สวัสดี

Technology & Innovation

นักวิทยาศาสตร์เนสท์เล่ค้นพบวิธีลดน้ำตาลในช็อคโกแลตถึง 40%

ธันวาคม 2559

รายละเอียด :

เนสท์เล่บริษัทผู้ผลิตอาหารรายใหญ่อันดับสองของโลกสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ เจ้าของตราสินค้าช็อคโกแลต Kit Kats, Aeros และ Yorkies  ประสบความสำเร็จในการคิดค้นวิธีลดปริมาณการใช้น้ำตาลในช็อคโกแลตสูงสุดถึง 40% โดยไม่ทำให้เสียรสชาติ ซึ่งเนสท์เล่วางแผนว่าจะค่อย ๆ ลดปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ขนมของบริษัทที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวในปี 2018

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การค้นพบที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นการเปลี่ยนภาพลักษณ์สินค้าของเนสท์เล่อย่างมาก โดยเฉพาะแบรนด์ช็อคโกแลตอย่าง Kit Kat เนื่องจากในปัจจุบันภาพลักษณ์ด้านขนมเพื่อสุขภาพของเนสท์เล่อยู่ในระดับต่ำโดยมีสินค้าเพียง 3% เท่านั้นที่จัดอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (health and wellness) เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Mondelēz ที่มีสัดส่วนการจำหน่ายขนมเพื่อสุขภาพ 22%, Mars 24%, Hershey 10% และ Perfetti Van Melle 36%[1]

Mr. Stefan Catsicas หัวหน้าแผนกเทคโนโลยีของเนสท์เล่ กล่าวว่า การคิดค้นนี้เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผลึกของน้ำตาลให้มีลักษณะกลวง การละลายจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วสามารถกระตุ้นต่อมรับรสได้ไวขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถรับรสหวานได้แม้จะกินน้ำตาลในปริมาณน้อย เทคโนโลยีที่ได้คิดค้นขึ้นมาได้นี้ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สุดที่เนสท์เล่คิดค้นได้ และเตรียมยื่นขอจดสิทธิบัตรเร็ว ๆ นี้ โดยทางเนสท์เล่เปิดโอกาสให้บริษัทอื่นสามารถมาขออนุญาตนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในอนาคต

ความคิดเห็น
ปัจจุบันทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญกับการลดปริมาณน้ำตาลในอาหารกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของบริษัทรายใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงหลัง เช่น Coke-zero และ Pepsi-max ที่ลดปริมาณการใช้น้ำตาลและหันมาพึ่งความหวานจากวัตถุดิบอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบกับการออกกฎหมายภาษีน้ำตาลหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ เม็กซิโก และสหรัฐฯ เป็นการกดดันบริษัทผู้ผลิตให้ลดการใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานในกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้นประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก จึงควรตระหนักในเรื่องดังกล่าวและหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดรับกับกระแสการรักสุขภาพของผู้บริโภครวมทั้งยังมีส่วนช่วยลดอุปสรรคจากมาตรการการขึ้นภาษีของประเทศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

…………………………………………………………….

แหล่งข้อมูล: www.bloomberg.com และ  www.foodnavigator-usa.com

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527