อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มเชิงพาณิชย์ของไทย จากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าของรัฐในระยะแรกนำไปสู่การส่งเสริมการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะต่อมาซึ่งทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มในไทยขยายตัวและสามารถผลิตเครื่องดื่มหลากหลายประเภททั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
ตลาดผลิตภัณฑ์นมจากพืช ปี 2565 มีมูลค่า 17,960 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 6.6 โดยได้รับอานิสงส์จากเทรนด์การใส่ใจด้านสุขภาพ โดยเฉพาะหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีส่วนสำคัญกระตุ้นให้ผู้บริโภคในตลาดตระหนักและให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่เป็นประโยชน์มายิ่งขึ้น
ซุป (soup) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง รับประทานได้ง่าย รับประทานเป็นอาหารเช้า อาหารรองท้อง หรือเป็นอาหารจานแรกของการรับประทานอาหารที่เป็นชุด อย่างไรก็ตาม ซุปในบรรจุภัณฑ์ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่นิยมในประเทศไทยเท่าใดนักเมื่อเทียบกับโจ๊กสำเร็จรูป คาดว่ามูลค่าตลาดซุป ปี 2565 อยู่ที่ 397.6 ล้านบาท อัตราเติบโตในช่วงปี 2564-2569 อยู่ที่เพียงร้อยละ 2.7 ต่อปี โดยซุปพร้อมรับประทานมีมูลค่าตลาดมากที่สุด มีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 44.25 มูลค่า 175.9 ล้านบาท
ตลาดผลิตภัณฑ์ขนมอบ ปี 2565 มีมูลค่า 42,023 ล้านบาท เติบโต 10.8% โดยมี Farmhouse , Le Pan, S&P และ CPRAM เป็นเจ้าตลาด
ตลาดผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม ปี 2565 มีมูลค่า 29,632.4 ล้านบาท เติบโต 6.8% โดยมี Foremost , Meiji , Thai-Denmark และ Bear Band เป็นเจ้าตลาด
ตลาดขนมขบเคี้ยวประเภทผลไม้แห้ง ปี 2564 มีมูลค่า 1,329.7 ล้านบาท เติบโต 1.4% โดยมี Best , Greenday , Aki-ko และ Doi Kham เป็นเจ้าตลาด
สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่าจำนวนประชากรของประเทศ ในปี 2565 อยู่ที่ 1,411 ล้านคน ลดลง 850,000 คน จากปีก่อนหน้า ถือเป็นการลดลงของประชากรครั้งแรกในรอบ 60 ปี นับตั้งแต่ปี 2504 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของภาวะอดยากครั้งใหญ่ในประเทศ สถานการณ์ด้านประชากรของจีนนับว่าน่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากอัตราการเกิดของจีนในปีเดียวกันทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 6.77 คนต่อประชากร 1,000 คน ลดลงจากปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ 7.52 คนต่อประชากร 1,000 คน
ในปี 2565 ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับ 15 ของโลก อันดับโลกคงที่จากปีก่อนหน้า ส่วนสหรัฐอเมริกา บราซิล เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และจีน เป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อับดับที่ 1 ถึง 5 ของโลกตามลำดับ ส่วนประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่างอินเดีย มาเลเซีย และเวียดนาม มีอันดับโลกดีขึ้นทุกประเทศ โดยอันดับโลกของมาเลเซียเพิ่มขึ้น 4 อันดับ เวียดนามเพิ่มขึ้น 2 อันดับ และอินเดียเพิ่มขึ้น 1 อันดับ ส่วนประเทศจีนและอินโดนีเซียมีอันดับโลกคงที่
สาหร่ายเป็นตัวแทนของทรัพยากรส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตอาหาร อาหารสัตว์ และยา รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ แม้ว่าสาหร่ายทะเลจะมีประโยชน์มากมาย แต่การผลิตและการบริโภคสาหร่ายในปัจจุบันยังเติบโตช้า
การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2565 ประมาณการว่ามีมูลค่า 433 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 8.3 จากร้อยละ 2.6 ในไตรมาสก่อน จากความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และภาคการท่องเที่ยวที่กลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากหลายประเทศเร่งกระตุ้นให้ประชาชนออกมาเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ พร้อมทั้งผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในประเทศของตน ประกอบกับความต้องการบริโภคสินค้าอาหารเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาล และอานิสงส์จากราคาสินค้าอาหารส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้น
ภาพรวมตลาดอาหารโลก การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 3/2565 มีมูลค่า 419 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ชะลอตัวจากร้อยละ 8.8 ในไตรมาสก่อน ราคาสินค้าเกษตรอาหารทั่วโลกอ่อนตัวลงจากช่วงกลางปี หลังอุปทานสินค้าเกษตรอาหารปรับตัวสูงขึ้น ภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงกดดันตลาด ด้านตลาดในประเทศพบว่า ในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน มียอดค้าปลีกอาหารและบริการธุรกิจเกี่ยวเนื่องยังคงอ่อนแอ
การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อน โดยการผลิตได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่งจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ตลาดถั่วเปลือกแข็ง (Nuts) ของประเทศอินเดีย ปี 2565 มีมูลค่า 1,694,576.7 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 13.1% เมื่อเทียบกับปี 2564
ตลาดน้ำผลไม้ (Juice) ของประเทศสวีเดน ปี 2564 มีมูลค่า 6,929.2 ล้านโครนาสวีเดน มีอัตราการเติบโต 1.6% เมื่อเทียบกับปี 2563
ตลาดชาพร้อมดื่ม (RTD Tea) ของประเทศเวียดนาม ปี 2564 มีมูลค่า 26,328.3 พันล้านดองเวียดนาม มีอัตราการเติบโต 5.0% เมื่อเทียบกับปี 2563