สวัสดี

ถาม-ตอบ


Technology

ตอบ ก่อนอื่นเราต้องทราบลักษณะของสินค้าก่อนครับว่าเข้าข่ายอาหารในกลุ่มไหน โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ครับ

1. อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท (Low acid canned food) pH > 4.6, aw > 0.85 (pH = ค่าความเป็นกรดด่างม aw = water activity)
2. อาหารที่มีการปรับกรด (acidified food) pH < 4.6, aw > 0.85
- ถ้าอาหารอยู่ในกลุ่ม 1 จะต้องมี่การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในระดับ sterilize (Temp. ประมาณ 115-121C) ถ้าบรรจุในถุง retort pouch จะต้องใช้กับเครื่องฆ่าเชื้อแบบเพิ่มแรงดัน (Over pressure retort) ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงครับ (สาเหตุเพราะป้องกันไม่ให้ถุงแตกระหว่างการฆ่าเชื้อ)
- ถ้าอาหารอยู่ในกลุ่ม 2 จะต้องมี่การฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในระดับ pasteurize (Temp. ประมาณ 90-100C) ถ้าบรรจุในถุง retort pouch จะสามารถใช้ได้ทั้งการต้มในน้ำร้อน หรือใช้กับ retort ก็ได้ครับ การต้มในน้ำร้อน เครื่องจะราคาถูกกว่าครับ
การเลือกซื้อถุง retort pouch นั้น ต้องมีการระบุช่วงอุณหภูมิการใช้งานกับผู้จำหน่ายครับ เพราะถุงแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันครับ

ตอบ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น ลดค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ (aw) ในขนมเปี๊ยะ  หรือปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้สามารถป้องกันอากาศเข้าไปทำปฏิกิริยากับขนมเปี๊ยะควบคู่กับการใช้สารดูดความชื้น เป็นต้น ดูรายละเอียดงานวิจัยตามเอกสารแนบนะคะ ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการผลิตขนมเปี๊ยะรายหนึ่งสามารถยืดอายุผลิตภัณฑ์ขนมเปี๊ยะได้นานถึง 30 วัน ด้วยการบรรจุในถุงสูญญากาศนะคะ

ตอบ เอกสารแนบเป็นข้อมูลการผลิตน้ำมันมะพร้าวบีบเย็นคุณภาพสูง โดยการใช้เครื่องมือ screw type press ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ราคาไม่สูงมาก ทั้งยังได้น้ำมันมะพร้าวที่มีคุณภาพดี

และข้อมูลการเสียภาษีของน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น พร้อม Link ของ อย.ในการยื่นเอกสารข้อมูลต่างๆในการขึ้นทะเบียนคะ
ตามลิงค์ นี้เลยคะ http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/

 

ตอบ ต้องทำการทดลองจึงจะทราบว่าเป็นไปได้หรือไม่ แต่มีข้อสังเกตว่าการสเตอริไรส์อาจสามารถเก็บรักษากุ้งอบวุ้นเส้นที่ปรุงเสร็จแล้วได้โดย ไม่เสื่อมเสีย แต่คุณลักษณะอาจไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค เพราะถูกความร้อนสูงจนวุ้นเส้นเละเสียสภาพหลังผลิตเสร็จก็เป็นได้นะคะ ดังนั้น จึงต้องดูข้อจำกัดของอาหารแต่ละชนิดประกอบด้วย

ตอบ ต้องทำการทดลองหาก่อน แล้วจึงนำมากำหนดเป็นวันหมดอายุที่ถูกต้องได้ โดยถ้าเป็นอาหารที่มีอายุสั้นสามารถหาอายุการเก็บรักษาได้ด้วยการผลิตอาหาร ออกมาจำนวนหนึ่ง (ประมาณการณ์ตามวันที่คาดว่าจะเสื่อมเสียเช่น คาดว่าจะเสื่อมเสียภายใน 7 วันก็ผลิตออกมา 7-10 ชิ้น) แล้วนำทั้งหมด,kเก็บไว้ในสภาวะจำหน่ายจริง จากนั้นเปิดดูการเสื่อมเสีย (ดู ชิม ดมกลิ่น และตรวจวิเคราะห์) ไปทีละชิ้นๆ ทุกวันจนกว่าจะไม่สามารถยอมรับได้วันนั้นจะเป็นวันหมดอายุของอาหารชนิดนั้น แต่ถ้าเป็นอาหารที่มีอายุยาวจะต้องทำการทดลองโดยใช้สภาวะเร่ง ซึ่งต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ตอบ การอัดก๊าซไนโตรเจนสามารถช่วยรักษาความกรอบของขนมทอดกรอบได้นาน เนื่องจาก ก๊าซไนโตรเจนไปแทนที่ออกซิเจนในถุงขนมทำให้ขนมทอดกรอบไม่เหม็นหืนและคงความ กรอบ 
        แต่จะสามารถรักษาความกรอบได้นานแค่ไหนนั้นต้องทำการทดลองหาอายุการเก็บรักษา ของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละชนิดจะมีอายุการเก็บรักษาที่ไม่เท่ากัน เพราะมีหลายปัจจัยที่แตกต่างกันหลายอย่างเช่น วัตถุดิบ กระบวนการผลิต บรรจุภัณฑ์ และการเก็บรักษา

ตอบ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการล้างวัตถุดิบโดยไม่ใช้คลอรีน เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของคลอรีนตกค้างในวัตถุดิบ ที่นิยมใช้คือ "โอโซน" (ozone หรือ O3) ซึ่งมีสถานะเป็นก๊าซที่ไม่เสถียรหรือไม่คงตัว สามารถใช้เป็นสารฆ่าเชื้อ (sanitizer) เพื่อลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคได้ โดยใช้เติมลงในน้ำที่ใช้ล้างวัตถุดิบค่ะ ทั้งนี้ ลองศึกษารายละเอียดเรื่องความคุ้มค่าในการเปลี่ยนระบบในภาคผนวก ค ของเอกสารตาม link นี้ http://www.diw.go.th/km/env/pdf/หลักปฏิบัติเทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด.pdf

ตอบ การผลิตอาหารประเภททอดในลักษณะของขบเคี้ยวทานเล่น ให้มีอายุการเก็บรักษานานและคงรสชาติความอร่อยนั้น โดยหลักการแล้วมีปัจจัยสำคัญที่ต้องควบคุมอยู่ 2 อย่างคือ 
1. ความกรอบ 
2. กลิ่นเหม็นหืน 
ซึ่งอาจใช้กระบวนการผลิตช่วย ร่วมกับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ในที่นี้ขอแนะนำดังนี้
1. กระบวนการผลิต เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์คงความกรอบและยืดอายุการเก็บรักษา ควรซับน้ำจากวัตถุดิบที่ผ่านการล้างออกก่อนนำมาชุบแป้งและทอดด้วยน้ำมัน โดยภายหลังการทอด อาจนำมาอบซ้ำเพื่อลดความชื้น (ต้องทดลองหาอุณหภูมิและเวลาในการอบที่เหมาะสมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะปรากฎ ความกรอบ และสีสันตามต้องการ) 
2. บรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยป้องกันกลิ่นเหม็นหืนและยืดอายุการเก็บรักษา ผลิตภัณฑ์ทอดกรอบด้วยน้ำมันมักจะเหม็นหืนเมื่อเก็บไว้ระยะหนึ่ง เนื่องจากน้ำมันที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทำปฏิกิริยากับอากาศเกิดเป็นกลิ่นเหม็นหืนขึ้น ดังนั้น จึงควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันไม่ให้อากาศเข้ามาสัมผัสกับน้ำมันที่ผิวของผลิตภัณฑ์ได้ เช่น พลาสติกลามิเนต โดยอาจมีการอัดก๊าซไนโตรเจนร่วมด้วยก็ได้ หรืออาจใช้การบรรจุแบบสูญญากาศ เป็นต้น

ตอบ 1. บริษัทไอโซตรอน จ.ระยอง 
         2. ศูนย์ปรมณูเพื่อสันติ คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ตอบ เครื่องทดสอบความสุกงอม (DA METER) ที่คุณสนใจนั้น ทางสถาบันอาหารมีข้อมูลเท่าที่แสดงในรายงาน Food Innovation เท่านั้นนะคะ หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมขอความกรุณาติดต่อโดยตรงที่บริษัทผู้ผลิตคือ บริษัท T.R. Turoni จำกัด ประเทศออสเตรเลีย ตาม link นี้นะคะ http://www.trsnc.com/ingl/indexingl.html

ตอบ ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกลไกที่เกิดขึ้นระหว่างการหมักเนื้อหมูโดยใช้สับปะรดก่อน ดังนี้นะคะ
1. การใช้สับปะรดในการหมักเนื้อหมู (โปรตีน) ให้นุ่มได้นั้น เกิดจากการที่เอนไซม์โบรมีเลน (เอนไซม์โปรตีเอสชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติสามารถย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลงได้) ซึ่งมีอยู่ในสับปะรดทำปฏิกิริยาย่อยเนื้อหมู (โปรตีน) ให้มีขนาดเล็กลงจนพันธะต่างๆ ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในเนื้อหมูขาดออกจากกัน ส่งผลให้เนื้อหมูมีลักษณะนุ่ม
2. เอนไซม์โบรมีเลนที่มีอยู่ในสับปะรดนี้ เป็นเอนไซม์ธรรมชาติที่ยังมีชีวิต สามารถทำปฏิกิริยาย่อยเนื้อหมูไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังไม่หยุดปฏิกิริยา อีกทั้งยังมีปริมาณมากน้อยต่างๆ ตามความแตกต่างกันของสับปะรดและวิธีการหมัก

ดังนั้น การจะใช้สับปะรดในการหมักเนื้อหมูให้ได้มาตรฐานเหมือนกันทุกครั้ง คุณนิรันดร์ ต้องกำหนดปัจจัยเกี่ยวข้องต่างได้แก่
1. ปริมาณและสภาพ (สด แช่เย็น) ของเนื้อหมูที่ใช้ในการหมักแต่ละครั้ง การหันเนื้อหมูตามยาวและตามขวางก็ต้องเหมือนกันนะคะ โดยหากมีการหันตามขวางจะทำให้เนื้อนุ่มได้เร็วกว่า
2. ชนิด ความอ่อนแก่ ปริมาณ (น้ำและเนื้อ) และสภาพของสับปะรดที่ใช้ในการหมัก
3. ระยะเวลาในการหมักที่เหมาะสม ซึ่งหากพอเหมาะแล้วควรหยุดปฏิกิริยา โดยการล้างออกหรือวิธีอื่นๆ ตามสมควร

ปัจจุบันมีผู้ผลิตผงหมักเนื้อสำเร็จรูปจากสับปะรดมาจำหน่าย เพื่อความสะดวกในการหมักเนื้อและเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน อาจนำมาทดลองใช้และเปรียบเทียบดูความคุ้มค่าทั้งมาตรฐาน ระยะเวลา และราคาด้วยก็ได้นะคะ

ตอบ วิธีการ Validation เครื่องตรวจจับโลหะ หรือ metal detector นั้น ส่วนใหญ่จะใช้ test piece ขนาดต่างๆ ตามความสามารถของเครื่องที่จะตรวจจับได้ เพื่อวัดว่าเครื่องยังมีความสามารถในการตรวจจับอยู่หรือไม่ โดยอาจอยู่ในช่วง 0.3 inch (7 mm) to 1 inch (25 mm) in length และ 0.08 inch (2 mm) to 0.9 inch (24 mm) long ตามคำแนะนำของ U.S.FDA ก็ได้นะคะ

ตอบ ข้อกำหนด BRC Issue. 5 ไม่สามารถ Download ได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเอกสารที่มีลิขสิทธิต้องสั่งซื้อเท่านั้น หรือติดต่อหน่วยงานที่รับให้คำปรึกษาระบบ จะมีเอกสารชุดนี้ค่ะ

ตอบ มาตรฐานน้ำใช้ของอียู (EU) นั้นสามารถดูรายละเอียดได้จาก EU Council Directive 98/83/EC บนเว็บไซต์ของ europa 
ที่ http://europa.eu.int/eur-lex/en/consleg/pdf/1998/en_1998L0083_do_001.pdf

ตอบ 1.การวิเคราะห์แบบ MPN/g เป็นการทดสอบแบบใช้ multiple tube method คือ ทำการเลี้ยงเชื้อในอาหารแบบเหลว มีการใช้หลายหลอด แล้วมีขั้นตอนการเลี้ยงเชื้อ 2 ขั้นตอน แล้วทำการ streak เชื้อลงอาหารแบบแข็ง แล้ว confirm ด้วย biochem
เมื่อได้ผลทดสอบแล้วมีตาราง ที่ใช้ในการอ่านผลทดสอบ เรียกว่า ตาราง MPN
2.การวิเคราะห์แบบ cfu/g เป็นการทดสอบแบบ direct plating คือการนับจำนวนเชื้อที่เจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง แล้ว confirm ด้วย biochem

ตอบ ซีเควสเตรนท์ เป็นวัตถุเจือปนอาหาร ที่มีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสารที่ช่วยให้สี กลิ่น รส และลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์อาหารคงตัวและได้มาตรฐาน โดยซีเควสเตรนท์จะไปทำปฏิกิริยากับโลหะที่มีอยู่ในอาหารหรือที่ปนเปื้อนมาในวัตถุดิบ ทำให้เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้คุณสมบัติและปฏิกิริยาของโลหะในอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไป

ซีเควสเตรนท์ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายชนิด เป็นซีเควสเตรนท์ที่พบว่ามีอยู่แล้วตามธรรมชาติในอาหาร ตัวอย่างเช่น 
1. กรดโพลีคาร์บอกซีลิก (Polycarboxyliic acids) ได้แก่ กรดออกซาลิก (Oxalic acid) และ กรดซัคซินิก (Succinic acid) เป็นต้น
2. กรดไฮดรอกซิคาร์บอกซีลิก (Hydroxycarboxylic acids) ได้แก่ กรดซิตริก กรดมาลิก และกรดทาร์ทาริก เป็นต้น
3. กรดโพลิฟอสฟอริก (Polyphosphoric acids) ได้แก่ เอทีพี (ATP) เฮกซาเมตาฟอสเฟต และ ไพโรฟอสเฟต เป็นต้น
4. กรดอะมิโน ได้แก่ ไกลซีน (Glycine) และ ซีสตีน (Cystine) เป็นต้น
5. แมคโครโมเลคิว (Macromolecules) ได้แก่ พอร์ไฟริน (Porphyrin) เพบไทด์ (Peptides) และโปรตีน เป็นต้น

ส่วนซีเควสเตรนท์อื่นๆ ที่มีการใช้ในอาหารอีกได้แก่ อีดีทีเอ (EDTA, Ethylene diamine tetraacetate) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมหรือโซเดียมก็ได้ หรือแคลเซียมไฟเทต (Calcium phytate) หรือโซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) เป็นต้น

ตอบ ถ้าบรรจุในกระป๋องอลูมิเนียมซึ่งมีความแข็งแรงของผนังกระป๋องน้อยกว่ากระป๋อง tin plate 
ต้องมีการอัดก๊าซเพื่อไล่อากาศและเสริมความแข็งแรงให้กระป๋องด้วยก๊าซไนโตรเจน
ในขั้นตอนการบรรจุก่อนปิดฝาแล้วเข้าสู่กระบวนการฆ่าเชื้อที่ระดับสเตอริไล:ซ์ 
ซึ่งระหว่างการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูงภายในหม้อฆ่าเชื้อจะมีแรงดันอัดที่เกิดจากไอน้ำภายในหม้อฆ่าเชื้อ
และช่วงที่เปลี่ยนอุณหภูมิจากการ cooling จะมีการเปลี่ยนแปลงแรงดันอีกครั้ง 
หากผนังกระป๋องไม่แข็งแรงที่จะต้านแรงดันเหล่านี้ได้จะทำให้กระป๋องปริ ฉีก หรือบุบได้

ตอบโดย คุณยุวภา ใจบุญ ผู้จัดการแผนกบริการวิศวกรรมอาหาร สถาบันอาหาร

ตอบ มาตรฐานการพิจารณาผลการทำความสะอาดโดยวิธี Swab Test ตามมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีดังนี้คือ 
1. พบจุลินทรีย์มากกว่า 300 โคโลนี / พ.ท. 51.8 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ไม่ผ่าน 
2. พบจุลินทรีย์น้อยกว่า 300 โคโลนี / พ.ท. 51.8 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ใช้ได้ 
3. พบจุลินทรีย์น้อยกว่า 100 โคโลนี / พ.ท. 51.8 ตารางเซนติเมตร ถือว่า ดีเยี่ยม

ตอบ มาตรฐานน้ำใช้ของอียู (EU) นั้นสามารถดูรายละเอียดได้จาก EU Council Directive 98/83/EC บนเว็บไซต์ของ europa
ที่ 
http://europa.eu.int/eur-lex/en/consleg/pdf/1998 /en_1998L0083_do_001.pdf

Other

ตอบ สามารถ download รายชื่อได้จากเว็บไซด์ของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป

ตอบ ในหนังสือเรื่องกฏ ระเบียบ ของ EU เกี่ยวกับวัสดุและสิ่งของที่ใช้สัมผัสอาหาร หน้า 51  Multi layer food contact materials นั้น มีความหมายเช่นเดียวกับ Multi-material Multi-layer ใน  Regulations EU no. 10/2011 page L12/8 ข้อ (5) ถูกต้องคะ

เนื่องจากหนังสือเล่มดังกล่าวจัดทำก่อนการประกาศใช้ระเบียบฉบับใหม่ปี 2011 และยังไม่มีการกำหนดคำนิยามของพลาสติกสัมผัสอาหารไว้

ตอบ ตาม Directive 2000/13/EC การแสดงฉลากของอียู ไม่ต้องระบุชื่อวิทยาศาสตร์

"All species of fish where the fish constitutes an ingredient of another foodstuff and provided that the name and presentation of such foodstuff does not refer to a specific species of fish"

ตอบรายละเอียดของการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการและการแจ้งกระบวนการแปรรูปสำหรับอาหารที่ทำให้เป็นกรดและอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ เพื่อขอรับเลขที่ประจำตัวของสถานประกอบผู้ผลิตอาหารกระป๋อง (Food Canning Establishment: FCE Number) และเลขที่ประจำตัวการส่งแบบฟอร์ม (Submission Identifier: SID Number) สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดทั้งหมด (คำอธิบายและวิธีเขียน) ได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอเมริกา

http://www.cfsan.fda.gov/~comm/lacf-toc.html#inspect 

ทั้งนี้สถาบันอาหารมีบริการให้คำปรึกษาและติดต่อเพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานประกอบการดังกล่าว โดยคุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่แผนกวิจัยและพัฒนา สถาบันอาหาร โทรศัพท์ 02-8868088 ต่อ 2300-2305 ติดต่อคุณสุกัญญา และคุณอุไร

ตอบ ข้อกำหนด BRC Issue. 5 ไม่สามารถ Download ได้ค่ะ เนื่องจากเป็นเอกสารที่มีลิขสิทธิต้องสั่งซื้อเท่านั้น หรือติดต่อหน่วยงานที่รับให้คำปรึกษาระบบ จะมีเอกสารชุดนี้ค่ะ

Trade & Market

ทางสถาบันอาหารได้ทำการตรวจสอบข้อมูลแล้วคะ ผลที่ได้คือ

ข้อมูลถูกต้องคะ โดยทางเราอ้างอิงข้อมูลจาก : Euromonitor International, February 2016 Tea IN THAILAND. 
      ซึ่งมูลค่าตลาดของปี 2557 เท่ากับ 2,625.6 ล้านบาท และในปี 2558 เท่ากับ 2,742.5 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นจากปี 2557 อยู่ 4.5% และในการแบ่งกลุ่มประเภทชาของทั้ง 2 ปีมีการแบ่งกลุ่มที่เหมือนกันคะ ทางเราใช้ตัวเลขของทุกประเภทชารวมกัน จะได้เป็นมูลค่าตลาดรวมของตลาดชาคะ
      ส่วนประเด็นที่ว่า ส่วนแบ่งในแต่ละยี่ห้อใน Pie Chart มีมูลค่าลดลงทุกตัว มีสาเหตุมาจาก ตลาดชามีการเติบโต โดยมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาเล่นในตลาดนี้เพิ่มมากขึ้น สามารถดูได้จากตัวเลขส่วนแบ่งของยี่ห้ออื่นๆ(ซึ่งเป็นผู้เล่นรายเล็กๆ)เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว จึงสามารถสรุปได้ว่า ยี่ห้อใน Pie Chart ซึ่งเป็นผู้เล่นรายใหญ่และเป็นผู้นำในตลาดชา โดนแย่งส่วนแบ่งตลาดจากผู้เล่นรายเล็กที่เข้ามาใหม่ จึงส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของผู้นำตลาดมีสัดส่วนที่ลดลงคะ 
 
หากลูกค้าสงสัยข้อมูลส่วนไหนเพิ่มเติม สามารถโทรสอบถามได้นะคะ ทางเรายินดีให้บริการคะ และต้องขอขอบคุณลูกค้าเป็นอย่างที่ให้ความสนใจในส่วนแบ่งการตลาดชุดนี้

ความหมายของตลาดวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น ได้รวมถึงผลิตภัณฑ์ ดังนี้

          1.1 vitamins

-      Multivitamins

-      Single Vitamins ได้แก่ Vitamin A, Vitamin B, Vitamin C, Vitamin D, Vitamin E และ Single Vitamins อื่นๆ

          1.2 Dietary Supplements

-      Combination Dietary Supplements

-      Herbal/Traditional Dietary Supplements

-      Combination Herbal/Traditional Dietary Supplements

-      Echinacea

-      Evening Primrose Oil

-      Garlic

-      Ginkgo Biloba

-      Ginseng

-      St John's Wort

-      Other Herbal/Traditional Dietary Supplements

-      Non-Herbal/Traditional Dietary Supplements

-      Co-Enzyme Q10

-      Combination Non-Herbal/Traditional Dietary Supplements

-      Eye Health Supplements

-      Fish Oils/Omega Fatty Acids

-      Glucosamine

-      Minerals

-      Probiotic Supplements

-      Protein Supplements

-      Other Non-Herbal/Traditional Dietary Supplements

1.3 Paediatric Vitamins and Dietary Supplements

1.4 Tonics and Bottled Nutritive Drinks

1.5 Supplement Nutrition Drinks

ส่วนมูลค่าตลาดนั้น ทางเรานำข้อมูลมาจาก Euromonitor คะ ซึ่งถ้าหากลูกค้าต้องการเอกสารอ้างอิงฉบับเต็ม ลูกค้าสามารถสมัครเป็นสมาชิกของ Food Intelligence Center ของทางสถาบันอาหารได้คะ

 

