สวัสดี

Technology & Innovation

แนวโน้มผู้บริโภคหันมาบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

กันยายน 2559

รายละเอียด :

ในทศวรรษที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีแนวโน้มบริโภคเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมลดลงและหันไปบริโภคน้ำบรรจุขวดทดแทน ผู้ประกอบการจึงพยายามกระตุ้นตลาดโดยการป้อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น Tom Vierhile ผู้อำนวยการวิจัยตลาดด้านนวัตกรรมเชิงลึก จากบริษัท Canadean, Fairport, N.Y.

สาระสำคัญของข่าว

          ในทศวรรษที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีแนวโน้มบริโภคเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมลดลงและหันไปบริโภคน้ำบรรจุขวดทดแทน ผู้ประกอบการจึงพยายามกระตุ้นตลาดโดยการป้อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น Tom Vierhile ผู้อำนวยการวิจัยตลาดด้านนวัตกรรมเชิงลึก จากบริษัท Canadean, Fairport, N.Y. กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Food Business News ว่า “เครื่องดื่มที่มีการนำเสนอคุณค่าทางโภชนาการกำลังเป็นที่น่าสนใจของตลาด” โดยอัตราการบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพต่อหัวประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าดั้งเดิม เช่น นมวัว น้ำผักผลไม้ และนมถั่วเหลือง ซึ่งเครื่องดื่มดั้งเดิมดังกล่าวกำลังเผชิญกับสินค้าทางเลือกใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และประกอบกับถั่วเหลืองก็ยังมีประเด็นเรื่อง GMOs ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ก็มีปริมาณน้ำตาลที่สูง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมมีสินค้านวัตกรรมด้านสุขภาพ เช่น น้ำ และกาแฟ เกิดขึ้นมาในตลาดอย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น กาแฟสกัดเย็น (cold brew coffee) น้ำผักผลไม้สกัดเย็น (cold pressed juices) น้ำต้มซุปไขกระดูก (bone broth) โพรไบโอติก (probiotics) ซึ่งกล่าวได้ว่าผักเป็นส่วนประกอบที่นิยมเติมแต่งในสูตรเครื่องดื่มสุขภาพมากกว่าผลไม้ เช่น Veggemo เป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศแคนาดาถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัว เป็นนมจากพืช (non-dairy) ผลิตจากถั่วลันเตา (pea protein) มันสำปะหลัง (tapioca) และมันฝรั่ง (potatoes) ผลิตโดย Global Gardens Group Inc., Richmond, B.C. Veggemo มี 3 รสชาติ รสดั้งเดิม รสไม่หวาน และรสวนิลา ผลิตภัณฑ์มีแคลเซียมสูง วิตามินดี และอุดมไปด้วยแหล่งของวิตามิน B12 และTropicana Essentials Probiotics ผลิตภัณฑ์ของบริษัท Pepsico เป็นน้ำผลไม้ผสมโพรไบโอติกออกมา 3 รสชาติ คือ   รสสตรอเบอร์รี่กล้วย รสสับปะรดมะม่วง และพีชเสาวรส ซึ่งมีกำหนดวางจำหน่ายต้นปีหน้า อีกทั้งแนวโน้มสำหรับผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในอนาคตจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องการสื่อความหมายและการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคด้านวัตถุดิบเทียบกับคำกล่าวอ้างทางโภชนาการ

          นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังคงต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมาจากส่วนผสมตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันแนวโน้มผลิตภัณฑ์น้ำตาลน้อยเป็นสิ่งที่น่าจับตามองเพราะอาจเป็นกระแสการบริโภคที่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง

ความคิดเห็น

          ผู้บริโภคในปัจจุบันใส่ใจสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้างมากขึ้นเพื่อห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ และนิยมบริโภคสินค้าที่มาจากธรรมชาติไม่มีการเสริม เติมแต่งใดๆ และนิยมบริโภคเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยหรือบริโภคเครื่องดื่มที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีการปรับตัวและออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : Foodbusinessnews. Better-for-you beverage trends. http://www.foodbusinessnews.net/articles/news_home/Consumer_Trends/2016/10/Betterforyou_beverage_trends.aspx?ID={4E784900-8FD3-4B38-93B4-C046E5C8A414}. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2559.

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527