สวัสดี

Technology & Innovation

เครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศอัจฉริยะ

กันยายน 2560

รายละเอียด :

นวัตกรรมดังกล่าวเป็นนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิต นำวิธีสุญญากาศเข้ามาประยุกต์ใช้ในการแช่อิ่มและควบคุมกระบวนการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศนั้น จะทำให้เซลล์เมมเบรนของผลไม้เล็กลงและเพิ่มพื้นที่ดูดซึม (Osmosis) มากขึ้น ระบบสุญญากาศจะช่วยเร่งการดูดซึมได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งแตกต่างจากวิธีดั้งเดิมที่ใช้อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศในการแช่อิ่มทำให้ใช้เวลานานในการผลิต แต่เมื่อใช้เครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศจะช่วยลดระยะเวลาในการแช่อิ่มเหลือเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมต้องใช้เวลามากถึง 52 ชั่วโมง และยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้อีกด้วย

ชื่อผลิตภัณฑ์ :

เครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศ

ผู้คิดค้นและพัฒนา :

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

แนวคิดของผลิตภัณฑ์ :

กระบวนการแช่อิ่มเป็นหนึ่งในวิธีการถนอมอาหารของคนไทยมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ปัญหาที่พบในการแช่อิ่มแต่ละครั้ง คือ ต้องใช้ระยะเวลานานเป็นอุปสรรคด้านคุณภาพและข้อจำกัดของประสิทธิภาพการผลิต จึงเป็นแรงบันดาลใจนำมาสู่การคิดค้นวิจัยและออกแบบนวัตกรรมเครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศขึ้น

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ :

นวัตกรรมดังกล่าวเป็นนวัตกรรมด้านกระบวนการผลิต นำวิธีสุญญากาศเข้ามาประยุกต์ใช้ในการแช่อิ่มและควบคุมกระบวนการด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศนั้น จะทำให้เซลล์เมมเบรนของผลไม้เล็กลงและเพิ่มพื้นที่ดูดซึม (Osmosis) มากขึ้น ระบบสุญญากาศจะช่วยเร่งการดูดซึมได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งแตกต่างจากวิธีดั้งเดิมที่ใช้อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศในการแช่อิ่มทำให้ใช้เวลานานในการผลิต แต่เมื่อใช้เครื่องแช่อิ่มผลไม้สุญญากาศจะช่วยลดระยะเวลาในการแช่อิ่มเหลือเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมต้องใช้เวลามากถึง 52 ชั่วโมง และยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้อีกด้วย

ความเห็น :

ประเทศไทยติดอันดับ 4 ผู้ผลิตและส่งออกผักผลไม้แช่อิ่มและอบแห้งรายใหญ่ของโลก นวัตกรรมด้านกระบวนการผลิตดังกล่าว สามารถช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากขึ้น และยังสามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมผลไม้แช่อิ่มและอบแห้งให้ส่งออกไปยังต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น

ที่มา :     http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/767679 สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527