ตอบ

ข้อมูลสถิติการค้าของไทย สามารถเข้าถึงได้ที่ เว็บด้านล่าง สามารถเรียกดูได้ย้อนหลัง แบบรายเดือน และรายปี
ในหลายรูปแบบค่ะ  ให้เลือกจากช่องซ้ายมือ ล่างสุด
 

http://www2.ops3.moc.go.th/

ตอบ นิยามอาหารกลุ่ม Health and Wellness ค่ะ

 
1. Naturally Healthy  อาหารจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยมาก เน้นถึงคุณค่าของสารอาหารที่ได้จากธรรมชาติที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ
 
2. Fortifield / Functional  อาหารฟังก์ชั่นนัล  เป็นอาหารที่มีการเพิ่มหรือเติมคุณประโยชน์เข้าไปในอาหารให้มากยิ่งขึ้น
 
3. Better For You อาหารที่ดีสำหรับผู้บริโภค  เป็นอาหารที่มีการลดปริมาณของสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพในขั้นตอนการผลิต เช่น เกลือ น้ำตาล ไขมัน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับผู้บริโค ในขณะที่ยังสามารถคงรสชาติ และรูปลักษณ์ของอาหารไว้ได้ เช่นเดิม
 
4. Organic  อาหารอินทรีย์  เป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการตามหลักการเกษตรอินทรีย์ เน้นถึงการปราศจากสารเคมี
 
5. Food Intolerance อาหารสำหรับผู้รับสารอาหารบางชนิดไม่ได้  เช่น อาหารปราศจากกลูเตน  อาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
 
ประมาณการณ์มูลค่าตลาดในประเทศไทย ปี 2556
 
Fortified / Functional  95,200 ล้านบาท
Naturally Healthy       46,000 ล้านบาท
Better for you            14,900 ล้านบาท
Food Intolerance            600 ล้านบาท
Organic                         350 ล้านบาท
 
อ้างอิง Euromonitor Internatinal, 2013

ตอบ ข้อมูลตลาดไวน์และแชมเปญ

Sales of Wine by Category : Total Volume 2007-2013 
    Unit :1,000 litres  
  2012 2013*  
Champagne 130.9 130.4  
Red Wine 11,005.6 12,474.2  
Rose' Wine 40.2 42.6  
White Wine 2,526.3 2,704.5  
       
* ข้อมูล 2013 เป็นข้อมูลคาดการณ์ค่ะ  
ที่มา Euromonitor International, 2013  
       
Sales of Wine by Category : Total Value 2007-2013 
    Unit : Bt million  
  2012 2013*  
Champagne 1,368.5 1,381.9  
Red Wine 11,487.5 13,011.8  
Rose' Wine 34.8 36.9  
White Wine 3,813.3 4,088.6  
       
* ข้อมูล 2013 เป็นข้อมูลคาดการณ์ค่ะ  
ที่มา Euromonitor International, 2013

ตอบ แนะนำให้เข้าไปดูงานวิจัย Benchmarking อุตสาหกรรมซูริมิใน ฐานงานวิจัยของ FIC ตาม link นี้ค่ะ ซึ่งจะมีข้อมูลพื้นฐานอุตสาหกรรมอยู่ค่ะ ส่วนตัวเลขราคาทางเราไม่ได้รวบรวมไว้ อาจจะต้องรบกวนให้ติดต่อขอข้อมูลไปที่สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ค่ะ ส่วนสถิติการส่งออกนำเข้าของไทยสามารถ upadate ได้จากฐานสถิติของ FIC ค่ะ

http://fic.nfi.or.th/index.php/research/nfi-research/823-2011-12-25-12-33-38

ตอบ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารขอให้ข้อมูลตามที่สอบถาม ดังนี้ค่ะ

1. มูลค่าตลาดค้าปลีกปลา/อาหารทะเล กระป๋อง ในประเทศไทยปี 2554 อยู่ที่ 4,818.8 ล้านบาท
2. ส่วนแบ่งทางการตลาดปลา/อาหารทะเล กระป๋องของแต่ละยี่ห้อ (Market Share) ในปี 2553 (ข้อมูลล่าสุด)
อันดับ 1 Hi-Q ร้อยละ 27.6 
อันดับ 2 Royal Food ร้อยละ 20.6
3. อัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดปลา/อาหารทะเลกระป๋อง ปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ตอบ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ขอให้ข้อมูลเท่าที่ศูนย์ฯ มีข้อมูล ดังนี้ค่ะ

มูลค่าตลาดผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง (Naturally Healthy Soy Product) ปี 2553 อยู่ที่ 11,660.9 ล้านบาท 

สำหรับมูลค่าตลาดเต้าหู้ ทางศูนย์ฯ ยังไม่มีการจัดเก็บสถิติในรายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไว้ค่ะ (แต่มีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างไรนั้นหากมีความจำเป็นในข้อมูลดังกล่าว สามารถขอรับบริการจัดทำข้อมูลตามความต้องการของลูกค้า (Make to order) โดยสามารถติดต่อสอบถาม และ/หรือขอรับบริการศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ได้ที่ "คุณดุจเดือน บุญสม" โทร. 02-8868088 ต่อ 3121

ตอบ ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร ขอให้ข้อมูลตามที่สอบถามมาดังนี้ค่ะ

 1. ปี 2553 มูลค่ารวมของตลาดประมาณการณ์อยู่ที่ 667 พันล้านบาท
 2. อัตราการเติบโตขยายตัวในปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีก่อน
 3. จำนวนร้านในปี 2553 มีประมาณ 128,000 ร้าน โดย "ร้านอาหารริมทาง" มีจำนวนเป็นอันดับ 1

ตอบ

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหารขอให้ข้อมูล "ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แช่แข็งในประเทศไทย" ดังนี้ค่ะ

1. อัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดฯ ปี 2554 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน

2. มูลค่าตลาดเบเกอรี่แช่แข็งในประเทศไทย ปี 2554 อยู่ที่ 410.6 ล้านบาท

ตอบ สินค้าตาม Post market หมายถึง สินค้าที่ออกสู่ตลาดหรือวางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว คำนี้ใช้ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้แก่
 - ระบบ Pre market เป็นระบบก่อนออกสู่ตลาด : ซึ่งหมายถึงสินค้าต้องมีการยื่นขออนุญาตสถานที่ผลิต ขอแสดงฉลาก  ฯลฯ ก่อนวางจำหน่ายได้ 
- ระบบ Post market เป็นระบบตรวจติดตามสินค้าหลังอนุญาตให้วางจำหน่ายแล้ว เช่น การสุ่มตรวจคุณภาพ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

ตอบ

1. ตลาดอาหารเสริม (Vitamins &  Dietary supplements) ในประเทศไทย

ปี 2554 มูลค่าตลาดค้าปลีกอยู่ที่ 33 พันล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

2. ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้บริโภค (Health & Wellness food )ในประเทศไทย

ปี 2554 มูลค่าตลาดค้าปลีกอยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ตอบ

1. อาหารแปรรูปแช่เย็น

- มูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศไทย ปี 2554 คือ 1,725 ล้านบาท

- ส่วนแบ่งตลาด 3 อันดับแรก ในปี 2553 ได้แก่ 1) CP ร้อยละ 39.9  2) TGM 24.7  และ 3) Belucky  ร้อยละ 16.8 ของมูลค่าค้าปลีกอาหารแปรรูปแช่เย็นในประเทศทั้งหมด

2. อาหารแปรรูปแช่แข็ง

- มูลค่าตลาดค้าปลีกในประเทศไทย ปี 2554 คือ 11,205 ล้านบาท

- ส่วนแบ่งตลาด ปี 2553 ของผู้นำตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) Ezy Go ร้อยละ 13.3   2)  S&P ร้อยละ 12.8 และ 3) สุรพล ร้อยละ 11.9 ของมูลค่าค้าปลีกอาหารแปรรูปแช่แข็งในประเทศทั้งหมด

หมายเหตุ : ส่วนแบ่งตลาดฯ ข้อมูลล่าสุดที่มีจะเป็นปี 2553 ค่ะ

ตอบ

ส่วนแบ่งทางการตลาดของน้ำดื่มแต่ละยี่ห้อในปี 2554  (สถาบันอาหารมีข้อมูลล่าสุดถึงปี 2554 เท่านั้นค่ะ)

อันดับ 1 น้ำดื่มสิงห์ ของ บ.บุญรอด ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.8 ของมูลค่าค่าปลีกน้ำดื่มบรรจุขวดทั้งหมด

อันดับ 2 น้ำดื่มคริสตัล ของ บ.เสริมสุข ร้อยละ 13.1

อันดับ 3 น้ำดื่มเนสเล่ ของ บ.เนสเล่ (ไทย) ร้อยละ 10.3

อันดับ 4 น้ำดื่มไทยน้ำทิพย์ ของ บ.ไทยเพียว ร้อยละ 9.6

อันดับ 5 น้ำดื่มมิเน่เร่ ของ บ.เนสเล่ ร้อยละ 7

ตอบ ตามกฎหมายประเทศสิงคโปร์ (Food Regulation 2005) สี Ponceau 4R ต้องใช้ตามปริมาณและชนิดอาหารตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากไม่ได้อนุญาตสำหรับใช้กับอาหารทุกชนิด

ตอบ การนำเข้า casing หากเป็นไส้ธรรมชาติต้องติดต่อขออนุญาตที่กรมปศุสัตว์ ปัจจุบันไม่อนุญาตให้นำเข้าไส้สดจากประเทศจีนค่ะ
สำหรับไส้เทียมขออนุญาตนำเข้าผ่านระบบของ อย. โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์

http://www2.fda.moph.go.th/consumer/step/st_index.htm

ตอบ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แบ่งอุตสาหกรรมอาหารออกเป็น 12 ประเภท ดังนี้คือ 
1. เนื้อและผลิตภัณฑ์ 
2. ผลิตภัณฑ์ประมง 
3. ผักและผลไม้ 
4. ธัญพืชและผลิตภัณฑ์ 
5. นมและผลิตภัณฑ์ 
6. น้ำตาลและขนมหวาน 
7. เครื่องเทศ เครื่องปรุงรส 
8. เครื่องดื่ม 
9. ชา กาแฟ โกโก้ 
10. น้ำมันและไขมัน 
11. อาหารสัตว์ 
12. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอื่นๆ

ตอบ GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุม เพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามและทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงใด ๆ ที่จะทำให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตรายหรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยครอบคลุมปัจจัยทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่โครงสร้างอาคารขั้นพื้นฐาน ระบบการผลิตที่ดี กระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุม บันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างมั่นใจ และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย 

ข้อกำหนด GMP ที่จะเป็นเกณฑ์บังคับใช้เป็นการปรับปรุงระบบการควบคุมความปลอดภัยที่ผู้ผลิตอาหารจะต้องปฏิบัติตาม โดยจะต้องดำเนินการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมในโรงงานผลิต การปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาล หลักสุขอนามัยและความสะอาดทั้งในการผลิต และบุคลากรในสายงานผลิตด้วย โดยให้ตระหนักถึงความสะอาด ปลอดภัย มีระเบียบวินัยเพื่อสร้างสุขลักษณะที่ดีในการผลิตเป็นสำคัญ วิธีการผลิตอาหารจะต้องมีการกำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนั้นผู้ผลิตจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 
2. เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิต 
3. การควบคุมกระบวนการผลิต
4. การสุขาภิบาล
5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
6. บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน

ตอบ HACCP หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point คือ ระบบการจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัย ซึ่งใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต ให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ อาทิ เศษแก้ว โลหะ เป็นต้น ปัจจุบัน HACCP ถือเป็นมาตรการสากล ที่ใช้สร้างความมั่นใจ ในอุตสาหกรรมอาหารทั้งโดยผู้ผลิตและผู้บริโภค และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โครงการมาตรฐานอาหาร FAO / WHO (Codex Alimentarius Commission) จึงได้จัดทำข้อกำหนดหลักการของระบบ HACCP และข้อแนะนำในการนำไปใช้ เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ได้นำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร และประเทศไทยได้นำมาประกาศใช้ในประเทศแล้ว 

ระบบ HACCP มีหลักการ 7 ข้อที่ต้องปฏิบัติตามที่ระบุในมาตรฐานระหว่างประเทศ และประเทศสมาชิกได้ยึดถือ เป็นแนวทางประยุกต์ใช้ โดยสอดคล้องกันทั่วโลก ดังนี้ 
1. ดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (Conduct a hazard analysis) 
2. หาจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Determine the Critical Control Points (CCPs)) 
3. กำหนดค่าวิกฤต (Establish critical Limit (s)) 
4. กำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Establish a system to monitor control of the CCP) 
5. กำหนดวิธีการแก้ไข เมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่ง ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Establish the corrective action to be taken when monitoring indicates that particular CCP is not under control) 
6. กำหนดวิธีการทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบ HACCP (Establish procedures for verification to confirm that the HACCP system is working effectively) 
7. กำหนดวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามหลักการเหล่านี้และการประยุกต์ใช้ (Establish documentation concerning all procedures and records appropriate to these principles and their application)

มาตรฐาน HACCP เป็นมาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์อาหาร ที่ครอบคลุมตั้งแต่วัตถุดิบ เครื่องปรุง การผลิต การเก็บรักษา การส่งมอบ และการใช้ผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นให้องค์กร มีการกำหนดมาตรการควบคุมดูแลกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหา ที่มีผลกระทบ ต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในการพิจารณาระบบ HACCP มีขั้นตอนที่โรงงานจะต้องจัดทำหลักดังต่อไปนี้ 

ขั้นตอนที่ 1.
ศึกษามาตรฐาน ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหารและคำแนะนำในการนำไปใช้ของ Codex ตาม มอก.7000-2540 Annex to CAC/RCP-1 (1969) Rev. 3 (1997) หรือประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือมาตรฐานระบบ HACCP ของประเทศคู่ค้า 

ขั้นตอนที่ 2.
ประชุมฝ่ายบริหาร เพื่อขอการสนับสนุนในการจัดทำระบบ HACCP จัดตั้งทีมงานจัดทำระบบ HACCP และควบคุมดูแลให้เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ 

ขั้นตอนที่ 3.
เลือกผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาจัดทำระบบ HACCP จัดทำรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติตามหลักการระบบ HACCP ตรวจพิสูจน์แผน HACCP ที่จัดทำขึ้นก่อนนำไปปฏิบัติ และลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้กำหนดและตรวจพิสูจน์แล้ว 

ขั้นตอนที่ 4.
ทำการทวนสอบระบบ เพื่อตรวจสอบว่าระบบเป็นไปตามแผน และข้อกำหนดตามมาตรฐานโดยได้มีการปฏิบัติ และคงรักษาระบบอย่างเหมาะสม แก้ไขข้อบกพร่องที่มาจากการตรวจติดตามภายใน และปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

ขั้นตอนที่ 5.
ติดต่อหน่วยงานที่ให้การรับรอง และยื่นคำขอ

ตอบ IFS (International Food Standard) เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มผู้ค้าปลีกในประเทศเยอรมนีและฝรั่งเศส ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจติดตามและควบคุมการผลิตอาหารให้ได้คุณภาพด้านความปลอดภัย โดยตัวมาตรฐานครอบคลุม 5 เรื่อง ได้แก่ 
1. ระบบบริหารคุณภาพ (Management of the Quality System) 
2. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management Responsibility) 
3. การจัดการด้านทรัพยากรบุคคล (Resource Management) 
4. กระบวนการที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (Product Realisation) 
5. การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Measurements, Analyses and Improvements)

Law & Regulation

เรียนลูกค้าสมาชิก FIC
 
ฐานของมูล law and safety ไม่ได้ update รายประเทศสมาชิกอียู จึงไม่มีกฎหมายฉบับนี้ในฐานข้อมูลค่ะ 
มีเอกสารในไฟล์แนบอาจพอใช้เป็นข้อมูลได้ค่ะ
 
Mar 29, 2017, 11:52 AM

เรียนคุณจริยา
 
1.มอก.16-2536 สถาบันอาหารจะเผยแพร่เฉพาะฉบับย่อซึ่งรายละเอียดจะไม่ครบถ้วนเหมือฉบับเต็มที่ สมอ.จัดทำเนื่องจากเป็นเอกสารจำหน่าย อาจต้องสั่งซื้อที่ สมอ.ค่ะ
 
2.ส่วน JISG 3303 : 2008 ของญี่ปุ่น ไม่มีฉบับภาษาอังกฤษหรือไทย (เอกสารจำหน่ายในเว็บไซต์ JIS)
 
3. Migration limit ของภาชนะบรรจุ ของไทย มีกำหนดเฉพาะภาชนะพลาสติก ส่วนโลหะหนักกำหนดเป็นปริมาณโลหะตกค้าง เช่น ดีบุก 
Mar 29, 2017, 11:38 AM

Dear Khun Massuree
 
 
กรณีที่มีการเติมวิตามินเป็น nutrients ไม่ได้จำกัดปริมาณแต่ต้อง declare บนฉลากตาม National Food Safety Standard for Nutrition Labeling of Prepackaged Foods (มีในฐานข้อมูล FIC)
 
ทั้งนี้ ชื่อสินค้า ควรระบุว่า soy milk beverage เพราะมีการเติมสารอาหารเพิ่มไม่ใช่นมถั่วเหลืองแท้
 
ซึ่งเครื่องดื่มจากถั่วเหลืองมีมาตรฐานเฉพาะ คือ GB/T 30885-2014 Plant Protein Beverage – Soymilk and Soymilk Beverage และ เพิ่มเติมใน National Food Safety Standards Hygienic Standard for Vegetable Protein Beverage Soybean milk beverage (ไม่มีในฐานข้อมูล FIC) 
 
Mar 29, 2017, 10:34 AM

Dear Khun Thanthachanan
 
กรณีเกลือไอโอดีนสามารถใส่ได้ตามมาตรฐานโคเด็กซ์ทั้งอียูและสหรัฐฯค่ะ
ส่วน anti-cracking หากใส่เป็นวัตถุเจือปนอาหารควรตรวจสอบปริมาณการใช้ตามข้อกำหนดของทั้ง 2 ประเทศด้วยนะคะ
Mar 17, 2017, 9:07 AM

เรียนคุณพิศัลย์
 
ตามที่ได้แจ้งทางโทรศัพท์ว่าแคนาดาไม่มีมาตรฐานเฉพาะสำหรับสินค้าน้ำพริกเผา การส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ที่อาจมีข้อกังวลเรื่องเชื้อจุลินทรีย์ เพราะเป็นสินค้า Ready-to-eat หรือ RTE มีข้อมูลในเว็บไซต์ของ CFIA 
 
หากน้ำพริกเผาเป็น RTE  อาจมีความเสี่ยงจากจุลลินทรีย์ Listeria ได้ 
ดังนั้น แนะนำให้ตรวจวิเคราะห์เชื้อนี้ และค่า pH และ Aw ของสินค้า เพื่อใช้แนบประกอบการนำเข้าสำหรับสินค้าที่เป็น low acid food ที่ไม่ได้ผ่าน retort หรือฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูง
 
Mar 16, 2017, 11:45 AM

เรียนคุณธัญยธรณ์
 
สำหรับรายละเอียดของมาตรฐานอาหาร ตามที่สอบถามมานั้นขอตอบดังนี้ค่ะ
เนื่องจากมาตรฐานอาหารของไทยมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 
1. อย. กระทรวงสาธารณสุข 
2. กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิลาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ 
3. สมอ. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน) กระทรวงอุตสาหกรรม
มาตรฐานที่ควรมีขึ้นอยู่กับชนิดสินค้าอาหาร และความต้องการจัดทำมาตรฐาน (เฉพาะ มอก. และ มผช.เพรามีทั้งมาตรฐานบังคับและมาตรฐานสมัครใจ)
ส่วนกรณีส่งออก มาตรฐานจะขึ้นอยู่กับกฎหมายและระเบียบของประเทศผู้นำเข้า ซึ่งจะประเมินและกำหนดตามความเสี่ยงของอาหาร
 
ทั้งนี้ มาตรฐานอาจหมายถึงได้ทั้งมาตรฐานสินค้าและมาตรฐานระบบ มาตรฐานที่จำเป็นต้องมีจึงต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นมาตรฐานแบบใด และสินค้าใด
 
หมายเหตุ: 
มาตรฐานระบบ ได้แก่ GMP, HACCP, BRC, ISO
มาตรฐานสินค้า เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำปลา, ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ช็อคโกแลต เป็นต้น
 
การตรวจวิเคราะห์อาหาร
สามารถติดต่อได้ที่ แผนกบริการลูกค้า ฝ่ายบริการลูกค้าและระบบคุณภาพ 
โทรศัพท์ 0-2886-8088 ต่อ 5300-5304
โดยแผนกฯ จะแจ้งรายละเอียดการส่งตัวอย่าง เช่น จำนวนตัวอย่าง ช่องทางการส่ง, รายการทดสอบ และ ผลทดสอบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดสินค้าที่จะนำมาตรวจสอบและการนำไปใช้ ผลการทั้งนี้ ผลทดสอบไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นการผ่านการเกณฑ์แต่จะเป็นการวิเคราะห์ทดสอบตามกฎหมาย ด้วยวิธีมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ ว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ 
 
การบริการวิศวกรรมอาหาร 
สามารถติดต่อได้ที่ แผนกบริการวิศวกรรมอาหาร ฝ่ายบริการที่ปรึกษาอุตสาหกรรม
โทรศัพท์ 0-2886-8088 ต่อ 2302-2307
แผนกฯ ให้บริการการศึกษาการกระจายความร้อนในเครื่องฆ่าเชื้อ (Temperature Distribution Study, TD), การแทรกผ่านความร้อน (Heat penetration Study HP), บริการรับรองกระบวนการผลิตระบบปลอดเชื้อ (Aseptic  Process), การขึ้นทะเบียนกระบวนการผลิตเพื่อส่งสินค้าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา (FCE, SID, FDA No.) และบริการออกแบบสายการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อพร้อมแนะนำเครื่องจักรที่ต้องติดตั้ง เป็นต้น ตามมาตรฐานสากล
 
 
สามารถดูรายละเอียดบริการของสถาบันอาหารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nfi.or.th/index.php หัวข้อ บริการ NFI นะคะ
 
Mar 2, 2017, 4:59 PM

เรียนคุณหทัยชนก
 
บรูไนมีกฎหมายอาหาร PUBLIC HEALTH (FOOD) ACT (CHAPTER 182)
PUBLIC HEALTH (FOOD) REGULATIONS  S 80/00 ที่ มกอช. จัดทำไว้ตามลิงค์นี้ค่ะ
 
ข้อกำหนดด้านจุลินทรีย์อยู่ใน SIXTEENTH SCHEDULE MICROBIOLOGICAL STANDARD FOR FOOD
Mar 2, 2017, 12:35 PM

