สวัสดี

Technology & Innovation

นักช้อปออนไลน์ในสหรัฐฯ อาจเพิ่มจำนวนเร็วกว่าที่คาดไว้

กุมภาพันธ์ 2561

รายละเอียด :

สาระสำคัญของข่าว

Food Marketing Institute และ Nielsen.คาดการณ์ว่านักช้อปสินค้าประเภทของชำส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ จะหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 5 ปีข้างหน้า และคาดการณ์ว่าร้อยละ 70 ของผู้ซื้อจะหันมาซื้อสินค้าประเภทของชำบางส่วนออนไลน์ภายใน 5-7 ปี ซึ่งค่าใช้จ่ายคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 100 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับการซื้อสินค้าออนไลน์ที่รวดเร็วกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ และจะกระทบต่อการซื้อสินค้าประเภทของชำในร้านค้าในอนาคตอันใกล้

แต่เดิมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารนิยมทำตลาดอีคอมเมิร์ชน้อยกว่ากลุ่มเสื้อผ้าและหนังสือ ประกอบกับผู้ซื้อมีความจงรักภักดีต่อร้านขายของชำที่ซื้อประจำ อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของเมนูชุดอาหารและการบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้าน ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อการเลือกซื้อของชำเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการที่ Amazon ซื้อกิจการ Whole Foods ห้างค้าปลีกของสดรายใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งนำมาสู่การรวมข้อมูล การขนส่ง และระบบอัตโนมัติ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุตสหกรรมแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ล่าสุดเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา Amazon ได้เป็น Amazon Go ร้านค้าไร้แคชเชียนร์เป็นครั้งแรก 

ความคิดเห็น

          พฤติกรรมของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนมาเลือกซื้อสินค้าอาหารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งคงไม่แตกต่างกับผู้บริโภคชาวไทยที่ให้ความสนใจกับช่องทางนี้เช่นกัน เพราะจากการที่ผู้บริโภคมีต้องการ     ความสะดวกรวดเร็วในการซื้อสินค้า ประกอบกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าออนไลน์แทนการซื้อจากร้านค้า ทำให้มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแต่ก่อนสินค้าที่ซื้อที่ผู้บริโภคนิยมซื้อออนไลน์จะเป็นพวกอุปกรณ์สินค้าแฟชั่นและความงาม เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ไอที แต่ในปัจจุบันตลาดอาหารออนไลน์ได้มีบทบาทมากไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้ออาหารสำเร็จรูปหรือการสั่งอาหารออนไลน์ จึงเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการอาหารไม่ควรมองข้ามอีกต่อไป

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527