สวัสดี

Technology & Innovation

ผู้บริโภคและนักลงทุนในสหรัฐอเมริกาต่อต้านการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์

มีนาคม 2559

รายละเอียด :

     กระแสการต่อต้านการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์นั้นเกิดมาจากปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการทำปศุสัตว์มากเกินความจำเป็น ซึ่งในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์มีสัดส่วนการใช้ยาปฏิชีวนะสูงถึงร้อยละ 80 ของการใช้ยาทั้งหมด  การที่อุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์ใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินความจำเป็น ได้สร้างความวิตกกังวลต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องสารตกค้างที่จะเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยให้มีระยะเวลารักษาพยาบาลกินระยะเวลานานขึ้น ด้วยเหตุนี้หน่วยงานในสหรัฐอเมริกา รวม 54 แห่ง ได้ออกมาเรียกร้องให้ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจอาหารของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เช่น McDonald’s , Cargill, Domino’s Pizza Group และ The Wendy’s Company หยุดการจัดหาเนื้อสัตว์จากซัพพลายเออร์ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในการทำปศุสัตว์ และสอดคล้องกับคำเตือนขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ที่แสดงความเป็นห่วงในเรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่ผิดวัตถุประสงค์ และใช้มากเกินความจำเป็นที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์

การใช้ยาปฏิชีวนะที่มากเกินไป นอกจากจะก่อให้เกิดการต้านทานยาของเชื้อโรคแล้ว ยังเสี่ยงทำให้เกิดโรคติดต่อที่แพร่เชื้อจากสัตว์มาสู่มนุษย์อีกด้วย จึงเป็นที่มาของการประชุมผู้ผลิตเนื้อสัตว์ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ โดยมีการแนะนำถึงวิธีการใช้ยาปฏิชีวนะ ระยะเวลาของการใช้ยา การควบคุมการใช้ยา รวมไปถึงการใช้ยาให้ถูกประเภท เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค โดยบริษัทคาร์กิลที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตอาหารขนาดใหญ่ได้ออกมาประกาศว่าจะมีการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงโคเนื้อลง 20% และจะสามารถลดการใช้ยาในการเลี้ยงโคเนื้อถึง 1.2 ล้านตัวในทุกปี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และป้องกันการกีดกันทางการค้าในอนาคต

ความเห็น
    หากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ยังไม่เกิดการปรับตัวในการใช้ยาปฏิชีวนะและเปลี่ยนแปลงไปสู่การเกษตรแบบยั่งยืน ความกังวลของผู้บริโภคที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเกี่ยวกับการดื้อยาของเชื้อโรค อาจส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศออกกฎหมายควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยเฉพาะ และหากการควบคุมดังกล่าวบังคับใช้อย่างกระทันหันโดยไม่ได้มีการเตรียมการรับมือและแนะนำวิธีการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องให้กับเกษตรกร อาจเกิดโรคระบาดในสัตว์และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้าขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทย  ซึ่งเป็นประเทศที่สำคัญในการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์จึงควรให้ความสำคัญและปรับตัวโดยมีการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และสัตวแพทย์ ควรลดการใช้ยาปฏิชีวนะให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อรองรับเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


ที่มา :   1. US restaurant chains urged to stop antibiotics support เข้าถึงได้จาก : http://www.globalmeatnews.com/Safety-Legislation/US-restaurant-chains-urged-to-stop-antibiotics-support
           2. Cargill to cut antibiotic use in its beef cattle by 20% เข้าถึงได้จาก : http://meatandseafood.food-business-review.com/news/cargill-to-cut-antibiotic-use-in-its-beef-cattle-by-20-4833575

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527