เรียนคุณธนพร
 
ตัว Yeast extract  ไม่มีการกำหนด standard เพราะนำมาใช้เป็น ingredient จะมี specifications เฉพาะที่ได้จากผู้ผลิตเท่านั้น กรณีมีการนำเข้าใช้สเปคนั้นประกอบการยื่นขออนุญาตเช่นกันค่ะ
 
ขอแสดงความนับถือ
อรอนงค์ มหัคฆพงศ์
 
Feb 21, 2017, 11:11 AM

เรียนคุณธัญญ์ธัชนันท์
 
โดยทั่วไปทดสอบ Migration test ทำเป็นกลุ่มๆ สารไม่ได้หาแต่ละชนิดสารค่ะ
 
ขอแสดงความนับถือ
อรอนงค์ มหัคฆพงศ์
ผู้เชี่ยวชาญ
ฝ่ายวิจัยและข้อมูล
 
Feb 20, 2017, 12:36 PM

เรียนคุณศิวะพร
 
ดูรายละเอียดจาก Listing of Dairy License Recipients Under Regulation 1 เป็นไฟล์เอกเซลรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตจาก USDA
 
ในเว็บไซต์นี้ค่ะ https://www.fas.usda.gov/programs/dairy-import-licensing-program
 
Feb 18, 2017, 2:43 PM

เรียนคุณศิวะพร
 
ข้อกำหนดการระบุน้ำหนักสินค้า ตามกฎหมายไทยคือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 367 และ ประกาศสำนักงานอาหารและยา เรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ  
มีวิธีการแสดงน้ำหนักและขนากตัวอักษร
 
นอกจากนี้ ในประเทศไทยมีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง  กำหนดชนิดของสินค้าหีบห่อ หลักเกณฑ์และวิธีการแสดงปริมาณของสินค้า และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ. 2550 และ บัญชี 1 และ บัญชี 2 ท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง  กำหนดชนิดของสินค้าหีบห่อ  หลักเกณฑ์และวิธีการแสดงปริมาณของสินค้า และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ. 2550 
โดยบัญชี 1 กำหนดชนิดสินค้า (รวมแครกเกอร์) และ บัญชี 2 กำหนดค่าบวกลบของน้ำหนักหรืออัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้สำหรับตรวจสอบจากกรมการค้าภายในด้วยค่ะ
(dowload เอกสารกระทรวงพาณิชย์จากที่นี่ http://law.dit.go.th/SearchResultSub_2UI.aspx?DocID=2281&DocParentID=2204)
 
 
​ในส่วนของนิวซีแลนด์ ดูที่ Food standard code  ในเว็บ FSANZ ​หรือใน guide ฉบับนี้ค่ะ
 
Feb 15, 2017, 10:56 AM

เรียนคุณอุษา
 
เนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิก EU ใช้กฎหมายอียูได้ค่ะ เรื่องฉลากคือ EU Regulation 1169/2011 ส่วนรายละเอียดเฉพาะของประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น ยังไม่มีการรวบรวมไว้
ทั้งนี้ หน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัยอาหารของเนเธอร์แลนด์คือ Natherland Food and Consumer Products Safety Authorities (NVWA) นะคะ
https://english.nvwa.nl/  (ข้อมูลอาจเป็นภาษาดัชต์ค่ะ)
Feb 9, 2017, 2:48 PM

เรียนลูกค้าสมาชิก FIC
 
ตามระเบียน EU Regulation 1169/2011 Annex II
SUBSTANCES OR PRODUCTS CAUSING ALLERGIES OR INTOLERANCES
กำหนดเฉพาะ Celery and products thereof ไม่รวมพืชชนิดอื่นแม้ว่าจะอยู่ในวงค์เดียวกันค่ะ

Feb 7, 2017, 1:49 PM

เรียนลูกค้าสมาชิก FIC
 
1. สำหรับอาหารที่ไม่จำหน่ายโดยตรงกับผู้บริโภค ไม่จำเป็นต้องขอเลข อย. ค่ะ
2. ค่า GDA เป็นการคำนวณสารอาหารที่ได้จากการบริโภคในครั้งเดียวภายในหีบห่อนั้นๆ ค่าจึงเกิน 100% ได้ค่ะ อย. จึงให้มีจำนวนครั้งที่ควรแบ่งกินระบุไว้ด้วย

Feb 1, 2017, 1:40 PM

เรียนคุณอมรรัตน์
 
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 299 [http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P299.pdf]
กำหนดให้อาหารทุกชนิดมีมาตรฐาน โดยตรวจไม่พบการปนเปื้อนสารเคมี
ดังต่อไปนี้
(1) คลอแรมเฟนิคอลและเกลือของสารนี้ (Chloramphenicol and its salts)
(2) ไนโทรฟูวราโซนและเกลือของสารนี้ (Nitrofurazone and its salts)
(3) ไนโทรฟูวแรนโทอินและเกลือของสารนี้ (Nitrofurantoin and its salts)
(4) ฟูวราโซลิโดนและเกลอของสารนี้ (Furazolidone and its salts) 
(5) ฟูวแรลทาโดนและเกลือของสารนี้ (Furaltadone and its salts) 
(6) มาลาไคตท์กรีน และเกลือของสารนี้(Malachite Green and its salts)
สารเคมีตาม (1)(2)(3)(4)(5) และ (6) ให้รวมถึงสารในกระบวนการสร้างและสลาย
(metabolites) ของสารดังกล่าวด้วย” 
 
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 303 เรื่องอาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ [http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P303.pdf
 
สำหรับข้อมูลยาสัตว์ของกรมประมงดูรายละเอียดจากเว็บไซต์นี้ค่ะ
Jan 30, 2017, 5:15 PM

1) ก.ม.EU จะclaim เกี่ยวกับTrans fat และCholesterol เช่น คำว่า “Trans Fat Free”, “Cholesterol Free” ได้หรือไม่? เพราะหาในก.ม.EUแล้ว ไม่เจอใน list ที่ก.ม. EU อนุญาตให้ claim
- ตามที่แจ้งไว้ว่า ณ ตอนนี้ทั้ง Trans Fatty acid และ Cholesterol ยังเป็นการ Claims แบบ voluntary เท่านั้น จึงยังไม่มีกฎหมายให้อ้างอิงได้
 
2) ถ้าต้องการจะใส่ค่า(เช่น … g) ของ Trans fat และค่า Cholesterol ลงบน Nutrition Facts ของ EU จะทำได้หรือไม่?
- การแสดงปริมาณเป็นกรัมทำได้โดยแสดงไว้เป็นข้อความด้านนอก Nutrition Information
 
3) ถ้าทำได้ ต้องใส่ค่า Trans fat และค่า Cholesterol ลงบนตำแหน่งไหน ของ Nutrition Facts ของ EU?
- ไม่แนะนำให้แสดงไว้ในฉลากโภชนาการ หรือ Nutrition Information เพราะส่วนนี้มีข้อมูลบังคับไว้แล้วว่าต้องแสดงสารอาหารอะไรบ้าง ซึ่งไม่รวมถึงทั้ง trans fatty acid และ cholesterol 
 
4) รบกวนให้ตัวอย่าง Nutrition Facts และกฎการปัดค่า Rounding Rules มาก็ได้ค่ะ เพราะจะไปใส่ค่าทั้ง per 100g และ per serving size 30g
- ตัวอย่างมีอยู่ใน Annex XV ของ Regulation 1169/2011 ส่วนการปัด หรือ rounding นั้นมีคำแนะนำไว้ในเอกสารฉบับนี้ค่ะ 

1.สามารถใส่คำว่า “Trans fat free” ลงบนฉลากสำหรับ EU ได้หรือไม่?
- ข้อมูล ณ เดือนสิงหาคม 2559 ยังถือว่าการแสดงข้อมูลว่า "Trans Fat Free" เป็นข้อมูลแบบสมัครใจ ซึ่งจะแสดงหรือไม่ก็ได้
 
2.ถ้า ใส่ได้ สินค้านั้นต้องตรวจวิเคราะห์ค่า Trans fat แล้วมีค่าไม่เกินเท่าไร ? ในหนังสือบอกว่า Trans fat ต่ำกว่า 2g  ต่อ 100g ของ total fat? หรือว่า ต่อ 100g ของอาหารนั้นๆคะ?
- หมายถึงปริมาณ Trans fatty acid (TFA) น้อยกว่า 2 กรัม ต่อ ไขมัน 100 กรัม (contain less than 2 g TFA/100 g fat)
 
3.ประเทศไหนบ้างใน EU ที่ยอมให้ใส่คำว่า “Trans fat free”?
- เฉพาะประเทศ Sweden, Croatia, Poland, Bulgaria and Slovenia และประเทศอื่นๆ นอกสหภาพยุโรป คือ Serbia, Montenegro, Yugoslav, Republic of Macedonia, Bosnia-Hercegovina
 
4.ขอดูก.ม.ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้อ้างอิงค่ะ
- ไม่มีกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับการ Claim  ของสารนี้ เพราะการแสดงข้อมูลของอาหารจะอ้างอิงถึง Regulation 1169/2011 ซึ่งเป็นระเบียบที่ระบุข้อมูลบังคับบนฉลากอาหาร ข้อมูลที่นอกเหนือจากข้อมูลบังคับถือว่าเป็น Voluntary ที่สามารถแสดงได้ ส่วนหลักเกณฑ์ที่ว่า Trans fatty acid (TFA) ต้องน้อยกว่า 2 กรัม ต่อ ไขมัน 100 กรัม นั้นมาจากเอกสารฉบับนี้ค่ะ http://ec.europa.eu/food/safety/docs/fs_labelling-nutrition_trans-fats-report_en.pdf

รายละเอียดของ QUID มีอยู่ในเว็บไซต์นี้นะคะ ซึ่งทั้ง 2 ฉบับยังคงใช้ได้อยู่
 
ณ ปัจจุบันที่อังกฤษยังคงเป็นสมาชิก EU กฎหมายนี้ยังมีผลบังคับใช้ครอบคลุมอยู่ค่ะ

โลโก้ที่จะแสดงบนฉลากจะเปรียบเสมือนการ Claims ซึ่งต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ หรือผลวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้ เพื่อการตรวจสอบโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กรณีร้องขอ) หรือเพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค
โดยที่
1. การกล่าวอ้าง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การกล่าวอ้างตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศกำหนดไว้ 
2. ข้อความที่ใช้ รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์ ต้องเป็นรูปแบบที่กำหนด (ถ้ามี) เช่น "Gluten-free" หรือ "GMO free" หรือ "Trans fat free" การเขียนที่ต่างออกไปหรือการใช้ข้อความที่ต่างออกไปอาจผิดกฎหมายได้
3. กฎหมายที่เกี่ยวกับการ claims อาจดูในเรื่องการแสดงฉลาก หรือบางประเทศจะมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วย การกล่าวอ้าง
4. การ claim ที่ต้องขออนุญาต เช่น Organic (ต้องมีหลักฐานการรับรอง) ส่วน "Vegan" และ "Vegetarian" สามารถระบุได้เลยบนฉลาก แต่มีสัญลักษณ์สากลของ Vegetarian (ตามไฟล์แนบ) ที่เป็นกฎหมายของบางประเทศ เช่น อินเดีย ส่วนอาหารเจ ที่เป็นภาษาจีน สามารถระบุได้เลย 

อียูมี REGULATION (EC) No 2073/2005 on microbiological criteria for foodstuffs
ซึ่งเป็นการกำหนดเกณฑ์จุลินทรีย์ในอาหารสำหรับอาหารที่มีความเสี่ยงต่อจุลินทรีย์บางชนิด
ใน Annex I Chapter 1. Food safety criteria  ข้อ 1.3 กำหนดให้ Ready-to-eat foods unable to support the growth of L. monocytogenes, other than those intended for infants and for special medical purposes ต้องไม่เกิน 100 cfu/g โดยมี Reference method คือ EN/ISO 11290-2

การตรวจภาชนะบรรจุพลาสติกหรือ Migration Test ตามระเบียบ EU Regulation 10/2011 ดูว่ามีสารที่ใช้ทำพลาสติกสามารถละลายออกมาปะปนกับอาหารได้หรือไม่
 
โดยทั่วไปไม่ได้ตรวจชนิดของสารแต่วัดเป็นค่า Overall Migration limit ซึ่งมีตัวแทนของอาหารมาใช้ทดสอบได้แก่ น้ำเปล่า กรด แอลกอฮอล์ น้ำมัน โดยแช่ไว้ตามระยะเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสม ก่อนนำไปหาค่าสารที่คงเหลือคำนวณเป็นค่า Overall migration limit ค่ะ
 

จอร์แดนมี JFDA (Jordan Food and Drug Administration) ทำหน้าที่เหมือน อย. ของไทยค่ะ
ขอ้มูลในเว็บไซต์นี้ค่ะ http://www.jfda.jo/Pages/viewpage.aspx?pageID=153
 
สำหรับข้อมูลภาษาอังกฤษ มีของ GAIN Report โดย USDA ทำไว้
GAIN Report Number:JO12005
ในเอกสารแนบนะคะ
 
แต่ดูแล้วน่าจะใช้ CODEX แทนได้นะคะ

1. US
 
Ang termino nga 'mayor nga pagkaon sa allergen' nagpasabot sa bisan unsa sa mosunod:
'' (1) gatas, itlog, isda (pananglitan, bass, dalidali, o bakalaw), krustaseo kinhason (pananglitan, crab, banagan, o shrimp), nga kahoy nuts (pananglitan, mga almendra, pecan, o mga walnuts), trigo, mani , ug mga soybeans.
'' (2) Ang usa ka pagkaon nga sangkap nga naglakip sa protina nga nakuha gikan sa usa ka pagkaon nga bungat sa parapo (1), gawas sa mosunod:
'' (A) Ang bisan unsang kaayo nga inulay nga lana nga nakuha gikan sa usa ka pagkaon nga bungat sa parapo (1) ug sa bisan unsa nga sangkap nga nakuha gikan sa maong mga kaayo refined lana.
'' (B) Usa ka pagkaon nga sangkap nga labut sa ilalum sa parapo (6) o (7) sa seksyon 403 (w). ''
 
อ้างอิง จาก:
Food allergen nga nagtawag ug Consumer Protection Act sa 2004 (sa Public Law 108-282, Ulohan II)
SEC. 203. PAGKAON labeling; REQUERIMIENTO SA IMPORMASYON MAHITUNGOD allergenic SUBSTANSIYA
 
ดังนั้น หาก เป็น Kahoy nut ที่ ผ่าน kaayo refined lana จะ ไม่ ถือว่า เป็น allergen
 
2. EU Regulation 1169/2011   Annex II   จะ มี allergen ที่ได้รับการยกเว้นตามที่ระบุในระเบียบเท่านั้น
ดังนั้น mani ug mga produkto niini จะ รวม ถึง peanut lana ซึ่ง ยัง ถือว่า เป็น allergen
 

กฎหมายอาหารของนิวซีแลนด์ ใช้ร่วมกับออสเตรเลียค่ะ ,uหน่วยงานที่กำกับดูแล เรียกว่า Food Standard Australia New Zealand (FSANZ) ใน ร่วมกัน และใช้กฎหมายที่เรียกว่า Food Standard Code ซึ่งจะระบุไว้หากฉบับไหนใช้เฉพาะออสเตรเลียไม่รวมนิวซีแลนด์  
 
ในเว็บไซต์ สำหรับกฎหมาย ทั้ง Chapter 1-2 นั้นใช้ร่วมกันทั้ง 2 ประเทศค่ะ 

http://www.foodstandards.gov.au/code/Pages/default.aspx

ส่งเว็บไซต์ที่เป็นของนิวซีแลนด์โดยตรงมาเพิ่มเติม เพื่อทราบว่าส่วนใดที่ไม่บังคับใช้ร่วมกันค่ะ
 
 
ทั้งนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฉลากจะอยู่ใน Chapter1 Part 1.2 Labelling and Other information requirements Standard 1.2.1 - 1.2.12 นะคะ
 
การ download จากเว็บไซต์ ให้เลือก Standard หมายเลขที่ต้องการ จะลิงค์ไปที่เว็บ Federal Register of Legislation เลือกชนิดไฟล์ที่ต้องการแบบ pdf หรือ docx และ Zip ค่ะ 

มาตรฐานสารปนเปื้อนของไทย ใช้ตาม ปสธ. ฉบับ 98 พ.ศ.2529 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มี

สารปนเปื้อน ซึ่ง อฟลาทอกซิน ต้องไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม  ของญี่ปุ่น ดูในฐานข้อมูลของ Law and Regulation นะคะ

1. ประเทศไทย

เกณฑ์ด้านจุลินทรีย์ของไทย มี 2 ฉบับ คือ 

1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ปสธ.) ฉบับที่ 364 พ.ศ. 2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค สำหรับอาหารที่อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศ และ 

2) ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 2 

หากสินค้าไม่มีในกำหนดของ ปสธ. ให้อ้างอิงตามประกาศกรมวิทย์ ทั้งนี้ พริกไทยที่ใช้อยู่เป็นชนิดพร้อมบริโภค จะเข้าข่ายเป็นอาหารสดพร้อมบริโภค อ้างอิงตามกรมวิทย์ฯ 

2. ญี่ปุ่นไม่มีเกณฑ์จุลินทรีย์สำหรับพริกไทย

ทั้งนี้ประเทศนำเข้าที่ไม่มีการกำหนดเกณฑ์ด้านจุลินทรีย์โดนยทั่วไปจะใช้เกณฑ์ของกรมวิทย์ฯ ค่ะ

สามารถตรวจสอบได้จากในเว็บไซต์ต่อไปนี้นะคะ
 
ระเบียบการใช้วัตถุเจือปนอาหา ซึ่งเผยแพร่เป็นภาษาอินโดฯ  ฉบับแรกคือ Regulation 33/2012 ระบุชื่อ/ชนิดของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้แยกตาม function (เป็นการปรับปรุงกฎหมายใหม่ และยกเลิกฉบับเดิม) ต่อมาจึงได้ประกาศระเบียบที่เป็นข้อ กำหนดการใช้อีกหลายฉบับ ได้แก่ Regulations No. 4 - 25/2013 and Regulation No. 36 - 38/2013 แยกตาม function ละฉบับ และล่าสุด คือ Regulation No. 4/2014 เรื่อง sweetener
 
โดยสามารถตรวจสอบข้อกำหนดการใช้จากเว็บไซต์นี้นะคะ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของ USDA ที่รวบรวมไว้
http://usdaindonesia.org/?p=2264 (สำหรับ Regulations No. 4 to 25/2013 and Regulation No. 36 to 38/2013) และ 
http://jdih.pom.go.id/showpdf.php?u=810 (สำหรับ Regulation No. 4/2014 )
 
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์ของสถาบันฯ มีเผยแพร่เฉพาะฉบับ Regulation No. 33/2012 เท่านั้น ในเว็บไซต์ Thehalalfood.info ค่ะ

สัญลักษณ์นั้นเรียกว่า e mark จะอยู่บริเวณเดียวกับตัวเลขแสดงน้ำหนักบรรจุ/น้ำหนักสุทธิ เพื่อบ่งบอกถึงน้ำหนักของสินค้าในภาชนะได้มีการควบคุมอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้เรียบร้อยแล้วตามกฎหมายของสหภาพยุโรป ใน  Directive 76/211/EEC ใช้สำหรับสินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป ดังนั้น สินค้าจึงอาจมีน้ำหนักสูงกว่าหรือต่ำกว่าน้ำหนักสุทธิที่ระบุบนฉลากได้แต่ถือว่าถูกต้องตามกฎหมายค่ะ
 
e ตัวนี้จึงอาจเรียกว่าเป็นน้ำหนักโดยประมาณ (estimated) ของสินค้าค่ะ

1.กฎหมายเกี่ยวกับการขอเลขสารบบฯ อยู่ในระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาค่ะ มี 2 ฉบับ
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยการดําเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๗
ระเบียบสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาว่าด้วยการดําเนินการเกี่ยวกับเลขสารบบอาหาร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
2.ข้าวบรรจุถุง เป็นอาหารทั่วไป ไม่บังคับเรื่องเลขสารบบฯ แต่สามารถขอได้ค่ะ ดูรายละเอียดในข้อ 1 ค่ะ

รายละเอียดเรื่องฉลากของไทยดูในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับบที่ 367 พ.ศ. 2557 ค่ะ สำหรับข้อยกเว้นให้ดูเพิ่มเติมใน ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
 
 
ข้อ 4

1. US กำหนดค่า Pesticide tolerance ไว้ใน CFR Title 40: Protection of Environment PART 180—TOLERANCES AND EXEMPTIONS FOR PESTICIDE CHEMICAL RESIDUES IN FOOD 
 
2. ถ้าของ US ไม่กำหนดค่าของสาร Carbendazim ไว้ ให้ใช้ของ Codex เหมาะสมกว่า
สำหรับ Codex Pesticide MRL ค้นหาที่เว็บไซต์นี้ค่ะ

1.กฎหมายดูรายละเอียดจากว็บไซต์นี้ค่ะ http://www.leg.state.vt.us/docs/2014/Acts/ACT120.pdf
 
2.การระจะระบุว่า Gmo-free หรืออื่นๆ ในความหมายเดียวกัน จะต้องเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศค่ะ ซึ่งอาจแตกต่างกันตามค่าที่สามารถ detect ได้
 
3.ผลการประเมินต้องมีการรับรองโดยผู้ตรวจประเมินด้วยค่ะ ซึ่งหากมีการขอตรวจสอบย้อนหลังต้องสามารถแสดงหลักฐานว่ามีผลการประเมินความเสี่ยงแล้วไม่พบ แต่การมีผลทดสอบจะช่วยยืนยันความมั่นใจในผลการประเมินได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
 

ใช่ค่ะ ระเบียบฉบับนี้จะเพิ่มขอบเขตของ vinegar โดยเพิ่มกรดอะซิติกเจือจางให้รวมอยู่ในกลุ่มอาหารนี้ด้วย แต่คำจำกัดความเดิมของ vinegar ยังคงเดิมค่ะ

กฎหมาย GMO ของสหรัฐฯ นอกจากที่มีในเว็บไซต์ FIC แล้วสามารถดูคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ นี้ค่ะ
 

สำหรับประเทศกัมพูชาไม่มีกฎหมายเฉพาะด้าน food packaging โดยทั่วไปจะอ้างอิงจาก Codex ค่ะ
(สำหรับคำถามที่สอบถามมาเรื่อง packaging ของทิชชู่นั้น ถ้าไม่ใช้เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร ในเว็บไซต์ FIC จะไม่มีข้อมูลนะคะ)

 

ในกฎหมาย EU มีเขียนไว้ใน Regulation 1169/2011 อ้างถึง Article 22 และ Annex 7 ที่กล่าวถึงปริมาณส่วนประกอบที่น้อยกว่า 2% อาจยกเว้นไม่ต้องแสดงไว้ในรายการส่วนผสมได้ แต่ไม่รวมถึง food additive และ allergenค่ะ
 
