สวัสดี

Technology & Innovation

ethyl lactate สารสกัดคาเฟอีนประสิทธิภาพสูง

พฤษภาคม 2558

รายละเอียด :

สืบเนื่องจากมีผลงานวิจัยที่มีข้อสรุปว่าคาเฟอีน เป็นสารที่ช่วยบรรเทาและลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์  โดยศาสตราจารย์ Gregory Freund  จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์  สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบสัญญาณใหม่ เกี่ยวกับคาเฟอีนในการป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท   ซึ่งพบว่าคาเฟอีนจะเข้าไปหยุดทุกกิจกรรมของ adenosine และยับยั้งเอนไซม์ caspase-1 ที่จะส่งผลให้สมองเกิดการอักเสบ จึงสามารถจำกัด  และลดความเสียหายของสมองได้

สืบเนื่องจากมีผลงานวิจัยที่มีข้อสรุปว่าคาเฟอีน เป็นสารที่ช่วยบรรเทาและลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์  โดยศาสตราจารย์ Gregory Freund  จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์  สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบสัญญาณใหม่ เกี่ยวกับคาเฟอีนในการป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท   ซึ่งพบว่าคาเฟอีนจะเข้าไปหยุดทุกกิจกรรมของ adenosine และยับยั้งเอนไซม์ caspase-1 ที่จะส่งผลให้สมองเกิดการอักเสบ จึงสามารถจำกัด  และลดความเสียหายของสมองได้ 


                   การทดลองกับหนูสองกลุ่มเพื่อจำลองสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองระหว่างการหยุดชะงักของการหายใจและการไหลเวียนของเลือด ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาด้านความคิดและการเรียนรู้ ผลปรากฎว่า กลุ่มหนูทดลองที่ได้รับคาเฟอีน             มีการอักเสบของสมองลดลงและ มีความสามารถในการกู้คืนความทรงจำหลังจากการขาดออกซิเจน เร็วกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับคาเฟอีนร้อยละ 33  จึงพยายามคิดค้นและพัฒนากระบวนการในการสกัดสารคาเฟอีนให้มีประสิทธิภาพและ   จากผลการศึกษา พบว่า ตัวทำละลาย Ethyl Lactate ที่เกิดจากกรดแลคติคและเอทานอลมีประสิทธิภาพสูงในการสกัดคาเฟอีน และมีคุณสมบัติย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งผลิตได้จากกระบวนการหมักข้าวโพด จึงถือเป็นตัวทำละลายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยังถือเป็นครั้งแรกที่สามารถนำสารชีวภาพมาทดแทนสารเคมี

 

       

ในกระบวนการทดลอง นักวิศวกรเคมี ได้ทดสอบความสามารถของสารที่รู้จักกันในชื่อ ethyl-2-hydroxy-propanoate หรือ “Ethyl Lactate” เพื่อสกัดคาเฟอีนออกจากเมล็ดกาแฟและใบชาเขียว ผลการวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการสกัดด้วยเครื่องสกัด ASE 350 ของบริษัท Dionex ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงอุณหภูมิ 100 150 และ 200 องศาเซลเซียส พบว่า ณ อุณหภูมิ 200 อาศาเซลเซียส สามารถสกัดสารคาเฟอีนออกมาได้ปริมาณมาก และมีคุณสมบัติในการกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ในปริมาณสูง โดยพบว่า ตัวทำละลาย “Ethyl Lactate”            มีประสิทธิภาพในการสกัดคาเฟอีนออกมาได้ถึงร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับตัวทำละลายอื่นอย่างเช่น

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527