สวัสดี

Technology & Innovation

เกษตรกรสหรัฐฯ เฮ เจรจาญี่ปุ่นลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรสำเร็จ

ตุลาคม 2562

รายละเอียด :

สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นทำข้อตกลงทางการค้าร่วมกันในระหว่างการประชุม G7 ที่จะมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เช่น เนื้อวัว เนื้อสุกร ธัญพืช และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งจะทำให้ภาษีนำเข้าอยู่ในระดับเดียวกับกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี

          สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นทำข้อตกลงทางการค้าร่วมกันในระหว่างการประชุม G7 ที่จะมีการลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เช่น เนื้อวัว เนื้อสุกร ธัญพืช และผลิตภัณฑ์นม ซึ่งจะทำให้ภาษีนำเข้าอยู่ในระดับเดียวกับกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี เช่น “ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)” ที่ปรับปรุงมาจาก “ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)” ซึ่งการบรรลุข้อตกลงทางการค้าในครั้งนี้ ส่งผลดีต่อเกษตรกรและผู้ประกอบการสินค้าเกษตรสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเนื้อวัว ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญ โดยญี่ปุ่นตกลงจะลดภาษีนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ เดิมทีผู้ผลิตปศุสัตว์ของสหรัฐฯ เสียเปรียบทางการค้ากับญี่ปุ่นเนื่องจากสหรัฐฯ ถอนตัวจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership : TPP) และพันธมิตรอีก 11 ประเทศ ที่ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าว จึงทำให้คู่แข่งเข้าถึงตลาดญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น เนื้อวัวของสหรัฐฯ ถูกญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้า 38.5 % ขณะที่ประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา เม็กซิโก และนิวซีแลนด์ ถูกญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้าเพียง 26.6 % เท่านั้น ซึ่งข้อตกลงการลดภาษีนำเข้าดังกล่าวจะส่งผลให้สหรัฐฯ ขยายการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากญี่ปุ่นตกลงจะลดภาษีนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ จาก 38.5% ให้เหลือ 9% ภายใน 15 ปีข้างหน้า และประเทศญี่ปุ่นยังเป็นผู้ซื้อข้าวโพดรายใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐฯ และเป็นคู่ค้าที่แข็งแกร่งและเป็นมิตรกับภาคเกษตรกรรมของสหรัฐอเมริกา และที่สำคัญญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกเนื้อวัวอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสี่ของการส่งออกเนื้อวัวสหรัฐฯ โดยในปี 2561 ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นซื้อเนื้อวัวคิดเป็นมูลค่า 2.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ กล่าวว่า “ข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นนี้เป็นข้อตกลงที่ดีสำหรับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ  และเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ของสหรัฐฯ”

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527