สำหรับประเทศอื่นๆ ยังไม่พบว่าเขียนไว้ละเอียดเหมือน EU นะคะ
 

ข้อมูลดังกล่าวอยู่ใน Regulation 393/2012 นะคะ
 

การใช้สาร antioxidants สำหรับกฎหมายในไทยจะมี ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร กำหนดชนิดและปริมาณการใช้ ทั้งนี้ สารกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่ อย. ได้อนุญาตให้ใช้ได้กับอาหาร ซึ่งจะพิจารณาตามชนิดอาหาร และความปลอดภัยในการบริโภคค่ะ
 
สามารถดูรายละเอียด ปสธ. ได้ที่เว็บไซต์ http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/index.php หรือเว็บไซต์ อย. ค่ะ

ตามที่สอบถามการแสดงข้อมูลบนฉลากของสหภาพยุโรป ขอเรียนชี้แจงดังนี้ค่ะ
 
1. Manufactured by ต้องระบุทั้งชื่อและที่ตั้งบริษัทตามกฎหมาย ที่สามารถส่งเอกสารทางไปรษณีย์มาถึงหรือติดตามได้
 
2. สถานที่ตั้ง ต้องระบุรายละเอียดจริงทั้งชื่อ เลขที่ ถนน ตำบล/แขวง อำเภอ/เขต จังหวัด และรหัสไปรษณีย์ 
 
3. ให้เลือกที่ไหนก็ได้ค่ะ แต่ต้องครบตามข้อ1 และ 2 

จีนมี National Food Safety Standard General Standard for the Labeling of Prepackaged Foods GB 7718—2011
ระบุรายละเอียดในการแสดงฉลากไว้ ในข้อ 3 Basic Requirements ของการแสดงข้อมูลบนฉลากน่าจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงดังที่ลูกค้าได้รับข้อมูลมาได้ค่ะ เช่น
3.5 The labeling of prepackaged food shall not be described or presented by words, pictorial or other devices which refer to or are suggestive either directly or indirectly, of any other product with which such food or its certain property.
เอกสารฉบับนี้มีอยู่ในฐานข้อมูล Law and Regulation ในเว็บไซต์ FIC นะคะ

โดยทั่วไปการ Declaration ของอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ นิยมใช้ว่า
Contain ..... หรือ May contain ....
การระบุว่า "ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร : มี ...." เป็นเฉพาะรูปแบบของประเทศไทยตามที่ อย. กำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงฯ ฉบับ 367 ค่ะ
 
ดังนั้น สามารถใช้ว่า "Contain Milk, Soybean" ได้ค่ะ

1. เอกสาารของสถาบันอาหาร ระเบียบการใช้สีผสมอาหาร (FM-IN-FC-01 Rev.01)  ในข้อ 1 กับ ข้อ 3 เรื่อง Gain Report Number: UAE 10-2013 นั้นเป็นเอกสารระบุชนิดของสีผสมอาหารที่ห้ามใช้ ซึ่งยังเป็นปัจจุบันอยู่ค่ะ
2. เอกสารในข้อ 2 กฎระเบียบการใช้สารสีในอาหาร (Coloring matter used in foods) ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ (2545)  นั้น ระบุเพียงว่าเป็นสีที่อนุญาตให้ใช้ โดยให้ค่า ADI ซึ่งค่า ADI เป็นปริมาณการได้รับสารเคมีในปริมาณที่ยอมรับได้จาการบริโภคอาหารต่อวัน ซึ่งไม่ได้หมายถึงค่าปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ของสีนั้น
ซึ่งตาม GSO 5/DS :2013 Additives Permitted for Use In Food Stuffs (ตามเอกสารแนบ) เป็นมาตรฐานของกลุ่มประเทศ GCC (6 ประเทศตะวันออกกลาง ได้แก่ UAE, Saudi Arabia, Kuwait, Bahrain, Qatar ,Yemen) กำหนดชนิดและปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ ก็ยังไม่พบว่ามีการอนุญาตให้ใช้สีดังกล่าวนะคะ
ทั้ง นี้ เอกสารของ สคต. ดูไบ เป็นฉบับเมื่อปี 2545 แต่เอกสารที่อ้างถึง GSO 5/DS :2013 Additives Permitted for Use In Food Stuffs เป็นฉบับปี 2556 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดค่ะ 
ทางสถาบันอาหารจะนำเอกสารฉบับนี้เผยแพร่ในฐานข้อมูล Law & Regulation ต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในการนำไปใช้ และต้องขออภัยเป็นอย่างสูง มา ณ ที่นี้ค่ะ 

ถ้าดูจากเอกสาร ในข้อ 2  paragraph แรก น่าจะหมายถึงเฉพาะชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต (หมายถึงสถานที่ผลิต) ในญี่ปุ่นที่จะต้องมี ID Code ประจำตัว ซึ่งการแสดงที่อยู่จึงต้องมีทั้งชื่อ-ที่อยู่ของผู้ผลิต (ที่เป็นสถานที่ที่ใช้ในการผลิต) กับชื่อ-ที่อยู่ของผู้ที่ทำหน้าที่กระจายสินค้า แต่เลข ID code นี้ไม่ได้รวมถึงสินค้าอาหารนำเข้า ดังนั้น สินค้าอาหารนำเข้ายังสามารถแสดงชื่อ-ที่อยู่ของผู้ผลิต หรือผู้กระจายสินค้า หรือผู้นำเข้า ก็ได้ค่ะ

ตามที่สอบถามเรื่องการ update ข้อมูลภายในฐานข้อมูล Law and Regulation ขอเรียนชี้แจงดังนี้ค่ะ
 
สำหรับข้อมูลของ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ จะตรวจสอบและ update ให้อย่างเร่งด่วนนะคะ 
ส่วนของ EU เรื่อง microbiological criteria for foodstuffs มีในฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว และ MRLs ปัจจุบันเนื่องจากข้อมูลมีเป็นจำนวนมาก จึงไม่ update ในฐานข้อมูล แต่ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บนี้ค่ะ 

http://ec.europa.eu/sanco_pesticides/public/index.cfm?event=homepage&language=EN 

ฮ่องกงสามารถระบุบนฉลากได้ว่า “GM free”(不含基因改造成分)
 
 

ตามที่สอบถามเรื่องการทำฉลากสินค้าเพื่อส่งไปไต้หวัน มีรายละเอียดในฐานข้อมูล Law and Regulation -ในเว็บไซต์ FIC ของประเทศไต้หวัน เรื่อง มาตรฐานการปิดฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ ค่ะ

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่อยู่ในรายชื่อผู้ผลิตหรือแปรรูปไข่ที่สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้ หากผู้ประกอบการต้องการใช้ส่วนผสมของไข่ในผลิตภัณฑ์ จะต้องใช้วัตถุดิบหรือไข่แปรรูปจากประเทศตามรายชื่อที่สหภาพยุโรปกำหนด  และต้องดำเนินการขอใบรับรองสุขอ นามัย (Health Certificate) ที่ระบุไว้ใน Commission Implementing Regulation (EU) No 468/2012 ก่อนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ตามแบบฟอร์มในเอกสาร
 
(ที่มาจาก มกอช.)
 
ซึ่งล่าสุดอียูได้ update รายชื่อประเทศตาม Regulation 925/2014 แล้วค่ะ

 

สามารถตรวจสอบรายชื่อสารก่อภูมิแพ้ได้จากฐานข้อมูล Law and Regulation ของประเทศจีน เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยอาหารแห่งชาติ: มาตรฐานทั่วไป สำหรับการ แสดงฉลากอาหารในภาชนะบรรจุ (National Food Safety Standard General Standard for the Labeling on Prepackaged Food: GB 7718-2011) ซึ่งหัวข้อ 4.4.3 สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ (Allergies) กำหนดชนิดสารก่อภูมิแพ้ไว้ 8 ชนิด 
 
กรณีที่อาหารหรือผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบ ต้องระบุชื่อของสิ่งเหล่านี้ในรายการส่วนประกอบ หรือระบุคำเตือนใกล้กับรายการส่วนประกอบ
ก) ธัญพืชที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์จากธัญพืชเหล่านั้น (เช่น ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาเล่ย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวสเปลท์ หรือชนิดธัญพืชที่มีการผสมข้ามสาย พันธุ์) (Grain and its product containing gluten protein (for example wheat, rye, barley, spelt or their crossbreeding products))
ข) สัตว์น้ำเปลือกแข็งและผลิตภัณฑ์จาก สัตว์ประเภทนี้ (เช่น กุ้ง ล็อบสเตอร์ ปู ฯลฯ) (Crustacean animal and its products (for example shrimp, lobster, crab and so on))
ค) ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลา (Fish and its products)
ง) ไข่และผลิตภัณฑ์จากไข่ (Egg and its products)
จ) ถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (Peanut and its products)
ฉ) ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง (Soybean and its products) 
ช) นมและผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงน้ำตาลจากนม (Milk and dairy products including lactose)
ซ) ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว (Nut and its products)
 
ดังนั้น milk protein, soybean ที่ต้อง declare ว่าเป็นสารก่อภูมิแพ้ค่ะ

1. สามารถทำได้ทั้งแบบรวมไว้ที่ซองใหญ่ หรือแยกได้ ถ้าไว้ที่ซองใหญ่ต้องระบุด้วยในขั้นตอนการผสมจะเอาซองไหนมาผสมกันบ้าง มีลำดับขั้นตอน และวิธีเฉพาะหรือไม่
2. โดยทั่วไปอ้างอิงตามกฎหมายประเทศปลายทาง ซึ่ง codex ยังไม่ครอบคลุม แต่สามารถทำสติกเกอร์ติดเพิ่มได้
3.  ประกาศ 367 ให้ระบุ%  ซึ่งมีหลักเกณฑ์ตามที่ส่งมาค่ะถูกต้องแล้วค่ะ

วัตถุดิบ/สินค้า อาหาร ทุกชนิดต้องขออนุญาตนำเข้าจาก อย. ทุกครั้ง
 
หลังจากนั้น การนำมาใช้ จะพิจารณาแยกเป็นการนำเข้าเพื่อส่งออก, เพื่อใช้เป็นส่วนผสมอาหารจำหน่ายในประเทศ หรือเพื่อมา repackaed แล้วส่งออกโดยไม่จำหน่ายในประเทศ จะพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
 
หากสึ Gardenia Yellow AYSP750i จะนำมาใช้ในประเทศไทย ต้องตรวจสอบว่าเป็นชนิดสีที่อนุญาตตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 281 และ Codex Standard 192-1995 หรือไม่ 
เว็บไซต์ อย. เพื่อตรวจสอบชนิดวัตถุเจือปนอาหาร http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/FoodAdditives.php

เว็บไซต์โคเด็กซ์ http://www.codexalimentarius.org/standards/gsfa/en/

 

จากการตรวจสอบ ไม่พบรายการสีนี้ในกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ แสดงว่าปัจจุบันยังเป็นชนิดสีที่ไม่อนุญาตให้ใช้กับอาหารในประเทศนะคะ

ข้อกฎหมายของทุกประเทศ จะพิจารณาว่าส่งออกน้ำผลไม้ชนิด 100% หรือชนิดอื่นๆ 
ในกรณีที่ส่งออกแบบ 100% จะดูกฎหมาย 2 ส่วนประกอบกัน คือ 
1) การใช้วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สี กลิ่น รส  และ 
2) การแสดงฉลากและการกล่าวอ้าง 
ซึ่งต้องดูไปพร้อมๆ กันว่าในแต่ละประเทศจะสามารถระบุบนฉลากว่าอย่างไรได้บ้าง
 
สำหรับประเทศญี่ปุ่น Natural Fruit Juice มีข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร บางชนิดสามารถใช้ได้ในปริมาณที่กำหนด เช่น L-Cysteine Monohydro-chloride ไม่จำกัดปริมาณ, Sulphur dioxide ไม่เกิน 0.15 g/kg, calcium sorbate ไม่เกิน 1.0 g/kg เป็นต้น และไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบจากน้ำผลไม้ 100% การเติมวิตามินและแร่ธาตุอื่น สามารถทำได้โดยมีการกำหนดชนิดไว้ในกฎหมายการแสดงฉลาก (สามารถดูรายละเอียดได้จากฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ)
 
ทั้งนี้ สถาบัน มีบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายการนำเข้าและการแสดงฉลาก ตามรายละเอียดที่แนมมาพร้อมกันนี้ 
 
บริการที่ปรึกษาจะสามารถให้รายละเอียดเชิงลึกได้มากกว่าเพราได้พบปะกันโดยตรง และยังสามารถให้คำแนะนำส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ด้วยค่ะ 

ประเทศฝรั่งเศสสามารถอ้างอิงกฎหมายสหภาพยุโรปได้คะ  ตาม Regulation 2073/2005 หรือตามเอกสารแนบนะคะ

 

ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารของสิงคโปร์ สามารถสืบค้นผ่านทางเว็บไซต์ 
ซึ่งไม่พบรายชื่อนี้ 
 
ดังนั้น E 160c หรือ INS 160c ตามระบบของสิงคโปร์ ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหารค่ะ
 

 

ผู้ผลิตที่ทำฉลากเองสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองค่ะ อ้างอิงตาม Directive ในเว็บไซต์นี้เลยค่ะ

 

 
ไม่พบข้อมูลของประเทศเวียดนามค่ะ แต่มีข้อมูลจาก US FDA ใช้เป็นตัวทำละลายสีสำหรับเปลือกไข่ได้ (http://www.fda.gov/Food/IngredientsPackagingLabeling/FoodAdditivesIngredients/ucm091048.htm)
 
อย่างไรก็ตาม ในเวียดนามมีการผลิตและการใช้ในระดับอุตสาหกรรม แต่ไม่พบข้อมูลการใช้กับอาหาร ในลักษณะการเป็น additives นะคะ
 
แนะนำให้ติดต่อหน่วยงาน http://www.chemtrack.org/ สำหรับความปลอดภัยในการใช้กับอาหาร หรือ
ติดต่อสอบถามทางอีเมล์กับหน่วยงานในเวียดนาม
Food Safety Bureau, Ministry of Health, Vietnam Email: vfa@vfa.gov.vn 

ให้ระบุด้วยชื่อค่ะ เช่น Xylose (sweetener) กรณีที่ใช้หลายตัวอาจระบุ เช่น Sweetener (Xylose, Moltose, Advantame) เป็นต้น
สำหรับ glucose ไม่ถือว่าเป็นสารให้ความหวานแต่เป็นน้ำตาล ดังนั้นให้ระบุว่าเป็น sugar หรือใช้ว่า glucose กรณ๊ที่ใช้เป็นกลูโคสผง ได้ค่ะ หากใช้เป็นไซรัปก็ใช้ว่า glucose syrup 
 
หากมีการใช้ทั้ง 2 ชนิด สามารถระบุดังตัวอย่างแบบนี้ได้ค่ะ
ตัวอย่างที่ 1 
Glucose, Xylose (Sweetener)
 
ตัวอย่างที่ 2
Glucose, Sweetener  (Xylose, Moltose, Advantame)
 
ตัวอย่างที่ 3
Sugar, Xylose หรือ Sugar, Sweetener  (Xylose, Moltose, Advantame) หรือ Glucose syrup, Xylose (Sweetener) เป็นต้น
 

อียูมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับน้ำผลไม้ ดังนี้
 
1. direktiba 2001/112 / EC sa 20 Disyembre 2001 kalabutan sa bunga juices ug pipila ka susama nga mga produkto alang sa konsumo sa tawo
ซึ่ง จะ ระบุ นิยาม ของ น้ำ ผล ไม้ Bunga juice ดังนี้
 
bunga juice
Ang makapaaslom apan walay igpapatubo nga produkto nga nakuha gikan sa bunga nga mao ang tingog ug hinog na, lab-as o gitipigan pinaagi sa makahahadlok nga, sa usa o labaw pa nga mga matang nga sinaktan sa tingub, nga may kinaiya nga kolor, palami ug makatilaw kasagaran sa sa duga sa bunga gikan sa nga kini moabut. Flavour, pulp ug mga selula gikan sa duga nga gibulag sa panahon sa pagproseso mahiuli sa sama nga juice.
Sa kaso sa citrus bunga, ang bunga juice kinahanglan moabut gikan sa endocarp. Apog juice, bisan pa niana, mahimo nga nakuha gikan sa mga bug-os nga bunga, pinaagi sa angay nga mga proseso sa produksyon diin ang gidaghanon sa mga katawhan sa sa gawas nga bahin sa bunga mikunhod ngadto sa usa ka minimum.
 
2. direktiba 2009/106 / EC sa Agosto 14 2009 amendar Council direktiba 2001/112 / EC kalabutan sa bunga juices ug pipila ka susama nga mga produkto alang sa konsumo sa tawo
 
3. direktiba 2012/12 / EU SA taga-Europe parlamento UG SA KONSEHO sa 19 sa Abril 2012 amendar Council direktiba 2001/112 / EC kalabutan sa bunga juices ug pipila ka susama nga mga produkto alang sa konsumo sa tawo
 
สำหรับ bunga juice ต้อง ใช้ วัตถุดิบ จาก ผล ไม้ หรือ nectar, concentrate, puree, pulp เท่านั้น ส่วน วัตถุดิบ อื่น ๆ ที่ สามารถ ใช้ได้ ได้แก่ น้ำตาล และ น้ำผึ้ง เท่านั้น
 
ดังนั้น ถ้า มี การ ใช้ วัตถุดิบ อื่น ๆ ไม่ ถือว่า เป็น "Bunga juice" รวมทั้งเครื่องดื่มลดน้ำตาลของลูกค้าด้วยค่ะ
โดย สา มา ถ ใช้ ชื่อ Ilimnon หรือ bunga ilimnon uban sa .... หรือ อื่น ๆ ค่ะ
 

ให้ยึดถือตามแบบอียูค่ะ เพราะ Middle east ไม่บังคับรูปแบบของฉลากโภชนาการ ส่วนเอเซีย เน้นแสดงชนิดของสารอาหารให้ครบ ถ้าประเทศที่ส่งออกไม่มีรูปแบบฉลากโภชนาการ (เหมือนของไทยที่มีรูปแบบเฉพาะ) ก็สามารถใช้ตามแบบอียูได้เลยค่ะ
 
หมายเหตุ แถบเอเชียนิยมใช้ฉลากโภชนาการแบบสหรัฐฯ ที่คล้ายของไทยค่ะ โดยเฉพาะคำว่า Nutrition Fact 

เนื่องจากประกาศกระทรวงฯ เรื่องวัตถุเจือปนอาหารที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน ออกมาตั้งแต่ พ.ศ.2547 อย.จึงให้อ้างอิงไปพร้อมกับ Codex Stan 192-1995 GENERAL STANDARD FOR FOOD ADDITIVES ซึ่งมีการอัปเดตรายละเอียดของปี 2015 แล้ว
 
ตามลิงค์นี้ค่ะ
http://www.codexalimentarius.org/standards/gsfa/en/  โดยดาวน์โหลดที่เป็นไฟล์ pdf : current version of Codex general standard for Food additives นะคะ
 
สำหรับปริมาณการใช้ sulfurdioxide และ sulfite ในผลไม้อบแห้ง  Dried fruit ไม่เกิน 1000 mg/kg ค่ะ

 

ฝรั่งเศสหรืออียูมีหลักเกณฑ์สำหรับสินค้าสัตว์น้ำตามเอกสารที่กรมประมงเผยแพร่ในเว็บไซต์นี้ค่ะ
 
ทั้งนี้ Health Cert. จะพิจารณาส่วนผสมและวัตถุดิบประกอบด้วยค่ะ กรณีที่เป็นอาหารแปรรูปและมีส่วนผสมน้อยก็ไม่ต้องขอ Cert. 
 
หรือสอบถามได้ที่
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง 
กรมประมง ถนนพหลโยธิน เกษตรกลาง 
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
Tel : 02 5620600 Fax : 02 5580136
 

สำหรับสินค้าที่ส่งไปแบบ bulk ใช้หลักเกณฑ์เช่นเดียวกันค่ะ เนื่องจากถือว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รายละเอียดของข้มูลบนฉลากจึงมีตามที่ระบุใน Article 8 ของ Regulation 1169/2011 เท่านั้นค่ะ
 
"These particulars must appear on the packaging or on a label attached to pre-packaged foodstuffs. In the case of pre-packaged foodstuffs intended for mass caterers (foodstuffs sold in bulk), the compulsory labelling particulars must appear on commercial documents while the name under which it is sold, the date of durability or use-by-date and the name of manufacturer must appear on the external packaging."
 

สำหรับฉลากสินค้าอาหารที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงกับผู้บริโภค อ้างอิง Regulation 1169/2011 Article 8 ข้อ 7 ท้ายข้อ (b) ว่า
 
Notwithstanding the first subparagraph, food business operators shall ensure that the particulars referred to in points (a), (f), (g) and (h) of Article 9(1) also appear on the external packaging in which the prepacked foods are presented for marketing.
ผู้ประกอบธุรกิจอาหารจะต้องมั่นใจว่ารายการข้อมูลที่ระบุไว้ในข้อ 
(ก) ชื่ออาหาร , (ฉ) วันหมดอายุหรือวันที่ควรบริโภคก่อน, (ช) วิธีเก็บรักษา/วิธีใช้ และ (ซ) ชื่อ/ชื่อทางธุรกิจ ของมาตรา 9(1) ปรากฏอยู่ด้านนอกของภาชนะอาหารบรรจุหีบห่อที่ถูกนำเสนอขายในตลาด
และมีคำแนะนำจากเว็บไซต์ของ FSA สหราชอาณาจักร ดังนี้ค่ะ
 
Food in external packaging
You must also put extra information on any external packaging that you use to supply food that meets either of the following conditions:
it’ll be taken out of your external packaging and sold in its own packaging (eg a large box containing bags of potato crisps)
it’ll be used by a mass caterer to prepare food or it’ll be split or cut up
You must label your external packaging with:
  1. the name of the food
  2. the ‘best before’ or ‘use by’ date
  3. any special storage conditions
  4. the name and address of your business

ถ้าไม่ระบุประเทศทีต้องการ มีบางฉบับที่ใช้เป็น Reference ได้สำหรับ Cyanide ดังนี้ค่ะ
 
Cyanide content, 10.0 mg/kg
Only sweet cassava, containing low levels of cyanogenic glycosides 50 mg/kg
3. GENERAL STANDARD FOR CONTAMINANTS AND TOXINS IN FOOD AND FEED (CODEX STAN 193-1995)
Cassava flour Maximum Level (ML) 10 mg/kg 
 
ส่วนซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สามารถดูรายละเอียดในกฎหมาย เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ของแต่ละประเทศได้ค่ะ

 

ใช่ ค่ะ ตาม ระเบียบ ที่ 62 รวม ถึง เนื้อ สัตว์ (รวม เนื้อ ไก่่) ที่ผ่านการเตรียมหรือผสมเครื่องเทศต่างๆ ด้วย ค่ะ
 
Corned, giayo, pickled o salted nga kalan-on
62 .- (1) sa corned karne, naayo nga kalan-on, pickled kalan-on o sa asin nga kalan-on, lakip na ang ham ug sa Bacon, ang kalan-on nga linuto o hilaw, nga giandam pinaagi sa pagtambal uban sa asin, asukar, suka, o mga panakot, bisan mag-inusara o diha sa kombinasyon .
(2) sa corned karne, naayo nga kalan-on, pickled kalan-on o sa asin nga kalan-on mahimo nga naglakip sa matunaw organikong phosphate sumala dili sa hilabihan gayud sa katumbas sa 0.3% sa phosphorus pentoxide, P2O5.
(3) sa corned karne, naayo nga kalan-on, pickled kalan-on o sa asin nga kalan-on mahimo nga naglakip sa sodium nitrite, potassium nitrite, sodium nitrate o potassium nitrate, nga nag-inusara o diha sa kombinasyon, nga gihatag nga ang kantidad sa nitrites ug mga nitrates nga anaa sa katapusan nga produkto dili molabaw sa gitugotan nga lebel bungat sa Bahin ako sa Ikaupat nga Eskedyul.
 
