สวัสดี

อุตสาหกรรมอาหารโลกไตรมาสที่ 4 ปี 2564 และแนวโน้ม

มีนาคม 2565

Highlight: • การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2564 มีมูลค่า 400 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ตามปัจจัยด้านราคา ราคาสินค้าเกษตรอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5 (%yoy) ผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน ราคาพลังงาน และค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น • ภาวะเงินเฟ้อและการขาดแคลนแรงงาน (Labour shortage) ได้กดดันผลประกอบการในไตรมาสสุดท้ายปี 2564 ของบริษัทอาหารตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างหนัก บริษัทอาหารทั่วโลกส่วนใหญ่ปรับขึ้นราคาสินค้า ทำให้ยอดขายโดยรวมยังคงเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตรากำไรกลับชะลอตัวลง ตามต้นทุนเงินเฟ้อและการขาดแคลนแรงงาน • หลายบริษัทสามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ได้ด้วยการหันมาลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital platform) เพื่อเข้าถึงลูกค้าและพัฒนาช่องทางจำหน่ายเพื่อลดต้นทุนแรงงานรวมถึงสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่

การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2564 เพิ่มขึ้นจากปัจจัยด้านราคา

การค้าอาหารโลกในไตรมาสที่ 4/2564 มีมูลค่า 400 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ตามปัจจัยด้านราคาที่ได้รับแรงกดดันมาจากภาคการผลิตและขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมีความคาดหวังจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากประเทศต่างๆ ได้รับวัคซีนครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ ภาพรวมทั้งปี 2564 การค้าอาหารโลกมีมูลค่า 1,520 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6

อุตสาหกรรมอาหารโลกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ท้าทายต่อไป การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ยังดำเนินไปอย่างช้าๆ หลังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทำให้อัตราเงินเฟ้อด้านต้นทุนเร่งตัวขึ้น บริษัทอาหารระดับโลกจำนวนไม่น้อยที่มีกําไรจากการดําเนินงานลดลงจากความผันผวนของสกุลเงิน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นดำเนินงานที่ให้เกิดความปลอดภัยของพนักงาน มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และความพยายามในการจัดการการเติบโตของรายได้ โดยการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดเกิดใหม่ กลุ่มสินค้าที่ขยายตัวดีในภาวะวิกฤติมีหลายสินค้า เช่น กลุ่มขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง รวมถึงอาหาร Plant-based

.......

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527