สวัสดี

Technology & Innovation

สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียประกาศใช้กฎหมายศุลกากรฉบับใหม่

ธันวาคม 2560

รายละเอียด :

สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (ประกอบด้วย รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน และอาร์เมเนีย) ประกาศใช้กฎหมายศุลกากรใหม่ร่วมกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป หลังจากที่ทั้ง 5 ประเทศได้ทํางานร่วมกันมาเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งถือว่าเป็นนวัตรกรรมทางศุลกากรล่าสุด

กฎระเบียบศุลกากรดั้งเดิมได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2552 สมัยที่ยังมีสภาพเป็น “สหภาพศุลกากร” ที่มีสมาชิกเพียง3 ประเทศ (รัสเซีย เบลารุส และคาซัคสถาน) และได้นํามาเป็นฐานในการปรับปรุงขึ้นเป็นฉบับใหม่ แต่ต่อมาในปี 2558 ได้ก่อตั้ง “สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย” ขึ้นทดแทนพร้อมกับมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศ ได้แก่ คีร์กิซสถาน และอาร์เมเนีย

เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของระบบศุลกากรแล้วก็ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีการใช้กฎหมายทางศุลกากรอย่างสมบูรณ์เหนือดินแดนของทั้ง 5 ประเทศ รวมทั้งเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นผ่านเทคโนโลยีดิจิตอล ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสําคัญที่ธนาคารโลกควรจารึกและนําเอาไปเป็นปัจจัยในการพิจารณาและให้คะแนนในการจัดอันดับประเทศที่ง่ายต่อการประกอบธุรกิจต่อไป โดยทั่วไปแล้วจะสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการต่างๆ ที่ศุลกากรของรัสเซียก็ปฏิบัติอยู่แล้วโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาทดแทนแรงงานคน

 

กฎหมายใหม่นี้จะเป็นแบบรวมศูนย์ผ่านการมอบอํานาจจากระดับประเทศไปสู่ระบบสหภาพ โดยมีปรับเพิ่มจากเดิม 114 มาตราเป็น 297 มาตรา และเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวางตั้งแต่ช่วงเตรียมการซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการหารือกับสังคมธุรกิจมาก่อน แต่ทั้งนี้ก็มิได้ยอมรับข้อเสนอจากฝั่งผู้ประกอบธุรกิจไปเสียทุกประเด็น ซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่าความต้องการกําจัดอากรนําเข้าให้หมดเป็นสิ่งปรารถนาสูงสุด แต่ด้วยข้อจํากัดที่แต่ละประเทศต่างก็มีเป้าหมายทางด้านงบประมาณและปัจจัยด้านความมั่นคงที่แตกต่างกันไป

หน่วยงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติการทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ 3 ประเภท จะถูกบรรจุไว้ในกฎหมายใหม่ด้วย ภายใต้บทที่ว่าด้วยสถาบันหรือองค์กรที่มั่นใจได้ว่ามีความน่าเชื่อถือและสามารถที่จะนําไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ทางศุลกากรเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็วระหว่างประเทศสมาชิกจึงนําเอาระบบเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการทางศุลกากร ให้ความสําคัญกับการสําแดงด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้เอกสารกํากับ รวมทั้งการตรวจปล่อยสินค้าโดยอัตโนมัติ โดยที่การสําแดงในปัจจุบันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในสัดส่วนร้อยละ 99 และในลําดับต่อไปจะพัฒนาการตรวจปล่อยสินค้าอัตโนมัติให้ได้ร้อยละ 80 ทั้งนี้จากจํานวนการยื่นสําแดงทั้งสิ้นประมาณ 3.7 ล้านครั้งในปี 2560 มีเพียง 53,600 ครั้ง เท่านั้นที่ได้รับการตรวจปล่อยโดยไม่ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ศุลกากร

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527