ตาม พิกัด ศุลกากร (Singapore HS code)
16023290 manok, nag-andam o gitipigan, walay labot canned Curry manok

จีนมี National Food Safety Standard for Standard for Uses of Food Additives: GB 2760-2014 ซึ่งจะกำหนดชนิดสีที่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ถ้าเป็นชนิดที่ห้ามใช้จะไม่พบในมาตรฐานฉบับนี้ค่ะ
 
สามารถดาวน์โหลดได้จากฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศได้เลยค่ะ

สัญลักษณ์ Food contact material ของอียู สามารถใช้ได้บนภาชนะที่ใช้สัมผัสอาหารทุกชนิดที่ได้มาตรฐานตามระเบียบของอียู โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือขอการรับรอง เช่น พลาสติกต้องเป็นไปตาม Regulation 10/2011 และ Regulation 2015/174 ในด้านค่า migration limit หากตรวจวิเคราะห์แล้วค่าไม่เกินมาตรฐานก็ติดสัญลักษณ์นี้ได้เลยค่ะ
 
ห้อง Lab ตรวจวิเคราะห์ติดต่อที่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 ค่ะ

ข้อมูลการใช้ของ Activated Charcoal ขึ้นอยู่กับว่าใช้ในวัตถุประสงค์ใดค่ะ
ในฐานข้อมูล (ถ้ามี) จะเป็นการใช้เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งจะระบุไว้ในข้อกำหนดการใช้วัตถุ เจือปนอาหารของแต่ละประเทศ แต่ถ้าใช้ในวัตถุประสงค์อื่นๆ  เช่น เพื่อการดูดซึมยา ก็จะไม่พบในฐานข้อมูลนะคะ  เพราะเป็นกฎหมายที่อยู่นอกขอบเขตด้านอาหารค่ะ
 
ทั้งนี้ มีข้อมูล ผลการประเมินและการนำไปใช้ของสารนี้โดย WHO ตาม link นี้ค่ะ
 
Activated carbon (synonyms, activated charcoal and decolorizing carbon)
 
Direct use in food
 
         No ADI could be established (a) because carbon blacks from hydrocarbon sources have been shown to contain different amounts of known carcinogens and knowledge is lacking on the ability of man to extract such carcinogens upon ingestion and (b) because of limited feeding studies in experimental animals with defined carbon blacks.
 
Carbon black (vegetable black)
 
         No ADI could be established because no toxicological data were available.
 
หมายเหตุ: การ ที่ไม่มีค่า ADI (Acceptable Daily Intake) ซึ่งหมายถึง ค่าการได้รับของสารใดๆ จากการบริโภคตลอดอายุขัย หากสารนั้นมีความปลอดภัยสูง ทาง WHO ก็จะจัดให้สารนั้นไม่จำเป็นต้องมีค่า ADI 

การแสดงโลโก้ที่ผ่านการรับรอง Organic Products ในประเทศอียูยังถือว่าเป็นแบบสมัครใจค่ะ สำหรับโลโก้ที่มีอยู่แล้วจะแสดงหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องปกปิดค่ะ

การสุ่มเช็คน้ำหนักสินค้า US มีระบุไว้ในคู่มือ (NIST Handbook 133) ตามเอกสารแนบนะคะ ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดของ Sampling ได้ในเอกสารที่เป็นตาราง Appendix (Sampling plan check) ค่ะ
 
(ต้องขออภัยที่ไม่สามารถตอบคำถามได้ เนื่องจากไม่เชี่ยวชาญในด้านนี้เลยค่ะ) 

ประเทศอังกฤษใช้กฎหมายอียู ซึ่ง ข้อกำหนดสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร อยู่ใน Regulation 1129/2011 (มีในฐานข้อมูลนะคะ) ปริมาณการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ สารในกลุ่มเดียวกัน (E 220- E 228) สำหรับผลไม้อบแห้ง food category 04.2.1 Dried fruit and vegetables จะแตกต่างกันตามชนิดผลไม้ค่ะ 
 
ส่วน ลูกอมผลไม้ food category 05.2 Other confectionery including breath freshening microsweets ไม่เกิน 100 mg/kg สำหรับ only candied, crystallised or glacé fruit, vegetables, angelica and citrus peel และไม่เกิน 50 mg/kg สำหรับonly glucose syrup-based confectionery (carry over from the glucose syrup only) 

ข้อกำหนด สำหรับ การ แสดง ฉลาก gluten free ของ ออสเตรเลีย (อ้างอิง ตาม Standard 1.2.7 Nutrition, Health ug sa may kalabutan nga mga pangangkon)

gluten free
Ang pagkaon kinahanglan nga dili naglakip sa -
(Sa usa ka) mamatikdan nga gluten; o
(B) oats o sa ilang mga produkto sa; o
(C) mga lugas nga adunay sulod nga gluten nga malted, o sa ilang mga produkto.
 
ส่วน ของ เกาหลีใต้ (อ้างอิง จาก Foods nga nagtawag - Sumbanan 2003,8 หรือ http://www.mfds.go.kr/files/upload/eng/Foods_labeling_standars_03.pdf )
Ang mga pag-angkon "Free" ug "Low" mahimong gamiton lamang sa diha nga ang mga sustansiya sa pangutana nga gipaubos o gikuha pinaagi sa mga pamaagi manufacturing.processing. Apan, sa kaso sa mga kalan-on nga anaa sa subay sa "Free" o "Ubos nga" criteria nga walay partikular nga pamaagi manufacturing.processing, ang mga pangangkon "Dili" ug "Low," mahimong gamiton lamang sa diha nga kini gipakita nga ang ubang mga pagkaon sa mao gihapon nga matang usab sa pagpahiuyon uban sa mga "Free" o "Ubos nga" criteria
 

กรณีเป็นสินค้านำเข้า สถาบันอาหารไม่มีข้อมูลค่ะ ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้จาก อย. 

ส่วนฉลากโภชนาการของจีน มีในฐานข้อมูลคะ เรื่อง มาตรฐานการแสดงฉลากโภชนาการของอาหารบรรจุหีบห่อ

1. มาตรฐานสารตกค้างของแต่ละประเทศอาจมีค่าที่แตกต่างกันได้ค่ะ ซึ่งที่สืบค้นมาหลายประเทศไม่ได้กำหนดค่ามาตรฐานของอลูมิเนียมไว้ ทั้ง อียู โคเด็กซ์ และไทย ส่วนใหญ่จะระบุแค่ว่าไม่มีสารปนเปื้อนตกค้างที่เป็นอันตราย อย่างมาตรฐานโคเด็กซ์ก็ระบุแค่ว่า The product covered by this Standard shall comply with the maximum levels of the General Standard for Contaminants and Toxins in Food and Feed (CODEX STAN 193-1995) ซึ่งก็ไม่มี Aluminium เช่นกันค่ะ
 
2. สำหรับปริมาณอลูมิเนียมตกค้างในมันสำปะหลังที่แนบมาอ้างอิงจาก National Standard on Maximum Levels of Contaminants in Food GB 2762-2006 ของประเทศจีน แต่ปัจจุบันจีนปรับปรุงมาตรฐานฉบับนี้ใหม่เป็น GB 2762-2012 ซึ่งจะไม่มีค่าตกค้างของ Aluminium ในอาหารแล้วนะคะ
 
[เอกสาร GB 2762-2012 สามารถดูรายละเอียดในฐานข้อมูลของประเทศจีน เรื่อง ปริมาณสูงสุดของสารปนเปื้อนในอาหาร]

 

อียูมีเกณฑ์ด้านจุลินทรีย์ใน Regulation 1441/2007 ซึ่งกำหนดเกณฑ์เฉพาะในสินค้าอาหารกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น เช่น อาหารพร้อมบริโภค นม ไข่ เนื้อ ผักผลไม้ แต่ไม่รวมถึงชนิดอบแห้งค่ะ

ซึ่งกรณีนี้สำหรับการส่งออกสามารถใช้เกณฑของไทยในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเป็นมาตรฐานได้ค่ะ

ในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ มีข้อมูลสำหรับการส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐฯ สำหรับศึกษาข้อมูลเบื้องต้นค่ะ
กรณีที่เป็นสินค้าที่อยู่ใน list ของ GRAS อยู๋แล้ว ก็ปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เลย เช่น 
- กระบวนการผลิต
- การแสดงฉลาก
- การขึ้นทะเบียน /Registration
- การรับรอง ฯลฯ

ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารของอียู สามารถดูรายละเอียดการใช้ได้จาก Regulation 1129/2011 ในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ ซึ่งปริมาณการใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดอาหารค่ะ

การขอเลขสารบบอาหาร หรือ เลข อย. ตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 นั้น อย.จะแบ่งอาหารที่จำหน่ายในประเทศเป็น 4 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกบังคับให้มีเลข อย. ดังนี้
 
อาหารควบคุมเฉพะ (กลุ่มที่ 1) 15 ชนิด ได้แก่ นมโค, ไอศครีม, นมปรุงแต่ง, ผลิตภัณฑ์ของนม,นมเปรี้ยว, เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, วัตถุเจือปนอาหาร, โซเดียมซัยคลาเมตและอาหารที่มีโซเดียมซัยคลาเมต, สตีวิโอไซต์และอาหารที่มีส่วนผสมของสตีวิโไซด์,อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก, อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท,นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็ก,อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็ก,อาหารเสริมสำหรับ
อาหารที่กำหนดคุณภาพ (กลุ่มที่ 2) 31 ชนิด ได้แก่ น้ำมันถั่วลิสง, น้ำมันปาล์ม, น้ำมันมะพร้าว, น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท, น้ำแข็ง, ช็อคโกแลต, ข้าวเติมวิตามิน, เกลือบริโภค, เครื่องดื่มเกลือแร่, ชา, กาแฟ, น้ำนมถั่วเหลืองในภาชนะที่ปิดสนิท, น้ำแร่ธรรมชาติ,ซอสบางชนิด, ผลิตภัณฑ์ปรุงรสที่ได้จากการย่อยโปรตีน ของถั่วเหลือง, น้ำปลา, น้ำส้มสายชู, น้ำมันและไขมัน, น้ำมันเนย, เนยเทียม, ครีม, เนยแข็ง, อาหารกึ่งสำเร็จรูป, น้ำผึ้ง, รอยัลเยลลีและผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี, แยม เยลลีและมาร์มาเลดในภาชนะที่ปิดสนิท, เนยใสหรือกี, เนย, ไข่เยี่ยวม้า, น้ำสมุนไพร, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
อาหารที่ต้องมีฉลาก (กลุ่มที่ 3) 12 ชนิด ได้แก่ แป้งข้าวกล้อง, วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี, อาหารฉายรังสี, ซอสในภาชนะที่ปิดสนิท, วัตถุแต่งกลิ่นรส, ขนมปัง, น้ำเกลือปรุงอาหาร, หมากฝรั่งและลูกอม, อาหารพร้อมปรุงและอาหารและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที, อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ, ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์, อาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม
 
และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 221) พ.ศ.2544 เรื่องกําหนดประเภทอาหารที่ตองแสดงเลขสารบบอาหารที่ฉลาก รวม 34 ชนิด ดังนี้ 
(1) สีผสมอาหาร
 (2) นมโค
 (3) นมปรุงแต่ง
 (4) ผลิตภัณฑ์ของนม
 (5) วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร
 (6) นมเปรี้ยว
 (7) น้ำแข็ง
 (8) วัตถุเจือปนอาหาร
 (9) อาหารสําหรับผู้ที่ตองการควบคุมน้ำหนัก
 (10) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
 (11) นมดัดแปลงสําหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเด็กเล็ก
 (12) อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสําหรับทารกและเดกเล็ก
 (13) อาหารเสริมสําหรบทารกและเด็กเล็ก
 (14) น้ำบรโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
 (15) ไอศกรีม
 (16) น้ำมันปาล์ม
 (17) น้ำมันมะพร้าว
 (19) ช็อกโกแลต
 (20) ข้าวเติมวิตามิน
 (21) เนย
 (22) ไข่เยี่ยวม้า
 (23) เนยใสหรือกี
 (24) แป้งขาวกล้อง
 (25) อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ
 (26) วุ้นสําเร็จรูปและขนมเยลลี
 (27) ผลิตภัณฑ์กระเทียม
 (28) อาหารที่มีวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคณภาพหรือมาตรฐานของอาหารรวมอยู่ในภาชนะบรรจุ
 (29) อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้
 (30) หมากฝรั่งและลูกอม
 (31) ขนมปัง
 (32) วัตถุแต่งกลิ่นรส
 (33) น้ำเกลือปรุงอาหาร
 (34) อาหารฉายรังสี
 
ดังนั้น อาหารนอกเหนือจากรายการด้านบน ไม่จำเป็นต้องขอเลขสารบบอาหาร (ถือว่าเป็นอาหารทั่วไป กลุ่มที่ 4) ได้แก่ เนื้อสัตว์สดและผลิตภัณฑ์ (เช่น เนื้อสัตว์สด, สัตว์น้ำสด, ไข่สด เป็นต้น), พืชและผลิตภัณฑ์ เช่น พืชผักสด, ผลไม้สด, ถั่วและนัต เป็นต้น), สารสกัด/สารสังเคราะห์ (เช่น สารสกัดที่ใช้จากพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เป็นต้น), สารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนที่ใช้เป็นวัตถุดิบ, เกลือแร่ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เป็นต้น), แป้งและผลิตภัณฑ์ (เช่น แป้งมันสำปะหลัง, วุ้นเส้น, ก๋วยเตียว, เป็นต้น), ผลิตภัณฑ์สำหรับทำอาหารชนิดต่างๆ ที่ยังไม่พร้อมบริโภค, เครื่องปรุงรส (เช่น ผงเครื่องปรุงรสในซองบะหมี่กึ่งสำเร็จ รูป เป็นต้น), น้ำตาล (น้ำตาลทราย, แบะแซ เป็นต้น), เครื่องเทศ เช่น มัสตาร์ด, พริกไทย, พริกป่น เป็นต้น, อาหารแปรรูปหรืออาหารแห้งบางชนิด เช่น กล้วยทอด, กล้วยตาก, ผลไม้กวน
รวมทั้ง อาหารสด อาหารที่จำหน่ายโดยตรงกับผู้บริโภค, อาหารที่ทำเพื่อจำหน่ายในร้านอาหาร อาหารที่ไม่มีภาชนะบรรจุ
 
รายละเอียด ดูเพิ่มเติมในเว็บไซต์ http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/Rules/   เพื่อประเมินดูว่าจำเป็นต้องขอเลข อย. หรือไม่ และ
ประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 221 http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/law/data/announ_moph/P221.pdf ค่ะ

ทั้งสองประเทศไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดการกล่าวอ้างเรื่อง พรีเมียม ค่ะ
 

เนื่องจากไม่ได้ระบุว่าเป็นมาตรฐานของประเทศไหน หาก เป็นมาตรฐานของไทย มีเฉพาะ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) เรื่อง น้ำองุ่น มอก. 101-2549 เท่านั้น ส่วนน้าแอบเปิ้ล ยังไม่มีการจัดทำ มอก. ค่ะ โดยดูรายละเอียดไดที่ http://www2.rid.go.th/research/vijais/moa/fulltext/TIS101-2549.pdf
 
สำหรับประเทศอื่นๆ ก็ไม่พบว่ามีการกำหนด Specification ไว้นะคะ ทั้งนี้แนบมาตรฐานของอียูมาเพื่อพิจารณาอีกฉบับด้วยคะ

อย. อ้างอิงข้อกำหนดเรื่องสารแต่งกลิ่นรส (flavor) ตามมาตรฐานโคเด็กซ์ ซึ่งถ้าโคเด็กซ์ประกาศอนุญาตให้ใช้ก็สามารถใช้ได้ โดยในขั้นตอนการขออนุญาตกับ อย. ก็ให้ระบุแหล่งที่มาเอกสารโคเด็กซ์ได้เลย 
 
สำหรับการสืบค้นการใช้ flavor ของโคเด็กซ์ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์นี้คะ

สำหรับไนโตรเจน ให้ถือว่าเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ข้อกำหนดการใช้ตามประกาศเรื่อวัตถุ เจือปนอาหาร ฉบับ 281 และให้แสดงฉลากว่า ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (Packaging gas) (ไนโตรเจน) หรือ ก๊าซที่ช่วยในการเก็บรักษาอาหาร (INS 942)

รายชื่อกฎหมายที่ส่งมาส่วนใหญ่เป็นของอียู บางฉบับได้มีการยกเลิกไปแล้วนะคะ
ฉบับที่ยกเลิก (repeals)  ซึ่งต่อมาประกาศใช้ Regulation 10/2011 แทน Directive 2002/72/EC Plastics ที่ยกเลิกไปรวมทั้ง 7 ฉบับนี้
  • 2004/1/EC Plastics 1st amendment to 2002/72/EC
  • 2004/19/EC Plastics 2nd amendment to 2002/72/EC
  • 2005/79/EC Plastics 3rd amendment to 2002/72/EC
  • 2007/19/EC Plastics 4th amendment to 2002/72/EC
  • 2008/39/EC Plastics 5th amendment to 2002/72/EC
  • EC 975/2009 Plastics 6th amendment to 2002/72/EC
  • 2011/8/EU Restricting Bisphenol A in plastic infant feeding bottles - 7th amendment to 2002/72/EC
ส่วนฉบับที่ยังคงใช้อยู่ (ดูในเอกสารแนบ)
  • Regulation 1935/2004 (ประกาศใช้พร้อมกับยกเลิก Directive 80/590/EEC และ Directive 89/109/EEC)
  • Directive 94/62/EC
ส่วน TISI 16-2536 คือ มอก. 16-253 เรื่อง แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก ในภาษาไทย ทางสถาบันอาหารไม่มีมาตรฐานฉบับนี้ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ต้องติดต่อที่ห้องสมุด สมอ. โดยตรง ค่ะ
 
ทั้งนี้ สำหรับ EU Legislation on Packaging มีเว็บไซต์ที่สามารถติดตามข้อมูลได้ที่นี้นะคะ

 

ขอตอบไล่เป็นข้อๆดังนี้นะคะ

1.ทางเราแนะนำว่าให้ตัดคำเคลมทั้ง2ตัวออกค่ะ ถึงแม้จะพบในปริมาณที่น้อยก็ตาม (ตามกฎหมายระบุ Dried fruits : 2 g/kg)
สามารถสืบค้นข้อมูลของสารตัวอื่นได้ที่ http://fa.kfda.go.kr/foodadditivescode.html เนื่องจากหากตรวจพบจะต้องทำหนังสือชี้แจง ซึ่งทำให้ทางบริษัทเสียเวลาค่ะ
2.ในเรื่องสารก่อภูมิแพ้ หากมีต้องระบุลงบนฉลากค่ะ โดยต้องระบุเป็นภาษาเกาหลีด้วยนะคะ
3.แนะนำว่าให้ระบุปริมาณสารเจือปนค่ะ แต่ถ้าน้อยมากอาจจะไม่ต้องระบุปริมาณค่ะ

สำหรับกฎหมายของสหรัฐฯเรื่องการตรวจสอบซีมกระป๋องได้แก่
TITLE 21--FOOD AND DRUGS
CHAPTER I--FOOD AND DRUG ADMINISTRATION
DEPARTMENT OF HEALTH AND HUMAN SERVICES
SUBCHAPTER B--FOOD FOR HUMAN CONSUMPTION
PART 113 -- THERMALLY PROCESSED LOW-ACID FOODS PACKAGED IN HERMETICALLY SEALED CONTAINERS
Subpart D--Control of Components, Food Product Containers, Closures, and In-Process Materials

สามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์นี้คะ http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm?fr=113.60

มีข้อมูลในฐานข้อมูลคะ หรือสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์นี้ค่ะ

http://www.ava.gov.sg/docs/default-source/tools-and-resources/resources-for-businesses/foodadditivesunderfr_inclnewadditivesunderfdamdtre

 

ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์นี้ค่ะ สำหรับกฎหมายอาหารของสิงคโปร์
http://www.ava.gov.sg/docs/default-source/e-service/2web_foodregulations_1august2013.pdf?sfvrsn=2

 

ของสดส่งออกจากไทยต้องมี GAP จากฟาร์ม และ GMP  และ HACCP โรงบรรจุ สำหรับส่งออกค่ะ

ในด้านมาตรฐานการใช้ SO2 ในผลไม้อบแห้งหากจะอ้างอิงตามการอนุญาตแล้ว ให้ดูตรงหมวด Dried fruits ที่กำหนดไว้ที่ 2 g/kg 
โดยรายละเอียดตามไฟล์เอกสารแนบค่ะหรือศึกษาค่ามาตรฐานของ Food Additive อื่นๆได้ที่ http://fa.kfda.go.kr/foodadditivescode.html
ซึ่งจะเป็นเว็บDataที่ท่านผู้ใช้สามารถสืบค้นได้เองค่ะ

เทคนิคการผลิตไม่มีผลต่อการห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่น หากควบคุมเรื่อง food safety ได้ตามมาตรฐานและระเบียบที่เกี่ยวข้องค่ะ

ตอบ รายละเอียดด้านกฎหมายอาหารสามารถสอบถามได้ที่อีเมล์นี้หรือติดต่ออีเมล์นักวิจัยโดยตรงเลยค่ะ

สำหรับการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในอาหารส่งออกไปสหภาพยุโรป มีเอกสารเผยแพร่ในฐานข้อมูลกฎหมาย อาหารต่างประเทศ สามารถเลือกประเทศสหภาพยุโรป และเลือกหัวข้อวัตถุเจือปนอาหาร เรื่อง ราย ชื่อวัตถุเจือปนอาหารในภาคผนวก 2 ของ  Regulation 1333/2008 ค่ะ

