สวัสดี

Technology & Innovation

โทรศัพท์มือถือคือเครื่องมือของนักช้อปสูงอายุ

พฤษภาคม 2559

รายละเอียด :

        ในสหรัฐอเมริกาซึ่งประชากรเข้าสู่ช่วงสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Aged society) กล่าวคือ มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งหมด จากข้อมูลประขากรปี 2558 ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 47.82 ล้านคน ด้วย เหตุนี้ สหรัฐอเมริกาจึงให้ความสำคัญกับการจัดการสวัสดิการและการเข้าใจพฤติกรรมผู้ สูงอายุ  ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงถึง 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ภายหลังเศรษฐกิจชะลอตัวผู้บริโภคมีพฤติกรรมอย่างไรจึงเป็นประเด็นที่นักการตลาดต้องการทราบ 

           โดยล่าสุดมีการสำรวจผู้สูงอายุ 1,000 คนทั่วประเทศผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยบริษัท Retale เมื่อ 2-6 พฤษภาคมที่ผ่านมา เรื่องปัจจัยในการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ร้านขายของชำ พบว่า อันดับแรกร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุ เลือกราคาสินค้าที่ถูกกว่าและโอกาสในการประหยัด รองลงมาร้อยละ 38  เลือกสินค้าที่ปลูกในท้องถิ่นหรือเกษตรอินทรีย์ และร้อยละ 34 ร้านต้องอยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน และกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 34 อธิบายลักษณะร้านขายของชำประจำของตน คือร้านที่ประหยัด (thrifty)  รองลงมา ร้อยละ 24 คือร้านในชุมชน (local)  และร้อยละ 23 คือร้านที่มีอาหารขายจำนวนมาก (foodie) และนั่นหมายความว่าร้านขายของชำต้องเข้าใจความต้องการและจัดทำโปรโมชั่นลดราคาหรือคูปองต่างๆเพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มสูงอายุ ให้เป็นลูกค้าประจำ พบว่าผู้สูงวัย ร้อยละ 59 สมัครเป็นสมาชิกร้านเพื่อจะได้รับส่วนลด ทราบกิจกรรมส่งเสริมการขายและการสะสมแต้มเพื่อใช้ในอนาคต  โดยผู้สูงอายุร้อยละ 43 จะใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อค้นหาคูปองและโฆษณารายสัปดาห์ อีกร้อยละ 27 ใช้เพื่อจัดการรายการช้อปปิ้ง ส่วนอีกร้อยละ 12 ใช้เพื่อแรงบันดาลใจด้านเมนูอาหารและค้นหาตำแหน่งที่ตั้งร้านค้า

         และในเชิงลึกผู้สูงอายุใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการช้อปปิ้งในหลายประเด็น ร้อยละ 41 พวกเขายังต้องการให้ร้านส่งคูปองหรือข้อเสนอของร้านให้ทางโทรศัพท์เมื่อเดินเข้าไปในร้าน ร้อยละ 12 ต้องการใช้โทรศัพท์สแกนสินค้าเพื่อให้ทราบรายละเอียดต่างๆ ร้อยละ 10 ต้องการจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์เมื่อเช็ครายการสินค้าตอนออกจากร้าน

          เมื่อมองย้อนกลับมาสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในไทย พบว่า ปัจจุบันเรามีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี 13.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(aging society) และมีประชากรอายุ 65 ปี ขึ้นไป 9.86 % คาดว่าในปี 2563 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  นอกจากผู้สูงอายุชาวไทยแล้วด้วยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยประกอบกับค่าครองชีพที่ค่อนข้างถูกทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่ชาวต่างชาติที่เกษียณอายุแล้วเลือกที่จะมาใช้ชีวิตบั้นปลายหรือพำนักระยะยาวตามฤดูโดยเฉพาะฤดูหนาว ยกตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในภาคเหนือของไทย และชาวสแกนดิเนเวียที่นิยมพักระยะยาวตามแถบจังหวัดชายทะเล ทั้งนี้  ปัจจุบันชาวต่างชาติจำนวนประมาณ 50,000 คน อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วีซ่าสำหรับผู้เกษียณอายุและต้องการพำนักระยะยาวในประเทศไทย และถ้าประมาณค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่อหัวต่อปีแล้ว คาดว่าจะคิดเป็นเงินถึงราว 7 หมื่นล้านบาทต่อปี  โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยดึงดูดชาวต่างชาติที่เกษียณอายุ คือ เรื่องของอากาศที่ อบอุ่นทั้งปี ค่าครองชีพที่ต่ำ รวมไปถึงความมีน้ำใจของคนไทย และความพร้อมของธุรกิจบริการต่างๆ

ความคิดเห็น

          เมื่อมองย้อนกลับมาสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุในไทย พบว่า ปัจจุบันเรามีประชากรอายุมากกว่า 60 ปี 13.8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.5 เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(aging society) และมีประชากรอายุ 65 ปี ขึ้นไป 9.86 % คาดว่าในปี 2563 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  นอกจากผู้สูงอายุชาวไทยแล้วด้วยสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยประกอบกับค่าครองชีพที่ค่อนข้างถูกทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่ชาวต่างชาติที่เกษียณอายุแล้วเลือกที่จะมาใช้ชีวิตบั้นปลายหรือพำนักระยะยาวตามฤดูโดยเฉพาะฤดูหนาว ยกตัวอย่างเช่น ชาวญี่ปุ่นที่อาศัยในภาคเหนือของไทย และชาวสแกนดิเนเวียที่นิยมพักระยะยาวตามแถบจังหวัดชายทะเล ทั้งนี้  ปัจจุบันชาวต่างชาติจำนวนประมาณ 50,000 คน อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยใช้วีซ่าสำหรับผู้เกษียณอายุและต้องการพำนักระยะยาวในประเทศไทย และถ้าประมาณค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่อหัวต่อปีแล้ว คาดว่าจะคิดเป็นเงินถึงราว 7 หมื่นล้านบาทต่อปี  โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยดึงดูดชาวต่างชาติที่เกษียณอายุ คือ เรื่องของอากาศที่ อบอุ่นทั้งปี ค่าครองชีพที่ต่ำ รวมไปถึงความมีน้ำใจของคนไทย และความพร้อมของธุรกิจบริการต่างๆ

          ดังนั้น การวิเคราะห์และทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคสูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ภาคธุรกิจไม่ควรมองข้ามโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ

ที่มา http://www.foodnavigator-usa.com/R-D/Mobile-is-valuable-tool-to-reach-cost-conscious-Millennials

       https://www.scbeic.com/th/detail/product/556

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527