สวัสดี

Technology & Innovation

ฉลากอัจฉริยะวัดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย

กรกฎาคม 2563

รายละเอียด :

ในประเทศไทยมีการจำหน่ายลำไยสดเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อย คือ ลำไยสดที่ผ่านกระบวนการรมด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณสูงเกินความจำเป็น และการละเลยขั้นตอนการลดหรือกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ส่วนเกิน ส่งผลให้สารดังกล่าวตกค้างบนผลลำไยสูงเกินค่ามาตรฐาน ผู้พัฒนาจึงมีแนวคิดพัฒนาบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะบ่งชี้ความปลอดภัยปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย เพื่อตรวจสอบปริมาณสารซัลเฟอร์ที่เหลือตกค้างที่ผิวลำไย เพื่อยกระดับมาตรฐานลำไยไทยให้เป็นที่ยอมรับ

ชื่อผลิตภัณฑ์ :

ฉลากตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ผู้คิดค้นและพัฒนา :

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

แนวคิดผลิตภัณฑ์ :

ในประเทศไทยมีการจำหน่ายลำไยสดเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อย คือ ลำไยสดที่ผ่านกระบวนการรมด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณสูงเกินความจำเป็น และการละเลยขั้นตอนการลดหรือกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ส่วนเกิน ส่งผลให้สารดังกล่าวตกค้างบนผลลำไยสูงเกินค่ามาตรฐาน ผู้พัฒนาจึงมีแนวคิดพัฒนาบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะบ่งชี้ความปลอดภัยปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย เพื่อตรวจสอบปริมาณสารซัลเฟอร์ที่เหลือตกค้างที่ผิวลำไย เพื่อยกระดับมาตรฐานลำไยไทยให้เป็นที่ยอมรับ

ลักษณะและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ :

  • ฉลากจะมีการเปลี่ยนสี หากมีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่ำฉลากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แต่ถ้ามีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากสีของฉลากจะเป็นสีอ่อน หรือถ้าหากจางจนไม่มีสีแสดงว่ามีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานกำหนด
  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในการรักษาคุณภาพของผลผลิตได้ เช่น ลิ้นจี่ เป็นต้น
  • เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ช่วยเตือนผู้บริโภคก่อนที่จะตัดสินใจบริโภค อีกทั้งการเปลี่ยนสีของฉลากยังง่ายต่อการเข้าใจของผู้บริโภคทุกระดับ

ความเห็น :

นวัตกรรมดังกล่าวเป็นตัวช่วยให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความปลอดภัยในการรับประทานแล้ว ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายยังสามารถนำนวัตกรรมนี้มาสร้างตลาด สร้างมูลค่า และสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่งได้ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า เพื่อความยั่งยืนการในทำการค้ากันต่อไป

 ที่มา :   https://mgronline.com/science/detail/9630000058129  สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527