ซึ่งปริมาณการใช้จะกำหนดตามกลุ่ม/ชนิดอาหารนะคะ

ตอบ เนื่องจากำหมายในฐานข้อมูลไม่ได้จัดทำเฉพาะด้านสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งรายะเอียดชนิดของสารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่แต่ละประเทศจะระบุไว้ในกฎหมายฉลากอาหาร แต่เนื่องจากบางประเทศในฐานข้อมูลของ FIC ยังไม่มีการรวบรวมไว้ เช่น รัสเซีย อิสราเอล และบังคลาเทศ ค่ะ

สำหรับประเทศอื่นๆ มีในฐานข้อมูลแล้วค่ะ นิวซีแลนด์ใช้กฎหมายเดียวกับประเทศออสเตรเลียนะคะ
 
ทั้งนี้ ได้แนบเอกสารที่ได้จาก มกอช. ซึ่งรวบรวมชนิดสารก่อภูมิแพ้ในอาหารไว้ หากต้องการรายละเอียดเอกสารหรือต้นฉบับ
โปรดติดต่อที่ มกอช. ได้โดยตรงนะคะ

ตอบ สำหรับขั้นตอนในการส่งออกสินค้าอาหารไปประเทศญี่ปุ่น 

1.การเตรียมสินค้า ตรวจสอบส่วนประกอบตามมาตรฐานการนำเข้าของ ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ สารตกค้าง สารปนเปื้อน วัตถุเจือปนอาหาร ฉลากอาหารและฉลากโภชนาการ (กรณีทำฉลากเองในประเทศ)  และระบบความปลอดภัยอาหาร ต้องมี GMP codex, HACCP สำหรับการผลิตในภาชนะบรรจุปิดสนิททุกประเภท ทั้งหมดนี้ ต้องอ้างอิงตาม Food Sanitation Law ถ้าดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
 
2.การเตรียมเอกสาร สำหรับเอกสารประกอบการส่งออก เช่น ใบรับรองต่างๆ  ต้องติดต่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
  Health Certification ของที่ กรมวิชาการเกษตร
  Certificate of free sale ขอที่สภาอุตสาหกรรม 
  Certificate of origin  ขอที่กระทรวงพาณิชย์ และใบรับรองอื่นๆ ถ้าผู้นำเข้าร้องขอ
 
  บางครั้ง อาจต้องมีผลการวิเคราะห์ทดสอบ (Test report) ของสินค้าแนบไปด้วย
 
เนื่องจากสินค้าไม่มีเนื้อสัตว์ เป็นพืชทั้งหมด สามารถติดต่อเรื่องใบรับรองการส่งออกได้ที่ กรมวิชาการเกษตร สอบถามรายละเอียดหรือศึกษาคู่มือได้ที่เว็บไซต์นี้ค่ะ

http://www.doa.go.th/kpr/index.php?option=com_content&view=article&id=60:2015-07-21-03-35-04&catid=13:2011-11-30-03-51-27&Itemid=47

ตอบ อียูไม่อนุญาตให้ใช้ Hydrogen peroxide กับอาหาร ทั้งการใช้เพื่อเป็น food additive (อ้างอิงตาม Regulation 11292/20114) หรือเป็น antibiotic (อ้างอิงตาม Regulation 37/2010) ดังนั้น จึงไม่มีค่า MRL ของสารนี้ในสินค้าอาหารค่ะ

ตอบ มาตรฐานด้านจุลชีววิทยา Standard 1.6.1  มาตรฐานโลหะหนัก Standard 1.4.1  หรือดูรายละเอียดในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ: ประเทศออสเตรเลีย 

http://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/LR5803-2-AU_microbiological-limit-amended_Mar2015-FIC.pdf และ http://fic.nfi.or.th/law/upload/file1/AU_2241.pdf

ตอบ กฎหมายที่ต้องการมีในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศนะคะ สำหรับ EU สามารถใช้ได้ตาม GMP, USA ใช้ได้ไม่เกิน 0.2%, THAI ไม่อนุญาตให้ใช้คะ

ตอบ หลักเกณฑ์การใช้วัตถุเจือปนอาหารของออสเตรเลีย จะพิจารณาตามกลุ่มอาหารซึ่งกะทิจัดเป็นผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ไม่ใช่ น้ำผลไม้ น่าจะอยู่ในอาหารกลุ่ม4.3 ดังนั้นจะใช้ สารทั้งสองชนิดนั้นไม่ได้ ยกเว้นมีเครื่องหมาย* ที่อนุญาตให้ใช้ใน Schedue 2,3,4 ได้

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การใช้วัตถุเจือปนอาหาร จะอนุญาตตามชนิดอาหาร หากไม่เขียนไว้ หมายถึง ไม่สามารถใช้ได้
กรณีที่ดู Schedue 1 แล้วมีเครื่องหมาย * ซึ่งจะมีคำอธิบายข้างล่างว่า *Additives in Schedules 2, 3 and 4 are permitted หมายถึง ให้ดูเพิ่มในตารางที่2, 3,4  อาจมีวัตถุเจือปนอาหารบางชนิดที่อยู่ในตารางดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้ได้ตาม GMP หรือสีที่อนุญาตเป็นต้น
 
หมายเหตุ สถาบันอาหารมีรับให้คำปรึกษาด้านกฎหมายอาหารต่างประเทศ วิธีการอ่าน ตีความกฎหมาย หรือ วิธีการสืบค้นกฎหมาย สามารถดูรายละเอียดได้ที่งานบริการหน้าเว๋บไซต์ FIC หรือติดต่อคุณกนกวรรณโทร. 028868088 ต่อ 3119

ตอบ กรมปศุสัตว์ยังไม่มีมาตรฐานไข่พาสเจอร์ไรซ์ นะคะ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆ เช่น มอก. ด้วยคะ ปัจจุบันไทยมีมาตรฐานฟาร์มไก่ ศูนย์รวบรวมไข่ เท่านั้นค่ะ

ตอบ ขอแนะนำดังนี้นะคะ

1. เบื้องต้น ควรศึกษากฎหมายอาหารของประเทศไต้หวันในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ ซึ่งมีกฎระเบียบการนำเข้าอาหาร, มาตรฐานผักและผลไม้อบแห้ง, มาตรฐานเครื่องปรุงรส, การแสดงฉลาก ขั้นตอนการนำเข้า และกฎหมายอื่นๆ เพื่อทราบข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ในส่วนของการเตรียมสินค้า: 
สำหรับลำไยอบแห้ง ต้องมาจากสถานที่ผลิตได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกรมวิชาการเกษตร สวน มี GAP และโรงงานผลิตต้องมี GMP ลำไยที่อบแห้แล้วต้องได้รับรองสุขอนามัยจากรมวิชาการเกษตร ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้จากคู่มือที่แนบมาพร้อมกันนี้ค่ะ
สินค้าอาหารแปรรูปอื่นๆ สถานที่ผลิตต้องได้มาตรฐาน GMP และ HACCP ซึ่งผ่านการขึ้นทะเบียนกับ อย. แล้ว และมีการรับรองมาตรฐานตามข้อกำหนดของประเทศไต้หวันก่อนการส่งออก
3. เอกสารประกอบการส่งออกที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate), ใบรายงานผลทดสอบตามมาตรฐานสินค้า (Test report) จากห้องแล๊ปที่ได้รับการรับรองหรือขึ้นทะเบียนสำหรับทดสอบอาหารส่งออก ส่วนเอกสารอื่นๆ เช่น เอกสารทางการค้า ภาษี ตรวจสอบจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ http://www.ditp.go.th/ กระทรวงพาณิชย์ค่ะ

ตอบ เนื่องจากพลาสติกมีสารทีใช้เป็นจำนวนมาก โดยทั้่วไปการตรวจวิเคราะห์จะใช้การทดสอบ Migration Test เพื่อตรวจหาสารที่กระจายออกมาว่าอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือไม่ ในหน่วย mg/dm2 (มิลลิกรัมต่อพื้นที่ตารางเซ็นติเมตร) หรือค่า SML ในเอกสารค่ะ

รายละเอียดทางกรมวิทยาศาสตร์บริการ น่าจะให้รายละเอียดได้มากกว่า เพราะเป็นห้องแล๊ปด้านบรรจุภัณฑ์โดยเฉพาะค่ะ

สามารถติดต่อสอบถามรายการทดสอบตามระเบียบนี้ ได้ที่ โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิทยาศาสตร์บริการ   
โทรศัพท์ 0 2201 7182-3  โทรสาร    0 2201 7181

ตอบ ข้อกำหนดการใช้สีในอาหารขอประเทศจีน สามารถดูรายละเอียดในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ ประเทศจีน เรื่อง มาตรฐานการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ส่วนที่ 1) ซึ่งในเอกสารจะเรียงตามชื่อวัตถุเจือปนอาหารในภาษาอังกฤษ และปริมาณการใช้แตกต่างกันตามชนิดอาหาร (คล้ายตารางการใช้ใน Table 1 ของ Codex ค่ะ)

ตอบ ในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารต่างประเทศ มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย สำหรับ มาตรฐานแป้งมันสำปะหลัง และ แป้งดัดแปรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร และมาตรฐานโคเด็กซ์สำหรับแป้งมันสำหปะหลังเพื่อบริโภคค่ะ

ตอบ กรณีที่หมายถึงกฎหมายเกี่ยวกับสินค้าข้าที่ออกประกาสฉบับล่าสุดในเร็วๆ นี้ ไม่พบข้อมูลนะคะหรือหมายถึงกฎหมายเรื่องข้าวฉบับล่าสุดที่ประกาศใช้คือฉบับไหน ต้องขออภัยเนื่องจากทาง สถาบันไม่มีเว็บลิงค์โดยตรงกับหน่วยงานที่ออกกฎหมายอาหารของรัสเซียโดยเฉพาะ แต่จะสืบค้นและแจ้งให้ทราบอีกครั้งนะคะ

ตอบ การตั้งชื่ออาหารไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับส่วนประกอบ หลักเกณฑ์คือให้สอดคล้องกับลักษณะ อาหารมากที่สุด หรือสื่อถึงส่วนผสมที่มีอยู่ ดังนั้นสามารถใช้ชื่อ ได้ทั้ง Mango coconut smoothies หรือ Coconut mango smoothies ค่ะ

ตอบ กลุ่มประเทศตะวันออกกลางมีกฎหมายที่ใช้รวมกันว่า GSO  เรื่องฉลาก มี 2 ฉบับ ตามเอกสารแนบคะ ส่วนสัญลักษณ์ที่มีบนฉลากมีเฉพาะเรื่อง Halal เท่านั้นคะ

!!!!!  ขอความกรุณาห้ามเผยแพร่ไฟล์กฎหมายต่อ เนื่องจากเอกสารเหล่านี้มีลิขสิทธิ์ที่ทาง GSO จัดทำไว้เฉพาะจัดจำหน่ายเท่านั้น การเผยแพร่อาจมีความผิดทางกฎหมายได้ ขอให้ใช้เฉพาะในส่วนของลูกค้าเท่านั้นนะคะ

ตอบ กรณีที่ใช้เป็น processing aids และไม่พบใน finish product โดยมีการตรวจวิเคราะห์แล้ว ไม่ต้องแสดงรายการดังกล่าวบนฉลากคะ

ตอบ ปัจจุบัน มีเฉพาะประเทศสหรัฐฯและแคนาดา ที่มีกฎหมายกำหนดเรื่องการ claim คะ เนื่องจากเป็นสารอาหารที่บังคับต้องแสดงบนฉลากโภชนาการ ส่วนประเทศอื่น คือ อียู และออยเตรเลีย ยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้แสดงข้อมูลไขมันชนิดนี้ ดังนั้นจึงไม่มีหลักเกณฑ์ในการกล่าวอ้างแต่หากต้องการอ้างถึงปริมาณ  สามารถใช้หลักเกณฑ์ของประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐฯ ได้คะ

ข้อมูลของสหรัฐฯ 
ข้อมูลของแคนาดา

http://www.inspection.gc.ca/food/labelling/food-labelling-for-industry/nutrient-content/specific-claim-requirements/eng/1389907770176/1389907817577?chap=6

ตอบ Nutrition fact/ Nutrition information โดยทั่วไปหมายถึงข้อมูลทางโภชนาการเหมือนกัน แต่ตามกฎหมายของทั้ง อียู และสหรัฐฯ กำหนดรูปแบบให้แสดงข้อความต่างกัน ดังนั้นหากต้องการส่งสินค้าไปทั้ง 2 ประเทศ แนะนำให้เขียนทั้ง 2 อย่างคะ

ทั้งนี้ รูปแบบข้อความ หรือชนิดสารอาหารที่แสดงในตารางระบุคุณค่าทางโภชนาการทั้ง 2 ประเทศ ก็แตกต่างกันด้วยนะคะ เช่น สหรัฐฯคล้ายๆ ไทย แต่อียูให้เปรียบเทียบสารอาหารต่อ 100 mg หรือ ml เพิ่มอีก 1 คอลัมน์  ดังนั้น อาจต้องทำให้ครบถ้วนตามกฎหมายของ 2 ประเทศคะ

ตอบ การขอ Health Certification ของสินค้าอาหารแปรรูป ติดต่อที่ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

เอกสารจะต้องมีผลทดสอบจากห้องแล็ปที่ได้ขึ้นทะเบีนยไว้กับกรมฯ และเอกสารคำร้อง รวมทั้งเอกสารหลักฐานผู้ขอ หรือส่งตัวอย่างพร้อมขอใบรับรองได้ที่กรมฯ เลยคะ

ตอบ 1. Health Certification สินค้าประมง สามารถขอได้ที่กรมประมง โดยปกติผู้ผลิตจะต้องเป็นผู้ขอ หรืออาจมี Cert. นี้อยู่แล้วคะ การส่งออกให้เจ้าของสินค้าแนบใบ Cert. นี้ ประกอบการส่งออก เพื่อยืนยันว่าสินค้าของบริษัทที่ผลิตโดยโรงงานนี้ได้ผ่านการรับรองสุขอนามัยเรียบร้อยแล้วคะ

2. การใช้ค่าเฉลี่ย ขึ้นอยู่กับการควบคุมค่าบวกลบให้อยู่ในช่วงที่กำหนดไว้คะ
ในการผลิตจริง โดยปกติมีการอนุญาาตให้บวกลบได้ หากมี sampling plan ที่กำหนดให้น้ำหนักสุทธิสามารถอยู่ในช่วงบวกลบได้เท่าไหร่ และตรวจสอบแล้วว่าสามารถควบคุมได้ตามนั้นจริง ก็ใช้ได้คะ

ตอบ สามารถค้นได้จากเว็บไซต์นี้คะ  http://www.agricultura.gov.br/ ในเว็บกฎหมายอยู่ที่เมนู Legislacao คะ

แต่เนื่องจากบราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส ซึ่งอาจทำให้ไม่สะดวกในการสืบค้น จึงขอแนบเอกสารที่ทาง USDA สหรัฐอเมริกาได้จัดทำไว้เผยแพร่ มาเป็นข้อมูลเบื้องต้นคะ
 
อย่างไรก็ตาม โปรดตรวจสอบกับผู้นำเข้าเพื่อยืนยันว่ากฎหมายที่ระบุในเอกสาร GAIN Report เป็นมาตรการเดียวกับที่บราซิลใช้กับไทย ด้วยนะคะ

ตอบ หากหมายถึงขออนุญาตกับ อย. ไม่ต้องคะ เนื่องจาก อย. ดูแลเฉพาะอาหารและผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่รวมภาชนะบรรจุคะ

ตอบ ตามตารางในเอกสาร  %Acidity หมายถึง ค่าความเป็นกรด โดยต้องวิเคราะห์ในรูปของ Acetic acid เมื่อกำหนดค่าไว้ ไม่น้อยกว่า (Not less than) 1.0% หมายถึงต้องมีความเป็นกรด มากกว่า 1% ขึ้นไป ในที่นี้หมายถึง อาหารต้องมีการปรับพีเอชด้วยกรด อาจเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาคุณภาพอาหาร หรือ ลดการเจิญของจุลินทรีย์ เป็นต้น

แม้ ไม่ได้ใช้ แต่สามารถเติม Acetic acid หรือกรดน้ำส้ม/น้ำส้มสายชู ลงไปใด้ เพื่อให้ความเป็นกรด หรือ Acidity มากกว่า 1% ตามกำหนด ซึ่งไม่ผิดกฎหมายคะ
 
สำหรับการใช้กรดนี้เพื่อเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ให้ดูเพิ่มเติมในข้อกำหนดใน Appendix A อย่างไรก็ตาม Acetic acid เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ได้ตาม GMP หรือไม่จำกัดปริมาณอยู่แล้วคะ

ตอบ สำหรับรายละเอียดเรื่อง BRC โปรดติดต่อ นักวิชาการที่ปรึกษา ฝ่ายที่ปรึกษาอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร โทรศัพท์ 0-2886-8088 ต่อ 2101-7

จะเชี่ยวชาญเรื่องข้อกำหนดมากกว่าทางฝ่ายวิจัยและข้อมูลคะ

ตอบ โดยทั่วไปน้ำผลไม้จะไม่กำหนดค่า Brix ไว้คะ ยกเว้นเป็นผลไม้ที่ทำในรูปแบบ Concentrate, puree  หรืออื่นๆ ที่ไม่ใช่ juice คะ

ส่วนของน้ำผลไม้ที่ขายผู้ผลิตกำหนดเองคะ

ตอบ สำหรับประเทศมัลดีฟอ้างอิงกฎหมายโคเด็กซ์คะ

สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ FIC หรือ Codex ได้โดยตรงคะ

ตอบ สำหรับเอกสารประกอบการส่งออก แยกเป็น 2 ระบบ คือ

1. เอกสารทางศุลกากร เชน Invoice ต่างๆ 
2. เอกสารด้านความปลอดภัย 
ขอกล่าวถึงเฉพาะเอกสารด้านความปลอดภัย ได้ก่
- Health Certification หรือใบรับรองสุขอนามัย
- Test Report ผลการทดสอบสินค้าตามมาตรฐานญี่ปุ่น
- Certificate of Free Sale ใบรับรองการขาย (เพื่อยืนยันว่าเป็นสินค้าที่ขายจริงในประเทศ มิใช่ตั้งใจผลิตสำหรับส่งออกเท่านั้น)
- เอกสารอื่นๆ ผู้นำเข้าอาจขอให้มีการจัดทำเอกสารเพิ่มเติมเพื่อประกอบการนำเข้าได้
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทและส่วนประกอบของสินค้า (วัตถุดิบ, การบรรจุ-ภาชนะ เป็นต้น)  
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจใช้บริการที่ปรึกษาด้านกฎหมายอาหารส่งออก 
ติดต่อคุณเก๋ โทร. 02-886-8088 ต่อ 3119 ได้คะ

ตอบ ต้องขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยคะ เช่น ต้องการส่งออกไปประเทศใด ส่วนประกอบสำคัญ เป็นต้น

โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปข้อมูลที่ต้องศึกษาก่อนการส่งออก เช่น
- มาตราฐานสินค้า (ถ้ามี) ของประเทศผู้นำเข้า
- มาตรฐานสารเคมี เช่น วัตถุเจือปนอาหาร, สารตกค้าง, สารปนเปื้อน, จุลินทรีย์ ฯ
- ข้อกำหนดการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์
- เอกสารการรับรองประกอบการส่งออก เนื่องจากเป็นสินค้ากลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูง อาจต้องมีใบรับรองสุขอนามัย (Health Certification ) หรือใบรับรองปลอดโรค (ของวัตถุดิบ) เป็นต้น 
 
บางประเทศอาจมีกฎหมายที่กำหนดไว้ชัดเจน เช่น สหภาพยุโรป, สหรัฐฯ แต่บางประเทศก็อาจไม่มี ต้องใช้กฎหมายอื่นๆ ที่เทียบเท่าเพื่อใช้อ้างอิงแทนนะคะ

ตอบ วิธีวิเคราะห์วัตถุเจือปนอาหารใช้ตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักงาน อย. หากไม่พบ ใช้ตามที่ CODEX กำหนดไว้ในเว็บไซต์ของ JECFA  โดยสามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซต์นี้คะ

http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/

ตอบ  เนื่องจาก อย. มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับ 365 พ.ศ. 2556 เรื่อง มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค แต่ไม่พบว่ามีมาตรฐานสำหรับอาหารแช่แข็ง

ดังนั้น หากต้องการทราบเกณฑ์จุลินทรีย์ ต้องติดต่อที่สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะมีเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 2 ซึ่งอาจมีบางรายการที่นอกเหนือจากที่ อย. ได้ประกาศไว้
(ดูรายละเอียดได้ที่ http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/dmscguide1.pdf)
 
อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าควรตรวจสอบที่กรมวิทย์ฯ โดยตรงนะคะ เนื่องจากอาจมีบางรายการที่เจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นว่าต้องตรวจเพิ่มจากรายการที่ระบุในประกาศดังกล่าว

ตอบ

เว็บไซต์สืบค้นกฎหมายอาหารของประเทศปานามา มีเว็บที่สหรัฐฯ รวบรวมไว้ เช่น
 
(GAIN Report น่าจะข้อมูลมากที่สุด แต่ต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นกฎหมายเฉพาะระหว่าง US-Panama หรือไม่คะ)
 
 

http://agriexchange.apeda.gov.in/IR_Standards/Import_Regulation/Panama.pdf

ตอบ

ตามที่ได้สอบถามข้อมูล
1.ค่า pH ของ Cooling water เป็นค่าทางเทคนิคซึ่งข้อกำหนดอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- บริษัทที่มา Audit กำหนดเอง
- ใช้ข้อกำหนดของบริษัทแม่ ในที่นี้เนื่องจากเป็น Tesco อาจใช้ข้อกำหนดของ BRC ของสหราชอาณาจักร คะ

ทั้งนี้ การกำหนด pH น้ำใช้ในกระบวนการผลิตไม่พบมาตรฐานที่เป็นกฎหมายทั่วไป แต่มีคำแนะนำในด้าน Hygiene ให้อยู่ระหว่าง 7-8  (ดูเอกสารแนบเรื่อง Industrial Water)

2. อียูมีกฎหมายสำหรับ Drinking water คือ Directive 98/83/EC ตามเอกสารแนบคะ

ตอบ

เนื่องจากข้อมูลที่สอบถามค่อนข้างละเอียดมาก สนใจใช้บริการที่ปรึกษาในการทำฉลากอาหารเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นบริการใหม่ของฝ่ายวิจัยและข้อมูล ดูรายละเอียดได้ที่หน้าเว็บไซต์นี้คะ

http://fic.nfi.or.th/index.php/services/fic-consult

สำหรับข้อกำหนดการแสดงฉลากอาหารและฉลากโภชนาการของประเทศณญี่ปุ่นหากไม่สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ FIC ได้แนบไฟล์ที่มาพร้อมกันนี้แล้วคะ

