Get Adobe Flash player

การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 ในการดำเนินธุรกิจ

(Porter’s 5 Forces Model)

ผลิตภัณฑ์ซอส พริกแกง และเครื่องปรุงรส 

การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 จะช่วยให้เข้าใจถึงโครงสร้าง แนวโน้มหลัก  และแรงกระทำต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เห็นภาพแนวโน้มและภัยคุกคามในอุตสาหกรรม และทราบว่าอุตสาหกรรมกำลังจะโตขึ้นหรือถดถอยลง 

ในการวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 จะให้คะแนนในการประเมินระดับความน่าสนใจโดยอิงจากข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งจากการทบทวนเอกสาร การสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมอง และการสำรวจตลาด

ปี 2554-2558 ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มซอส พริกแกง และเครื่องปรุงรส ไปตลาดโลกมูลค่าเฉลี่ย  511.83 ล้าน $US ต่อปี ส่งออกไปตะวันออกลางมูลค่า 14.62 ล้าน $US ต่อปี ส่งออกไป UAE มูลค่า 3.59 ล้าน $US ต่อปี โดยมีอัตราเติบโตในเชิงบวกทั้ง 3 ตลาด โดยเฉพาะ UAE มีอัตราเติบโตสูงถึงเฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปี  ทำให้ในประเทศไทยเองมีจำนวนผู้ผลิตสินค้ากลุ่มซอสและเครื่องปรุงรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากแนวโน้มตลาดที่เติบโตต่อเนื่อง  ทั้งการส่งออกโดย OEM และมีแบรนด์ของตนเอง ขณะที่จากการสำรวจตลาดในดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พบว่าสินค้ากลุ่มนี้มีจำนวนแบรนด์ในชั้นวางหลากหลายมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 3 ปีก่อน โดยมีแหล่งผลิตจากหลายประเทศและมีการทำแบรนด์ของผู้นำเข้าและห้างค้าปลีกเองด้วย  หากพิจารณาการเข้ามาของรายใหม่ในตลาด UAE ก็ถือว่าเกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่อาจจะไม่ค่อยยึดติดแบรนด์ เพราะมีความอ่อนไหวต่อราคา แต่สำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง และธุรกิจบริการอาหารส่วนใหญ่กลุ่มเครื่องปรุงจะมีสูตรเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อใช้แบรนด์ใดแล้วก็จะใช้สูตรนั้น เพราะจะส่งผลต่อรสชาติที่อาจเปลี่ยนไป การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 มีรายละเอียดดังนี้           

 

          โดยภาพรวมของสินค้าซอส พริกแกง และเครื่องปรุงรสของไทยในตลาด UAE เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคระดับหนึ่ง ตลาดมีแนวโน้มเติบดตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากมีร้านอาหารไทยค่อนข้างมากและผู้บริโภคเคยเดินทางมาไทย แต่ก็ยังไม่ใช่สินค้าที่บริโภคเป็นปกติในชีวิตประจำวันเหมือนอาหารของเชื้อชาติตน แต่ก็มีสินค้าบางรายการที่ผู้บริโภคอาหรับนำไปใช้บริโภคประกอบอาหารท้องถิ่น เช่น น้ำจิ้มไก่ เป็นที่นิยมแพร่หลาย ใช้จิ้มอาหารทุกประเภท ทำให้มีการแข่งขันสูงในตลาด มีแบรนด์สินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก แต่ทว่าผู้ผลิตไทยที่ไม่ได้สร้างแบรนด์ก็จะไม่มีอำนาจต่อรองกับผู้นำเข้า และถูกกดราคา ดังนั้นการจะทำให้ตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสไทยเติบโตมากขึ้นมี 2 แนวทางคือ 1) ต้องเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริการจัดส่งถึงบ้าน 2) ต้องหาวิธีนำผลิตภัณฑ์ซอส พริกแกง และเครื่องปรุงรสไทยนำไปปรับใช้กับอาหารท้องถิ่นของชาวอาหรับและอินเดีย เพื่อแทรกซึมสู่ผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการเข้าและออกจากอุตสาหกรรมถือว่าถือว่ามีอุปสรรคน้อย แต่สินค้าทดแทนก็มีจำนวนมาก สภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมจึงมีความน่าสนใจในการแข่งขันระดับปานกลาง