สวัสดี

Technology & Innovation

จีนนำเข้าผลไม้เพิ่มมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

มกราคม 2561

รายละเอียด :

สาระสำคัญของข่าว

          ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีประชากรเป็นจำนวนมาก มีเส้นทางการขนส่งผลไม้ที่หลากหลายใช้ระยะเวลาในการขนส่งไม่มากนัก และสอดรับกับข้อจำกัดของผลไม้สดที่มีอายุการเก็บรักษาสั้น ซึ่งในปัจจุบันจีนนำเข้าผลไม้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ เชอรี่ บลูเบอรี่ อะโวกาโด และทุเรียน ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก นาย Zhao Xinwen กรรมการบริษัท Beijing Thaihechuangye International trading ระบุว่าจีนมีมูลค่าการนำเข้าผลไม้เพิ่มขึ้น 15-20% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเหตุผลหลักที่จีนมีการนำเข้าผลไม้เพิ่มขึ้น เนื่องจาก (1) รายได้ของผู้บริโภคจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น      (2) เพื่อช่วยเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภคจีนในช่วงเวลาที่ผลไม้ชนิดนั้นๆ ที่ปลูกภายในประเทศยังไม่ออกผลผลิตเพื่อขายในท้องตลาด (3) เป็นผลไม้ที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ในประเทศเนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้น เช่น ทุเรียน (4) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเกษตรทำให้ผลไม้ที่นำเข้ามีคุณภาพสูงและราคาแข่งขันกับผลไม้ท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ บริษัท XinFadi international green logistics park เป็นบริษัทรายใหญ่ในการนำเข้าผลไม้ เผยว่า การนำเข้าผลไม้ที่มีคุณภาพสูงนั้น มาจากหลายประเทศ เช่น ชิลี ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา เมื่อนำเข้ามายังประเทศจีนแล้วจะส่งต่อไปยังผู้ค้าส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมทั้งร้านค้าออนไลน์ เพื่อส่งต่อไปถึงมือผู้บริโภค

ความเห็น

          ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่จีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดมาจำหน่ายในตลาดจีนได้ เมื่อประเทศไทยได้รับโอกาสเช่นนี้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกทุเรียนไทยจึงควรรักษาคุณภาพและรสชาติทุเรียนเพื่อตอกย้ำให้ผู้บริโภคจีนเกิดความเชื่อมั่นหรือความไว้วางใจ (Trust) และจงรักภักดี (Loyalty) ต่อทุเรียนไทยต่อไป

ที่มา : 

http://www.freshplaza.com/article/184990/Chinese-fruit-imports-up-15-20-procent-with-more-varieties-available

http://www.ditp.go.th/ditp_pdf.php?filename=contents_attach/209868/209868.pdf&title=209868

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527