ขนาดตัวอักษร ดู หน้า 8 ของเอกสาร Quality labeling.. น่าจะไม่เกิน 8 point สำหรับบรรจุภัณฑ์ทั่วไป และ ไม่เกิน 5.5 point สำหรับบรรจุภัณฑ์ขนาดน้อยกว่า 150 cm2 (point ไม่ได้หมายถึงมิลลิเมตรนะคะ แต่ 1 point (TeX) = 0.3514598035 mm = 1/72.27 inch)

สำหรับสหภาพยุโรป ยังไม่มีรูปแบบการแสดงฉลากโภชนาการ เพียงแต่กำหนดไว้เป็นกฎหมายว่าจะต้องมีข้อมูลอะไรบ้างใน Regulation 1129/2011 เท่านั้นคะ

ตอบ

ตาม CFR Title 21 Part 74 Sec. 74.706 FD+C Yellow No. 6. ใช้ได้ตาม GMP คะ
(หมายถึงไม่กำหนดปริมาณการใช้ให้ควบคุมตาระบบ GMP ของโรงงาน)

หากใช้กฎหมาย US ด้าน food additive บ่อยๆ มีเว็บที่สามารถค้นหาได้รวดเร็ว โดยใช้คีย์เวิรด์ค้นด้วยชื่อสารเลยคะ

http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm

ตอบ

นอกจากภายในฐานข้อมูลกฎหมายอาหารในเว็บไซต์ FIC แล้ว สามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขโดยตรงที่

http://fsis2.moh.gov.my/fosimv2/HOM/frmHOMPage.aspx

กฎระเบียบด้านความปลอดภัยอาหารของมาเลย์เซีย มีแค่ Food Law 1983 กับ Food Regulation 1985 เพียง 2 ฉบับ แต่ภายในจะมีรายละเอียดข้อกำหนดย่อยๆ เช่น labeling, additive, หรือข้อกำหนดอื่นๆ รวมอยู่ในนั้นคะ เว็บไซต์แรกจะมีให้ดาวน์โหลดคะ

ตอบ

สำหรับระเบียบ MRL ของสารกำจัดศัตรูพืชในสินค้าเกษตรและอาหาร ปัจจุบันอียูจัดทำเป็น Database ซึ่งจะสะดวดต่อการสืบค้นมากขึ้น ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์นี้คะ

http://ec.europa.eu/sanco_pesticides/public/index.cfm?event=homepage&language=EN

ตอบ

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข Specification ของวัตถุเจือปนอาหาร ให้ใช้ตาม Codex Advisory Specifications for the Identity and Purity of Food Additives สามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซต์นี้คะ http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/

ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของ JECFA ที่ทำข้อมูลความปลอดภัยวัตถุเจือปนอาหารให้โคเด็กซ์คะของ Lactic acid คือ http://www.fao.org/food/food-safety-quality/scientific-advice/jecfa/jecfa-additives/en/

ตอบ

ตามมาตรฐาน Gulf Standard หรือ STANDARDIZATION ORGANIZATION FOR G.C.C (GSO) มี Standard Additives Permitted for Use In Food Stuffs (GSO 5 DS/2013) ซึ่งเป็นมาตรฐานการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่บังคับใช้กับกลุ่มประเทศ GCC 
 
จากการตรวจสอบสารในรายการที่แจ้งมา
ข้อ 7 Silicon Dioxide เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาตให้ใช้ได้คะ
ข้อ 1-5 ไม่พบในมาตรฐานนี้คะ
ข้อ 6 Non dairy creamer ไม่น่าจะใช่วัตถุเจือปนอาหารนะคะ
 
ทั้งนี้ ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารของกลุ่มประเทศนี้จะค่อนข้างจำกัดชนิด เนื่องจากข้อห้ามตามหลักศาสนา (ฮาลาล) ดูรายละเอียดในเอกสารแนบเพิ่มเติมได้นะคะ

ตอบ

หากขึ้นทะเบียนสถานที่ผลิตกับ อย. มีระบบคุณภาพ GMP, HACCP หรืออื่นๆ แล้ว โดยทั่วไปไม่ต้องขอเลข อย. หรือขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การมีเลข อย. จะทำให้มีการตรวจสอบง่ายขึ้น กรณีสินค้ามีปัญหาส่งกลับ หรือมีข้อสงสัยด้านความปลอดภัยจากต่างประเทศ ทาง อย. จะให้ข้อมูลหรือตรวจสอบให้ได้คะ

ตอบ

เม็กซิโกมีกฎหมายเฉพาะของประเทศคะ ซึ่งจะใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก แต่มีบางเว็บไซต์ สรุปไว้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่คะ

http://agriexchange.apeda.gov.in/ir_standards/Import_Regulation/Food%20and%20Agricultural%20Import%20Regulations%20and%20Standards%20%20NarrativeMonterrey%20ATOMexico12192014.pdf/

ตอบ

การใช้ CMC และ Vitamin C ในผลลไม้อบแห้ง มีการจำกัดการใช้บางประเทศ ดังนี้คะ
 
Sodium Carboxymethyl Cellulose 
1. ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ใช้เฉพาะในไว์และสปารค์กิ้ง ตาม GMP เท่านั้น
2. แคนาดา และประเทศอื่นๆ ใช้ตาม GMP ไม่กำหนดชนิดอาหาร
3. US มีเฉพาะ Ethyl cellulose, Hydroxypropyl methyl cellulose, Hydroxypropyl cellulose, Methyl ethyl cellulose เท่านั้น ซึ่งจะใช้ตาม GMP
 
Vitamin C ใช้ได้ตาม GMP ไม่กำหนดชนิดและปริมาณ ในทุกประเทศ
 

ทั้งนี้ การใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารต้อง Declare ตามระบบการแสดงฉลาก กรณีมีการ Claim เรื่องปริมาณวิตามินซีในผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นไปตามกฎหมายของแต่ละประเทศ

ตอบ

ข้อกำหนดการใช้ Flavour ของแต่ละประเทศ ที่ต้องการมีดังนี้คะ
 
1. EU ใช้ Regulation 872/2012 ซึ่งอ้างอิงตาม Annex I ของRegulation 1334/2011
2. Codex ใช้ GUIDELINES FOR THE USE OF FLAVOURINGS CAC/GL 66-2008 ซึ่งเป็นคำแนะนำที่อ้างถึงการใช้สารแต่งกลิ่นที่มีการประเมินแล้วโดย JECFA ในเว็บไซต์ http://apps3.fao.org/jecfa/flav_agents/flavag-q.jsp
3. ไทย อ้างอิงจากโคเด็กซ์

ตอบ

Juice  ตามกฎหมายของอียูรวมอังกฤษ ใช้นิยามจาก  Codex STAN 247-2005 คะ
 
Fruit juice is the unfermented but fermentable liquid obtained from the edible part of sound, appropriately mature and fresh fruit or of fruit maintained in sound condition by suitable means including post harvest surface treatments applied in accordance with the applicable provisions of the Codex Alimentarius
Commission.
 
Some juices may be processed with pips, seeds and peel, which are not usually incorporated in the juice, but some parts or components of pips, seeds and peel, which cannot be removed by Good Manufacturing Practices (GMP) will be acceptable.
 
The juice is prepared by suitable processes, which maintain the essential physical, chemical, organoleptical and nutritional characteristics of the juices of the fruit from which it comes. The juice may be cloudy or clear and may have restored aromatic substances and volatile flavour components, all of which must be obtained by suitable physical means, and all of which must be recovered from the same kind of fruit. Pulp and cells obtained by suitable physical means from the same kind of fruit may be added. 
 
ดังนั้น ถ้าเป็นน้ำมะพร้าวอย่างเดียวใช้ Coconut water น้ำมะพร้าวผสมเนื้อ อาจใช้ Coconut juice ได้คะ

ตอบ

เนื่องจากซีอิ้ว ไม่มีมาตรฐานเฉพาะสำหรับการส่งออกไปฝรั่งเศส แต่สามารถใช้กฎหมายอาหารของอียูอ้างอิง โดยมีข้อกำหนดค่ามาตรฐานที่ต้องตรวจสอบ ต่อไปนี้คะ

1) วัตถุเจือปนอาหาร ได้แก่ สี สารกันเสีย สารแต่งกลิ่นรส เป็นต้น
2) สารตกค้าง โดยเฉพาะ 3 -MCPD
3) สารปนเปื้อน สารพิษจากเชื้อรา และ สารกำจัดศัตรูพืช
 
ซึ่งมีรายละเอียดในฐานข้อมูลศูนย์อัจฉริยะฯ  FIC อยู่แล้วคะ 
 
กรณีที่ลูกค้าต้องการรับบริการตรวจสอบรายการทดสอบ + ค่ามาตรฐาน เพื่อการส่งออก อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมคะ

ตอบ

ตามกฎหมาย EU และ US ไม่มีข้อกำหนดเรื่องการใช้คำว่า Real คะ
 
แต่ สำหรับอาหารทั่วไป (ที่มิใช้การเลียนแบบ หรือเจตนาทำปลอม) ถือว่าเป็น Real food ตามธรรมชาติอยู่แล้วคะ โดยไม่ต้องระบุว่า Real ซึ่งถ้าต้องการให้หมายถึงน้ำมะม่วงแท้ไม่ได้มาจากน้ำเข้มข้น ใช้ชื่อว่า Mango Juice from fresh mango หรือ Mango Juice 100% 

ตอบ

กรณีสีผสมอาหารสำหรับผลไม้อบแห้งมีหลายชนิดคะ ที่อนุญาตทั้ง EU และ Codex มีในฐานข้อมูลศูนย์อัจฉริยะ (FIC) อยู่แล้วคะ สำหรับรัสเซียอ้างอิงตาม EU ได้เลยคะ
 
ส่วนกฎหมายอาหารรัสเซีย โดยปกติมีเว็บไซต์ของ EU ที่รวบรวมกฎหมายอาหารเพื่อการส่งออกไปรัสเซียที่สามารถสืบค้นได้ ที่นี่คะ 
 
ส่วนเว็บไซต์นี้เป็นข้อมูลสินค้าที่ส่งมาจากประเทศไทยคะ 

ตอบ

เนื่องจากประเทศเซอร์เบียอ้างอิงกฎหมายอาหารของสหภาพยุโรปเป็นหลัก ดังนั้น
1. ข้อกำหนดด้านเชื้อจุลินทรีย์ประเทศเซอร์เบียสำหรับสินค้าผลไม้อบแห้ง (Candied fruit) สามารถอ้างอิงตาม EU Regulation 2073/2005 ได้คะ อย่างไรก็ตาม อียูไม่ได้กำหนดเกณฑ์จุลินทรีย์สำหรับอาหารแห้ง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อเชื้อจุลินทรีย์ต่ำ ดังนั้นจะใช้เกณฑ์ของไทย เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้คะ
 
2. แหล่งสืบค้นกฎหมายเกียวกับข้อกำหนดด้านเชื้อจุลินย์ (ทั้งในอาหารทั่วไปและผลไม้อบแห้ง) ของ Codex, EU, USA, Australia&New zealand สำหรับโคเด็กซ์ และ สหรัฐฯ ไม่ได้จัดทำเกณฑ์จุลินทรีย์ไว้ ให้ผู้ส่งออกปฏิบัติตาม GMP เพื่อควบคุมเชื้อจุลลินทรีย์ มีอียูที่มีเกณฑ์ ตามข้อ 1 (http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:02005R2073-20140601&qid=1424403746969&from=EN) และออสเตรเลียใน Standard 1.6.1 - Microbiological Limits for Food (http://www.comlaw.gov.au/Details/F2014C01189) คะ

ตอบ

เลบานอนสามารถใช้กฎหมาย Codex หรือ ใช้ของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ในฐานข้อมูล FIC อ้างอิงได้คะ
 
ทั้งนี้ Lebanon Food Regulation เผยแพร่กฎหมายผ่านเว็บไซต์ http://www.moph.gov.lb/pages/lawsregulations2.aspx 
โดยใช้ภาษาอาหรับคะ

ตอบ

1. อียูไม่มีกฎหมายอาหารเฉพาะอาหารพร้อมรับประทาน แต่กฎหมายอาหารของอียูเป็นแบบ Horizontal ซึ่งไม่ได้ทำไว้เฉพาะรายสินค้า แต่กำหนดไว้ครอบคลุมทุกชนิดสินค้าอาหาร เช่น ระเบียบกำหนดค่ามาตรฐานด้านจุลินทรีย์จะใช้กับทุกชนิดอาหารที่มีความเสี่ยงด้านจุลินทรีย์ รวมถึง ready-to-eat ด้วยคะ
 
2. อาหารพร้อมรับประทาน (RTE: ready-to-eat) กับ พร้อมปรุง (Ready-to-cook) ต่างกันในแง่ของการผลิตและบริโภค พร้อมทานหมายถึงอาหารที่สามารถบริโภคทันทีหลังเปิดหรือเอาออกจากภาชนะบรรจุโดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนใดอีก เช่น ขนมปังอบ ปลากระป๋อง ผลไม้แห้ง ส่วนพร้อมปรุงต้องผ่านกระบวนการปรุงอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนบริโภค เช่น อาหารแช่แข็ง แต่โดยทั่วไปตามหลักของศุลกากรไม่จัดแบ่งประเภทตามหลักเกณฑ์นี้แต่จะแยกเลยว่าเป็น อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง หรืออื่นๆ 
 
3. สำหรับตัวเลขการส่งออก สินค้ากลุ่มพร้อมบริโภคไม่มี HS code เฉพาะ เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้เป็นการจัดโดยเทคโนโลยีการผลิตมิใช่ตามระบบศุลกากร ซึ่งจะไม่สามารถระบุลงไปได้ว่ามีอาหารส่งออกชนิดใดบ้างที่เข้าข่ายเป็น RTE แต่สามารถดูสถิติการส่งออกในฐานข้อมูล FIC ได้จากhttp://fic.nfi.or.th/stat/search.php?id=3 
หากมีข้อสงสัยในส่วนสถิติสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
คุณจีระศักดิ์ คัมสุริย์ 
เบอร์ต่อ 3102

ตอบ

ระบุด้วยคำว่า Net wt. เช่นกันคะ แต่น้ำหนักสุทธิในที่นี้หมายถึง น้ำหนักเฉพาะเนื้อปลา ไม่รวมน้ำ หากในการผลิตมีการพ่น/สเปรย์ เพื่อการแช่แข็ง 
 
ดุรายละเอียดใน CFR Title 21 Part 101.105 หรือ http://www.gpo.gov/fdsys/pkg/CFR-2008-title21-vol2/xml/CFR-2008-title21-vol2-part101.xml#seqnum101.105

ตอบ

1. เรื่อง ข้อกำหนดการป้องกันการก่อการร้าย food defense  มีรายละเอียดในเว็บไซต์
http://www.fda.gov/food/fooddefense/ รายละเอียดไม่ได้ทำเป็นกฎหมาย เนื่องจากเป็นระบบที่ us fda ต้องการให้ผู้ผลิตอาหารส่งออกไปสหรัฐฯ ดำเนินการเพื่อความมั่นใจ ในการส่งออกสินค้าอาหาร แต่มีคำแนะนำในการดำเนินการ เช่น ระบบ ซอฟแวร์บันทึกข้อมูล ตัวอย่าง และวิธีการ เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดในเว็บไซต์คะ
 
2. เรื่อง สารห้ามใช้ในอาหารสำหรับมนุษย์ มีเกณฑ์กำหนดค่ามาตรฐานหรือไม่  สารห้ามใช้แบบไหนคะ 
หากเป็นสารที่อนุญาตจะมีอยู่ใน CFR Title 21 Part 170-175 ที่ถือว่าเป็นสารที่อนุญาตให้ใช้ทั้ง Direct เช่น วัตถุเจือปนอาหาร และ Indirect ที่เป็นพวกสารสำหรับบรรจุภัณฑ์  
 
สารกลุ่มอื่น เช่น pesticide หรือ contaminants เป็นความรับผิดชอบของ EPA ดูรายละเอียดในเว็บไซต์นี้คะ
 
3. เรื่องอื่นๆที่จำเป็นต่อการศึกษา
ปัจจุบันผู้ประกอบการควรศึกษากฎหมาย FSMA ด้านความปลอดภัยอาหารให้มากขึ้นคะ เนื่องจากจะมีผลต่อการตรวจสอบสินค้าอาหารนำเข้า รายละเอียดในเว็บไซต์นี้คะ
 
เพราะ FDA ออกระเบียบที่อ้างอิงจากกฎหมายนี้มากขึ้น เช่น เรื่องการ Register หรือการตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวดเพิ่มขึ้นคะ
 
สำหรับมาตรฐานจุลินทรีย์ สหรัฐฯ ไม่มีเกณฑ์ด้านจุลินทรีย์ในอาหารนำเข้า ดังนั้นให้ใช้เกณฑ์ของประเทศไทยสำหรับการตรวจวิเคราะห์เพื่อการส่งออกได้เลยคะ

ตอบ

Amended report, I was added information from DIT (MOC) already in page 3 of report (ข้อมูลเพิ่มเติม 3.)
 
Now I prepared translate to English.

ตอบ

เอกสารฉบับที่ 1 เป็นการสรุปความจากเอกสารฉบับที่ 2 คะ
 
เนื่องจากไม่ได้แปลจากต้นฉบับทั้งหมด จึงเผยแพร่แบบสรุปความ ปัจจุบันเอกสารฉบับที่ 2 เป็น คือ CFR Title 21 Part 101 ทั้งหมด 
 

ดังนั้น หากต้องการข้อมูลทั้งหมดในส่วนของ Food Labeling ดูเอกสาร ฉบับ 2 หากต้องการอ่านแบบสรุป ดูในเอกสารฉบับ 1 ได้คะ

ตอบ

สำหรับกฎหมาฉลากอาหารของประเทศในตะวันออกกลาง รวมถึง ซาอุ คูเวต การ์ตา อิรัก สามารถใช้ของ GSO หรือ หน่วยงานมาตรฐานของสภาความร่วมมือกลุ่มประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย (GCC) มีรายละเอียดในไฟล์แนบนะคะ

สำหรับประเทศโตโกซึ่งอยู่ในแอฟริกาปกติจะอ้างอิงตามมาตรฐานโคเด็กซ์คะ ทั้งนี้มีของประเทศแอฟริกาใต้ ในฐานข้อมูล FIC สามารถใช้อ้างอิงได้อีกทางหนึ่งคะ

ตอบ

กรณีทีี่ไม่ต้องระบุ เมื่อวิเคราะห์ในรูปของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ น้อยกว่า 10 ppm และส่งออกไปในประเทศที่กำหนดให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นสารก่อภูมิแพ้

หากใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (Food additive) ต้องระบุใน Ingredient list ไม่ว่าจะเหลืออยู่เท่าไหร่ก็ตาม

เมื่อใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารและมีอยู่ในรายการสารก่อภูมิแพ้ตามกฎหมาย จะต้อง declare ทั้งใน Ingredient list และ Allergen advice ด้วยคะ

ตอบ

ฉลากอาหารที่ไม่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ใช้ Regulation 1169/2011 ว่าด้วยการแสดงข้อมูลอาหารแก่ผู้บริโภค ซึ่่งเป็นระเบียบสำหรับการแสดงฉลากอาหารเช่นเดียวกับสินค้าอาหารทั้่วไปคะ อย่างไรก็ตามภายใต้ระเบียบนี้ต้องมีข้อมูลของสินค้าครบตามมาตรา 9 ของระเบียบคะ

สำหรับกรมมะนาว หรือ acetic acid นั้น ถ้าเป็นชนิดที่เติมลงไปไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติของอาหาร ถือว่าเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ต้องระบุตามรูปแบบการแสดงข้อมูลวัตถุเจือปนอาหารคะ เช่น Acetic acid (....) ในวงเล็บระบุหน้าที่ของการใช้คะ

ตอบ

สำหรับการจดทะเบียนกับ USFDA เกณฑ์ของน้ำผลไม้ทั่วไปกับแบบแช่เย็น แช่แข็ง ใช้อันเดียวกันคะ รวมทั้งชนิดของผลไม้ด้วยคะ เกณฑ์การพิจารณาอยู่ที่กระบวนการผลิตของเราคะ โดยทั้วไปไม่เกิน 1 สัปดาห์ นะคะ

ตอบ

รายละเอียดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร Sodium citrate ข้อกำหนดของ EU, Japan, และ ออสเตรเลีย  มีระบุในฐานข้อมูล Law & Regulation ภายในศูนย์ข้อมูล FIC คะ

- สหรัฐฯ ตาม CFR Title 21 Part 184.1751 สามารถใช้ได้ไม่จำกัดตาม GMP (http://www.accessdata.fda.gov/scripts/cdrh/cfdocs/cfcfr/CFRSearch.cfm?fr=184.1751&SearchTerm=sodium%20citrate)

ทั้งนี้ ทุกประเทศสามารถใช้ Sodium citrate ได้ และใช้ได้ไม่จำกัดปริมาณ (EU, Japan, US, Australia) แต่บางประเทศกำหนดชนิดอาหารที่อนุญาตให้ใช้และห้ามใช้ (South Korea) ด้วยคะ

ตอบ

ตอบคำถามดังนี้นะคะ
1.ถ้าเราส่วนผสมที่เราเติมเป็น Sodium metabisulphite แต่เราวิเคราะห์ที่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็น Sulphur dioxide ดังนั้นเราจะต้องระบุส่วนผสมในฉลากเป็นชื่อสารตั้งต้นที่ใช้ในที่นี้คือโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์
2.ถ้ามีการเติม Glycerine ในกระบวนการผลิต 3 % เพื่อให้ช่วยลดค่า aw ในผลิตภัณฑ์ จะระบุส่วนผสมบนฉลากในกรณีที่ในผลิตภัณฑ์คงเหลืออยู่ ซึ่งต้องทดสอบวิเคราะห์ในห้องแล๊ป ถ้าไม่พบก็ไม่ต้องระบุบนฉลาก
3.ถ้าเรามีการเติมกรดมะนาวในกระบวนการผลิตเพื่อช่วยปรับ pH ไม่มีผลในด้านรสชาติจะต้องระบุเป็นส่วนผสม พิจารณาเหมือนข้อ 2 คะ ดูว่าหลงเหลืออยู่ในผลิตภัณฑ์หรือไม่คะ

ตอบ

1. จำเป็นจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือไม่ขึ้นอยู่กับจะส่งออกในนามบริษัทของตนเองหรือมีผู้ซื้อมาดำเนินการให้แล้วเราทำหน้าที่ผลิตอย่างเดียว หากต้องการจดทะเบียน ติดต่อที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่าประเทศ กระทรวงพาณิชย์คะ

2. หากต้องการส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์ ต้องรู้กฎหมายอาหารของสิงคโปร์ซึ่งมีในฐานของมูลศูนย์อัจฉริยะฯคะ ทั้งนี้ต้องผ่านการรองรับมาตรฐานคุณภาพทั้ง GMP และ HACCP เนื่องจากเป็นสินค้าประมงมาตรฐานคุณภาพต้องสูงคะ

