สวัสดี

Technology & Innovation

รัสเซียร่วมเป็น 1 ในประเทศที่แบนการเพาะปลูกพืช GMOs

กรกฎาคม 2559

รายละเอียด :

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 รัสเซียได้ประกาศระเบียบ N358 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการห้ามดัดแปรพันธุกรรมพืชและสัตว์ ซึ่งเพิ่มความเข้มงวดของระเบียบด้านการควบคุม การลงทะเบียน การตรวจสอบและการนำเข้าสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรม รวมทั้งการสั่งห้ามเพาะปลูก ผสมพันธุ์และนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชที่มีการดัดแปรพันธุกรรมมายังรัสเซีย ยกเว้นกิจกรรมเพื่อการวิจัย โดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปรพันธุกรรมจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 50,000-500,000 รูเบิล

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 รัสเซียได้ประกาศระเบียบ N358 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการห้ามดัดแปรพันธุกรรมพืชและสัตว์ ซึ่งเพิ่มความเข้มงวดของระเบียบด้านการควบคุม การลงทะเบียน การตรวจสอบและการนำเข้าสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรม รวมทั้งการสั่งห้ามเพาะปลูก ผสมพันธุ์และนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืชที่มีการดัดแปรพันธุกรรมมายังรัสเซีย ยกเว้นกิจกรรมเพื่อการวิจัย โดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปรพันธุกรรมจะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 50,000-500,000 รูเบิล

          การออกระเบียบดังกล่าวได้จากการอ้างอิงผลการตรวจสอบผลกระทบของการดัดแปรพันธุกรรมที่จะเกิดกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดระเบียบการนำเข้าอาหารและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดัดแปรพันธุกรรมที่เข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่มีส่วนเกี่ยวข้องและต้องการส่งสินค้าไปยังรัสเซียต้องเพิ่มมาตรการป้องกันและตรวจสอบสินค้าให้มีความถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว

          อย่างไรก็ตามการแก้ไขระเบียบเพิ่มเติมด้านการห้ามนำเข้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมที่มีการลงทะเบียนไว้กับรัสเซียก่อนหน้านี้แล้ว เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะพบว่ามีผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามระเบียบดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อการทดลองวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีชีวภาพในรัสเซีย

             

ความเห็น

          สำหรับการประกาศใช้กฎหมายเรื่องการห้ามเพาะปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมนั้น ก่อนหน้านี้ได้มีประเทศในกลุ่ม EU และประเทศนอกกลุ่ม EU เคยกำหนดไว้ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย EU ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการจำกัดและการสั่งห้ามการเพาะปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกอาหารและอาหารสัตว์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์ดัดแปรพันธุกรรมจะต้องได้รับการอนุญาตจาก European Food Safety Authority (EFSA) ก่อนนำเข้าในตลาด EU ได้

          สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีความเข้มงวดสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรมเช่นกัน โดยห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์และเมล็ดพันธุ์พืชที่ได้จากการดัดแปรพันธุกรรม ทั้งนี้ยกเว้นสำหรับการนำเข้าเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น โดยจะต้องปลูกในพื้นที่ปิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่ยังพื้นที่เพาะปลูกอื่น โดยสามารถศึกษาข้อกำหนดการแสดงฉลากได้ที่ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (ฉบับที่ 251) พ.ศ.2545. เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527