สวัสดี

อุตสาหกรรมอาหารโลกไตรมาสที่ 1 ปี 2565 และแนวโน้ม

กรกฎาคม 2565

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อน โดยการผลิตได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ รวมถึงการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าขนส่งจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่รัสเซียรุกรานยูเครนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลทำให้ราคาสินค้าเกษตรและวัตถุดิบปรับตัวสุงขึ้น สรุปได้ 5 ประการดังนี้
1) แรงงานภาคเกษตรหายไปจากระบบ จากผลกระทบโควิด-19 โดยเฉพาะในสหรัฐฯ (กระทบผลผลิตถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าวสาลี) มาเลเซีย (ปาล์มน้ำมัน)
2) สงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรอาหารหลายรายการหายไปจากตลาด โดยเฉพาะผลผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่รอบๆ ทะเลดำ เช่น ข้าวสาลี (10% ของโลก), ข้าวโพด (10% ของโลก),น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน (55% ของโลก) เป็นต้น
3) ต้นทุนการผลิตและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น ตามราคาปัจจัยการผลิต (วัตถุดิบเกษตร ปุ๋ยเคมี บรรจุภัณฑ์) และราคาพลังงาน จากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน
4) มีการนำพืชพลังงานไปผลิตพลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนราคาเชื้อเพลิงให้ถูกลง (เอทานอลจากน้ำตาลอ้อยและข้าวโพด ไบโอดีเซลจากพืชน้ำมัน)
5) มาตรการระงับ/จำกัด/บริหารการส่งออก สินค้าอาหารของประเทศผู้ผลิตอาหารรายสำคัญของโลก เช่น อินโดนีเซีย (ปาล์มน้ำมัน), อินเดีย (ข้าวสาลี) ยิ่งกดดันราคาอาหารโลกให้เร่งตัวสูงขึ้น

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527