3. สำหรับลุกค้า อาจต้องหาลูกค้าเองนะคะ รัฐจะสนับสนุนในส่วนของรายชื่อผู้ซื้อในต่างประเทศ สถาบันอาหารมีเว็บไซต์http://thailandfoodmarket.com/?lang=th เป็นตลาดผู้ซื้อและผู้ขาย ลองเข้าไปดูรายละเอียดนะคะ

ตอบ ข้อมูลการใช้ Glycine เป็นวัตถุเจือปนอาหาร

1. ญี่ปุ่น
 
2. สหรัฐฯ
 
3. แคนาดา

http://laws-lois.justice.gc.ca/PDF/C.R.C.,_c._870.pdf

ตอบ ขอตอบคำถามดังนี้นะคะ
1. มาตรการทางภาษีของประเทศนิวซีแลนด์ มีความตกลงการค้าเสรีทำให้ปัจจุบันภาษีเป็นศูนย์ ส่วนมาตรการทางการค้าดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ http://www.foodsafety.govt.nz/industry/importing/


2. มาตรฐานการแสดงฉลาก ดูรายละเอียดในเว็บไซต์
http://www.foodsafety.govt.nz/industry/general/labelling-composition/


3.สัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นการบอกจำนวนเดือนที่ยังสามารถใช้ได้หลังเปิดใช้ครั้งแรก เช่น 6M คือหลังเปิดใช้ได้ภายใน 6 เดือน หรือหมายถึง ช่วงเวลาเป็นเดือนที่ยังเหมาะสมสำหรับการใช้ แต่ไม่ใช่วันหมดอายุนะคะเป็นเพียงคำแนะนำคะ

ตอบ ขอตอบคำถามดังนี้คะ

ตามกฎหมายอาหารของสหรัฐฯ กำหนดให้สินค้าประมงและผลิตภัณฑ์นำเข้าทุกชนิด มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายในประเทศ ต้องมาจากโรงงานที่ผ่านการรับรองระบบ HACCP ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานด้านความปลอดภัยสำหรับสินค้าอาหาร ดังนั้น หากส่งออกตามขั้นตอนนำเข้า-ส่งอ อก สินค้าต้องได้รับรอง HACCP ทุกชิ้น (ไม่มีปริมาณขั้นต่ำคะ) ซึ่งจะมีหน่วยงาน USFDA ร่วมกับ CBP และ FSIS ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าอาหารนำเข้าสุ่มตรวจสอบคุณภาพที่ด่าน/ท่าเรือ ทุกครั้ง รวมทั้งตรวจสอบที่มาสินค้านั้นด้วยว่าได้รับการรับรองตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
 
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการส่งไปจำนวนน้อยส่งผ่านระบบไปรษณีย์ โดยไม่ผ่านด่าน/ท่าเรือ อาจจะยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบดังกล่าว แต่หากมีการสุ่มเปิดดูกล่องสินค้าภายในแล้วพบว่าเป็นอาหารทะเล อาจจะมีข้อสงสัยในด้านความปลอดภัย ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้าที่มองเห็น และฉลากระบุข้อมูลสินค้า
 
ดังนั้น การติดฉลากให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ หรือมีข้อความระบุว่าเพื่อบริโภคห้ามจำหน่าย ก็จะช่วยลดกระบวนการตรวจสอบและข้อสงสัยลงได้คะ

ตอบ ตามที่สอบถามขอเรียนดังนี้คะ

1. โดยทั่วไปมาตรฐาน/กฎหมาย/ระเบียบ การแสดงฉลากโภชนาการของประเทศต่างๆ มีเพียงประเทศละ 1 ฉบับ แต่อาจมีแยกเป็น Nutrition labeling และ Nutrition claim หรือ Adding nutrition แยกกันได้ แต่จะมีการทบทวนและ update ให้ทันสมัยอยู่เสมอ โดยทั้ง 3 ประเทศ มีกฎหมาย ดังนี้
- Codex: Guideline on Nutrition Labeling 2-1985 revised 2013 
- US: Guidance for Industry: A Food Labeling Guide
- GCC: GSO 2233 Requirements of Nutrition labeling

2. สำหรับการ declare เรื่อง GMO นั้น บางประเทศมีรายละเอียดอยู่ในกฎหมายฉลากอาหาร แต่บางประเทศมีกฎหมายเฉพาะ
- Codex: แยกเป็น ด้านพืช จุลินทรีย์ และ สัตว์
Guidelines for the Conduct of Food Safety Assessments of Foods Derived from Recombinant-DNA plants (CAC/GL 45-2003) 
Guidelines for the Conduct of Food Safety Assessments of Foods Derived from Recombinant-DNA microorganisms (CAC/GL 46-2003) 
Guideline for the Conduct of Food Safety Assessment of Foods derived from Recombinant-DNA Animals (CAC/GL 68-2008) 
- US: DRAFT Guidance for Industry: Voluntary Labeling Indicating Whether Foods Have or Have Not Been Developed Using Bioengineering
GCC: GSO 2142-2011: GENERAL REQUIREMENTS FOR GENETICALLY MODIFIED PROCESSED FOOD AND FEED (Draft Standard)

ตอบ อาหารก่อภูมิแพ้ของประเทศจีน มี 8 รายการ ได้แก่ Grain (wheat bran cereals containing gluten), shellfish (crustacean), fish, eggs, peanuts, soybeans, milk and tree nuts นะคะ
ตาม GB 718-2011 National Food Safety Standard General Standard for the Labeling of Prepackaged Foods

ตอบ สำหรับกฎหมายแอฟริกาใต้ โดยทั่วไปใช้ได้คะ แต่มีบางฉบับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมบ้างแล้วแต่ก็อ้างอิงฉบับเดิมอยู่ ยังไม่ยกเลิก เช่น Micro หากท่านสมาชิกใช้กฎหมายเกี่ยวกับสินค้าใดเป็นการเฉพาะสมารถแจ้งให้เราตรวจสอบเพิ่มเติมได้นะคะ

ตอบ มาตรฐานสินค้าข้าวของสหภาพยุโรป และ สหรัฐฯ ตามในระบบ fic.nfi.or.th

EU: Regulation 1785/2003 
US: Standard of Rice 2009
Codex Stan 198-1995
ทั้งนี้ Rice Codex เป็นมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO ซึ่งต่างจากของ 2 ประเทศ ข้างต้น แต่แนบมาพร้อมกันนี้คะ
 
อย่างไรก็ตาม มาตรฐานดังกล่าวไม่รวมถึง contaminant and residue แต่จะระบุเพียงแค่เกรดและชั้นคุณภาพของสินค้าเท่านั้นคะ

ตอบ  เนื่องจากกัมพูชาไม่มีการกำหนดมาตรฐานน้ำปาล์มไว้คะ

ดังนั้น จึงใช้มาตรฐาน Codex Standard อ้างอิงแทนได้คะ โดยสามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซต์นี้คะ

http://www.fao.org/docrep/004/y2774e/y2774e04.htm

ตอบ ข้อมูลในการส่งออกไปสหรัฐฯ 

1. ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนกับ USFDA ได้แก่ Registration of Food Facilities ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ 
 
หากต้องการคำปรึกษา สถาบันมีบริการรับขึ้นทะเบียน โดยติดต่อที่แผนกบริการวิศวกรรม โทรศัพท์ 02-886-8088 ต่อ 2301-7
 
2.กฎ ระเบียบการนำเข้าสามารถศึกษารายละเอียดได้จากฐานข้อมูลในศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร หรือ 
 
เว็บไซต์ US FDA 
 
ซึ่งจะมีข้อมูลกฎ ระเบียบ และ guidance ต่างๆ คะ

ตอบ อียูกำหนดชนิดอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ ซึ่งต้อง declaration บนฉลาก ตามระเบียบ Regulation 1169/2011 เรื่อง Food information to consumer ปัจจุบันมี 14 รายการ ดูรายละเอียดใน Annex II ของระเบียบนี้ได้เลยคะ

(มีให้ดาวโหลดในฐานข้อมูลศูนย์อัจฉริยะฯ)

ตอบ  ตาม Food Additive Standards for Use, according to Use Categories, 2013

ไม่มีชนิดสารให้ความหวานเฉาพสำหรับผลไม้ แต่ มี D-Sorbitol, Xylose และ D-Xylose ที่สามารถใช้กับอาหารได้ทุกชนิดคะ ส่วนสารให้ความหวาน (sweetener) ชนิดอื่นๆ จำกัดปริมาณและกลุ่มอาหารไว้ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้กับผลไม้แช่แข็งได้

ตอบ

ใบรายงานผล: บริการตรวจสอบรายการทดสอบสินค้าอาหาร

อ้างถึง

วันที่ 8 กรกฎาคม 2557

บริษัท นิตยาไทยเคอรี่ โปรดักส์ จำกัด

สอบถามรายการตรวจวิเคระห์: ตามมาตรฐานของ EU: สหภาพยุโรป 

ชนิดสินค้า: น้ำพริกแกงเผ็ด /น้ำพริกแกงเขียวหวาน

ส่วนประกอบ: พริกขี้หนูสด, พริกชีฟ้าแห้ง, ข่า, ตะไคร้, ผิวมะกรูด, กระเทียม,กะปิ

สรุปรายการทดสอบ

Food categories: 12.2.2 Seasonings and condiments

1.วัตถุเจือปนอาหาร (Food additives): อ้างอิง Regulation 1129/2011

Food additive lists

Maximum level (mg/kg)

Note

 

500

ใช้ชนิดเดียวหรือรวมกันแต่ต้องไม่เกินที่ระบุ

E 160d Lycopene

50

-

E 200-213 Sorbic acid - sorbates; Benzoic acid -benzoates

1,000

-

310-321 Gallates, TBHQ, BHA and BHT

200

-

 

2.สารปนเปื้อน (Contaminants): อ้างอิง Regulation 1881/2006
Ochratoxin A ไม่เกิน 15 mg/kg (ขิง, ข่า, ขมิ้น)
Cadmium ไม่เกิน 0.10 mg/kg (wet weight)
3.สารตกค้างทางการเกษตร (Pesticides): อ้างอิง Regulation 369/2005
http://ec.europa.eu/sanco_pesticides/public/?event=commodity.selection

4.จุลินทรีย์ปนเปื้อน (Microbiological criteria): อ้างอิง Regulation 2073/2005
เนื่องจากไม่มีเกณฑ์จุลินทรีย์สำหรับสินค้าอาหารกลุ่มนี้ ให้ใช้มาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขแทน

5.อื่นๆ เช่น ฉลากอาหาร และ Nutrition Information: อ้างอิง Regulation 1169/2011

ตอบ ปัจจุบันยังให้จดทะเบียนเฉพาะอาหารที่ผลิตในประเทศจีนคะ โดยหน่วยงาน AQSIQ เป็นผู้กำกับดูแลคะ

ตอบ เนื่องจาก BRC เป็นข้อกำหนดที่มีค่าใช้จ่ายสำหรับเอกสาร และไม่สามารถเผยแพร่ได้เนื่องจากเป็นลิขสิทธิ์นะคะ

โดยสามารถดูรายละเอียดได้และสั่งซื้อเอกสารได้จากเว็บไซต์ http://www.brcglobalstandards.com/ 
 
ทั้งนี้ NFI ไม่มีเอกสารเผยแพร่ แต่สามารถสอบถามนักวิชาการที่ปรึกษาด้าน BRC 
โดยติดต่อที่แผนกบริการที่ปรึกษาอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร โทรศัพท์ 02-886-8088 ต่อ 2112-3

ตอบ สำหรับข้อมูล

1. ค่ามาตรฐานคลอรีนในน้ำประปาวัดที่ปลาายท่อ มีค่าไม่เกิน 0.2 ppm
2. การนำของเสียจากอุตสาหกรรมมาใช้ประโยชน์ในการผลิตอาหารสัตว์ ต้องสอดคล้องตามมาตรฐานการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง คุณภาพและมาตรฐานอาหารสัตว์ พ.ศ. 2548  มีระบุไว้คะ

ตอบ สำหรับมาตรฐานนมผงของสาธารณรัฐประชาชนจีน คือ GB 19644-2010 รายละเอียดดูได้ในระบบ fic.nfi.or.th

ตอบ ตามกฎหมาย Food Standard of Australia สารที่กำหนดให้เป็น allergen ประกอบด้วย peanuts,tree nuts, milk, eggs, sesame seeds, fish and shellfish, gluten, sulphite, soy and wheat

สำหรับปลากหมึก จัดอยู่ในกลุ่ม shellfish ซึ่งได้แก่
Abalone
Clams
Cockle 
Crab
Crawfish
Lobster
Molluscs
Mussels
Octopus
Oysters
Prawns
Scallops
Shrimp (crevette) 
Sea snails 
Squid (calamari)
 
การระบุบนฉลากใช้คำว่า Contain เช่น Contain Octopus (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์นี้คะ http://www.foodstandards.gov.au/consumer/foodallergies/allergies/Pages/default.aspx)

ตอบ

1.ปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดกำหนดค่า MRL ออกมาอย่างเป็นทางการ มีเพียงการกำหนดออกมาเป็นข้อแนะนำและวิธีการลดปริมาณของสารอะคริลาไมด์เท่านั้นค่ะ
 
2.สำหรับประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี ยังไม่มีข้อมูลเผยแพร่ออกมาค่ะ

3.สหภาพยุโรป(EU)
สหภาพยุโรปได้ออกเป็นคำแนะนำในการติดตาม (Monitoring) คำแนะนำนี้ได้ผ่านการพิจารณาและประเมินความเสี่ยงโดยสำนักความปลอดภัยอาหารแห่งยุโรป(EFSA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งระดับการติดตามในคำแนะนำนี้จะมีการปรับแก้ไขครั้งต่อไปในอีก 2 ปี ข้างหน้า โดยจะรายงานผลการติดตามระดับสารนี้ประมาณวันที่ 31 ตุลาคม 2557 ถึง 30 เมษายน 2558

 - RECOMMENDATION on investigations into the levels of acrylamide in food (2013/647/EU) สามารถดูรายละเอียดได้จาก

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2013:301:0015:0017:EN:PDF

- COMMISSION RECOMMENDATION of 2 June 2010 on the monitoring of acrylamide levels in food สามารถดูรายละเอียดได้จาก 

http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=OJ:L:2010:137:0004:0010:EN:PDF

4.อเมริกา

 

http://www.fda.gov/food/foodborneillnesscontaminants/chemicalcontaminants/ucm2006782.htm

5.แคนาดา

 

http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/securit/chem-chim/food-aliment/acrylamide/index-eng.php

ตอบ จากการสืบค้นข้อมูลพบมาตรฐานน้ำผลไม้ตามมาตรฐานมอก. จำนวน 2 ฉบับนะคะได้แก่ น้ำเก็กฮวยเข้มข้น มอก. 789-2531 และน้ำหวานเข้มข้น มอก. 155-2532 ซึ่งทั้ง 2 ฉบับกำหนดปริมาณสารที่ละลายทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่า 65 องศาบริกซ์ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่เป็นมาตรฐานสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ที่ต้องดูรายละเอียดจากเล่มเต็ม

ตอบ ยังไม่อนุญาตให้ใช้ โดยจากข้อมูลพบว่ามีการปฏิเสธการนำเข้ากะทิที่มีการเติม polysorbate จากอินเดียในญีปุ่น สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.mhlw.go.jp หน้า imported food inspection homepage

ตอบ ถ้ามีปริมาณซัลไฟด์เหลือไม่เกิน 10 ppm ตามข้อกำหนดเรื่องการแสดงฉลากของสหรัฐอเมริการะบุว่าไม่ต้องแสดง แต่หากจะแสดงต้องอยู่หลังคำว่า Contains Less than 2% the following ingredient……

ตอบ EU สั่งห้ามใช้ methyl bromide ในการรมควันตู้คอนเทนเนอร์ตั้งแต่วันที่ 18 March 2010
โดยมีรายละเอียดข้อกำหนดตาม Decision 2008/753/EC และ Regulation (EC) No 1005/2009

ตอบ ไม่จำเป็นต้องตรวจทั้งหมด เพราะไม่เช่นนั้นจะเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์มากกว่าค่าสินค้า ให้พิจารณาว่าจะต้องตรวจสารเคมีชนิดใดจากความเสี่ยงที่คาดว่าจะมีสารเคมีชนิดนั้นจากการเพาะปลูก (GAP) หรือการปนเปื้อนจากธรรมชาติประกอบกัน

ตอบ กำหนดให้เป็น Allergen ที่ต้องระบุบนฉลากอาหาร (กรณีถ้ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์) เช่นเดียวกัน โดยให้เลือกตำแหน่งที่เขียนไว้ได้ 2 แบบคือ 
1.ขึ้นต้นด้วย Contains: และตามด้วยชื่อสามัญของ Food Allergen
2.ระบุชื่อสามัญของ Food Allergen ในวงเล็บต่อท้าย ingredient ชนิดนั้นๆ

ตอบ ต้องปฏิบัติตาม Annex III ของ Regulation 1169/2011 ที่ให้ใส่คำว่า with sweetener ต่อท้ายชื่ออาหาร

ตอบ กำหนดให้ระบุบนฉลากอาหาร (กรณีถ้ามีอยู่ในผลิตภัณฑ์) โดยให้เขียนชื่อสามัญของ Food Allergies rare but risk ไว้ในส่วนของ ingredient เลย ซึ่งแตกต่างจาก Food Allergen ที่ให้เลือกตำแหน่งที่เขียนไว้ได้ 2 แบบคือ 
1.ขึ้นต้นด้วย Contains: และตามด้วยชื่อสามัญของ Food Allergen
2.ระบุชื่อสามัญของ Food Allergen ในวงเล็บต่อท้าย ingredient ชนิดนั้นๆ

ตอบ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องสำหรับการตรวจหา migration ของพลาสติกชนิด PE ที่สัมผัสกับอาหารตามข้อกำหนดของ U.S.FDA นั้น สามารถดูรายละเอียดได้ตาม link นี้

http://www.fda.gov/Food/GuidanceComplianceRegulatoryInformation/GuidanceDocuments/FoodIngredientsandPackaging/ucm081818.htm

ตอบ การแสดงข้อมูลปริมาณน้ำหนักเนื้อและน้ำหนักสุทธิของอาหารตามกฎหมายของไทย มีดังนี้
1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 194 เรื่อง ฉลาก กำหนดไว้ดังนี้ "กรณีที่อาหารมีส่วนผสมที่เป็นชิ้นหรือเนื้ออาหารผสมอยู่กับส่วนผสมที่เป็น น้ำหรือของเหลว และแยกกันอย่างชัดเจน ให้แสดงปริมาณน้ำหนักเนื้ออาหาร (drained weight) เว้นแต่อาหารที่ไม่อาจแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำหรือของเหลวนั้นได้" 
2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 144 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท กำหนดให้แสดงน้ำหนักเนื้อของอาหารแต่ละชนิดว่าต้องมีอย่างน้อยเท่าไรไว้บนฉลาก

ตอบ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.hc-sc.gc.ca/fn-an/pubs/guide-eng.php

ตอบ เนื่องจาก วันที่เริ่มมีผลบังคับใช้ (Entry into force on..) ตามระเบียบของอียูมักจะกำหนดเป็นวันที่ 20 ของวันที่ลงนามในเอกสารโดยประธานสหภาพยุโรป ซึ่งหมายความว่าเอกสารนี้จะเริ่มมีผลหลังจาก 20 วัน หลังวันที่ลงนาม ซึ่งระบุไว้หลังชื่อเรื่อง (Regulation 583/2012 ..of 2 July 2012)  หมายความว่าระเบียบนี้จะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 เป็นต้นไป (ซึ่งเป็นปกติสำหรับกฎหมายราชการของอียู)

แต่รายละเอียดของระเบียบนี้ได้กำหนดวันที่บังคับใช้สาร Polysorbate ตามข้อ (9) ซึ่งเป็นการอ้างอิงมาจาก Regulation 1129/2011 ที่เป็นระเบียบประกาศรายชื่อวัตถุเจือปนอาหารใน Annex II ของ Regulation 1333/2008 ซึ่งการใช้วัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 1 มิถุนายน 2556

ดังนั้น Regulation 583/2012 เป็นการอนุญาตให้ใช้ Polysorbate E432-436 ในกะทิ ได้ ตามข้อกำหนดใน Regulation 1169/2011

จึงหมายถึงจะสามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป โดยดูจากวันที่ผลิต (1 มิถุนายน 56 เป็นวันบังคับใช้ Food additives ตามชนิดและปริมาณที่กำหนดในระเบียบ 1169/2011 สามารถไปดูเพิ่มเติม ในฐานข้อมูลได้คะ)

ตอบ ผลิตภัณฑ์ประเภทโดนัท หากเป็นกฎหมายในประเทศ ยังไม่มีการกำหนดกฎหมายเป็นการเฉพาะ แต่ อย. ถือว่าเป็นอาหารพร้อมบริโภคทันที และต้องมีฉลาก (กลุ่มที่ 2 โปรดดูรายละเอียดในเว็บไซต์ด้านล่าง เรื่องการแบ่งกลุ่มอาหาร ตามพรบ. อาหาร ปี 2522)
 
ดังนั้น หากผลิตในเชิงการค้าต้องขออนุญาตกับทาง อย. และต้องแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดจากเว็บไซต์ของ อย. ได้ที่ http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food_54/law/announ_moph1-150.php
 
ซึ่งในเว็บไซต์ จะมีรายละเอียดสำหรับการขออนุญาตกับ อย. เช่น การขออนุญาตสถานที่ผลิต การแสดงฉลาก และประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่องฉลาก การใช้วัตถุเจือปนอาหาร เป็นต้น

ตอบ โดยทั่วไป ใช้ว่า  Bleaching agent ได้คะ
 
อย่างไรก็ตาม กฎหมาย EU (UK ใช้กฎหมายเดียวกับ EU เรื่อง Food additives) ใน Regulation 133/2008 ที่เป็นข้อกำหนดการใช้ Food additive ไม่มีชื่อกลุ่มนี้ ดังนั้น สำหรับสาร Sulphurdioxide - sulphite นั้น ให้ใช้ว่า Preservative ดีกว่าคะ
 
มีรายละเอียดเพิ่มเติมในเว็บไซต์ http://www.food.gov.uk/policy-advice/additivesbranch/enumberlist#anchor_7 ของ Food Standard of UK
หรือในฐานข้องมูล FIC มีระเบียบฉบับนี้คะ
 
ทั้งนี้ โปรดตรวจสอบปริมาณการใช้ในผลิตภัณฑ์ด้วยนะคะ

ตอบ ภายในฐานข้อมูลกฎหมาย ของเว็บไซต์ศูนย์อัจฉริยะฯ มีกฎหมาย UAE ไว้บริการสืบค้นคะ ตาม Link นี้ http://fic.nfi.or.th/law/

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527