สวัสดี

Technology & Innovation

ราคาอาหารโลกเดือนกุมภาพันธ์ยังคงที่

กุมภาพันธ์ 2559

รายละเอียด :

ราคาอาหารโลกเดือนกุมภาพันธ์ยังคงที่

สาระสำคัญของข่าว
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงราคาอาหารเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งวัดจากดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์ 5 กลุ่ม ได้แก่ ธัญพืช น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ และน้ำตาล โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ดัชนีราคาอาหารมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 150.2 จุด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับ 150.0 จุด ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่ก็เกือบแตะระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา โดยราคาอาหารโดยรวมที่ยังคงที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันพืชและเนื้อสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ชดเชยกับราคาธัญพืช น้ำตาล และผลิตภัณฑ์นมที่ปรับตัวลดลง 

 

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั้ง 5 กลุ่ม มีการปรับขึ้นลงจากเดือนก่อนดังนี้ (1.) ดัชนีราคาธัญพืชอยู่ที่ 148.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อน โดยราคาข้าวสาลีตกลงมากที่สุดในกลุ่ม (2.) ดัชนีราคาน้ำมันพืชอยู่ที่ 150.3 จุด เพิ่มขึ้น 11.2 จุด เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (3.) ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์จากนมอยู่ที่ 142 จุด ลดลง 3.1 จุด เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (4.) ดัชนีราคาเนื้อสัตว์อยู่ที่ 148.2 จุด เพื่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน (5.) ดัชนีราคาน้ำตาลอยู่ที่ 187.1 จุดลดลง 12.3 จุด เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาอาหารโลกที่ตกลงอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด 4 ปี มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ผลผลิตทางการเกษตรที่เกินความต้องการของตลาด การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 

ความคิดเห็น
    จากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและอุปทานที่ยังคงมีมากเกินความต้องการของตลาด จึงคาดการณ์ว่าราคาอาหารโลกเดือนมีนาคมจะยังคงมีทิศทางไม่ต่างจากเดือนกุมภาพันธ์มากนัก อย่างไรก็ตาม สินค้าหมวดอาหารไม่ใช้สินค้ากลุ่มเดียวทีได้กระทบจากราคาสินค้าที่ปรับลดลง เพราะสินค้าโภคภัณฑ์ในหมวดอื่นๆ ก็มีราคาลดลงด้วย โดยเฉพาะราคาน้ำมัน โดยมีสาเหตุมาจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่าย
ในระยะสี่ปีต่อจากนี้ไป คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันพืชมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอีก โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันปาล์มจะที่เพิ่มขึ้น โดยวัดจากรายงานสินค้าคงเหลือที่ลดลงและผลผลิตที่ปรับลดลง ในทางกลับกัน ความต้องการบริโภคของโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้ปริมาณสินค้าล้นตลาดทั้งจากนิวซีแลนด์และสหภาพยุโรป จึงคาดการณ์ว่าราคาผลิตภัณฑ์นมมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงอีก 
นอกจากนี้ ภัยทางธรรมชาติที่จะส่งผลต่อปริมาณการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตธัญพืชของประเทศที่อยู่ทางซีกโลกใต้ เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และแอฟริกาใต้ อีกทั้งมีแนวโน้มว่าอินเดียจะมีปริมาณผลผลิตข้าวสาลีลดลงเพราะปริมาณน้ำฝนในประเทศที่ลดน้อยลงกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าวสาลีในอินเดียโดยตรง

                    
ที่มา : http://www.reuters.com/article/global-economy-food-idUSL8N16B21I

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527