน้มการเติบโตของมูลค่านำเข้า โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ตามมูลค่านำเข้า และเลือกเฉพาะสินค้าที่มีอัตราเปลี่ยนแปลงของมูลค่านำเข้าในเชิงบวก(อัตราเติบโตรายสินค้าสูงกว่าอัตราเติบโตของภาพรวมการนำเข้าอาหาร) ซึ่งแสดงถึงสินค้าที่ตลาดมีศักยภาพถึงแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะชะลอตัว  เนื่องจากอัตราเปลี่ยนแปลงของมูลค่านำเข้าอาหารของทั้งตะวันออกกลางและ UAE ในช่วงปี 2556-2558 ที่ศึกษาติดลบ