สวัสดี

Technology & Innovation

การรับรองอาหารฮาลาลมีแนวโน้มเติบโต

พฤษภาคม 2559

รายละเอียด :

The West เผยผลการศึกษา ชี้มูลค่าของสินค้าและบริการฮาลาล ไม่รวมในส่วนของภาคธนาคาร จะขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อปี แตะระดับ 2.6  ล้านล้านเหรียญฯ ในปี 2563  โดยมี Nestlé เป็นผู้นำ  ในส่วนของผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาล คาดว่าในปีดังกล่าวจะมีมูลค่าสูงถึง 1.13 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ครองส่วนแบ่งกว่าครึ่ง แซงหน้าอาหารจีนและอเมริกันที่มีมูลค่า 798 และ 741 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ  โดยคาดการณ์ภายหลังจากนี้อีก 3 ปี สินค้าอาหารฮาลาลจะครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าอาหารโลกถึงร้อยละ 21.2 ซึ่งในปัจจุบันผู้นำการตลาดสินค้าอาหารฮาลาลของโลกคืออินโดนีเซีย ด้วยมูลค่ากว่า 158 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2557 โดยที่อินโดนีเซียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม หรือชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก กว่า 257.9 ล้านคน รองลงมาคือ ตุรกี 110 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ปากีสถาน 100.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอียิปต์ 75.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

สอดคล้องกับงานวิจัยของ Euromonitor ประเมินว่ามูลค่าตลาดการรับรองฉลากฮาลาลโลกจะเติบโตมีมูลค่าถึง 13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในช่วงปี 2559 – 2563 โดยแรงขับดันจากความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ฮาลาลที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ประชากรระดับรายได้ปานกลางเพิ่มมากขึ้น ตามการพัฒนาของเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ในอาเซียนอย่าง เครือเจิญโภคภัณฑ์ Malvolia , Sierad  ตอบสนองตลาดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคมุสลิม ทั้งนี้ ตลาดที่ตรารับรองฉลากฮาลาลมีมูลค่าเติบโตในอัตราสูงที่สุด คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 ใกล้เคี ยงกับอินโดนีเซีย

ความคิดเห็น

การรับรองเครื่องหมายฮาลาลกลายเป็นธุรกิจที่ผู้รับรองในประเทศต่างๆ ให้ความสนใจ ปัจจุบันทั่วโลกมีตรารับรองฮาลาลมากกว่า 100 ตรา เพราะตลาดมีแนวโน้มขยายตัวดี หน่วยงานให้การรับรองมีทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ซึ่งในบางประเทศจะมีข้อกำหนดชัดเจนว่าต้องขอรับรองกับหน่วยงานที่กำหนดตามกฎหมายเท่านั้น หรือหน่วยรับรองระบบต้องมาขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานรัฐก่อน ในฐานะผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งออกการจะเลือกรับรองตราฮาลาลกับหน่วยงานใดนั้นให้พิจารณาจากกฎเกณฑ์ของประเทศผู้นำเข้าสินค้าเป็นหลัก แต่ก็จะทำให้เป็นภาระเพราะอาจต้องขอรับรองจากหลายหน่วยงาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งผู้ผลิตก็ต้องชั่งน้ำหนักในความคุ้มค่าที่จะได้จากยอดการส่งออก และควรเลือกใช้ตรารับรองของหน่วยงานที่เป็นที่ยอมรับในหล่ยประเทศ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรับรองและรักษาระบบ

ที่มา : http://www.foodnavigator-asia.com/Topics/Supply-chain/Halal-labelling-expected-to-grow

         http://www.thestrategist.media

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527