สวัสดี

พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยการเลือกรับประทานอาหารในร้านอาหารไทย

แชร์:
Favorite (38)

ตุลาคม 2557

สถาบันอาหาร ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) และได้จัดทำโครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยการเลือกรับประทานอาหารในร้านอาหารไทย โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษา ที่นำมาสรุปเพื่อเผยแพร่แก่ผู้สนใจ

การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในสวีเดน ได้เก็บกลุ่มตัวอย่างประชากรในประเทศเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 416 ชุด ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยประชากรที่ตอบแบบสอบถามเป็นคนสัญชาติสวีเดนที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน (ไม่จำกัดคุณวุฒิ) และกลุ่มนักศึกษาวุฒิปริญญาโทขึ้นไป จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 55.3 และเพศหญิงร้อยละ 44.7 โดยส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบอยู่ในช่วงอายุ15 – 34
ปี ร้อยละ 61 และผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 54.5 และร้อยละ 49.8 มีสถานภาพโสด ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเอกชนร้อยละ 32.6 รองลงมา คือนักเรียน/นักศึกษาร้อยละ 30.4

จากผลแบบสอบถามสามารถวิเคราะห์และจำแนกผู้บริโภคออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับรายได้ของครอบครัวต่อปี ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ชาวสวีเดนที่มีรายได้ของครอบครัวน้อยกว่า 150,000 โครนสวีเดน ต่อปี
กลุ่มที่ 2 ชาวสวีเดนที่มีรายได้ของครอบครัว 150,001 – 250,000 โครนสวีเดน ต่อปี
กลุ่มที่ 3 ชาวสวีเดนที่มีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 250,000 โครนสวีเดน ต่อปี

พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน
- ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่ร้อยละ 32.8 มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านที่ น้อยกว่า 1ครั้งต่อเดือน ส่วนชาวสวีเดนกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.1 มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านที่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และชาวสวีเดนกลุ่มที่ 3 ส่วนใหญ่ร้อยละ 24 มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านมากที่สุดที่ 6 - 10 ครั้งต่อสัปดาห์
- ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านส่วนมากเป็นช่วงเวลาอาหารกลางวัน โดยเฉพาะชาวสวีเดนในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 สำหรับกลุ่มที่ 1 ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 150,000 โครนสวีเดนต่อปีนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านส่วนมากในช่วงเวลาอาหารเย็นมากที่สุด
- เมื่อพิจารณาเฉพาะการรับประทานอาหารนอกบ้านในมื้อเย็น ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่ออกมารับประทานอาหารเย็นนอกบ้าน น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 37.4 ส่วนชาวสวีเดนกลุ่มที่ 2ส่วนใหญ่รับประทานอาหารนอกบ้าน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 26.3 ขณะที่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 3 ส่วนใหญ่มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านที่หลากหลาย ตั้งแต่ความถี่ต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด
- ประเภทของร้านอาหารที่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เลือกรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นอันดับ1 มากที่สุด คือ ร้านอาหาร/ภัตตาคาร ในขณะที่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 2 นิยมรับประทานในร้านอาหารจานด่วนมากที่สุด ในอันดับที่ 1 และเลือกรับประทานร้านประเภท ร้านอาหาร/ภัตตาคาร เป็นอันดับ 2 นอกจากร้านอาหารประเภทร้านอาหาร/ภัตตาคาร และร้านอาหารจานด่วนแล้ว ร้านอาหารประเภทคาเฟและบาร์ ยังเป็นที่นิยมในการรับประทานอาหารนอกบ้านของชาวสวีเดนอีกด้วย
ด้านปัจจัยในการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน ปัจจัยอันดับที่ 1 ที่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 1 ใช้ตัดสินใจในการเลือกร้านอาหาร คือ การบริการของร้าน โดยมีปัจจัยอันดับที่ 2 และ 3 คือ เรื่องของคุณภาพของอาหาร ขณะที่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ใช้ตัดสินใจในการเลือกร้านอาหาร คือ ราคา เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้านทั้งในอันดับที่ 1 และ 2 มากที่สุด
ในส่วนของเหตุผลที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจรับประทานอาหารนอกบ้านนั้น พบว่า ชาวสวีเดนเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน เนื่องจากต้องการพบปะสังสรรค์กับเพื่อน หรือ ครอบครัวมากที่สุด ส่วนเหตุผลอันดับ 2 รับประทานอาหารนอกบ้านเป็นปรกติ
จากผลแบบสอบถาม พบว่า โดยส่วนใหญ่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 1 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรับประทานอาหารนอกบ้านประมาณ 150 – 250 โครนสวีเดน ต่อคน ต่อครั้ง ขณะที่กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยกว่า 150 โครนสวีเดน ต่อคน ต่อครั้ง โดยจ านวนคนที่ร่วมรับประทานอาหารนอกบ้านในแต่ละครั้งส่วนใหญ่ มีจำนวน 2 – 3 คน และใช้เวลาในการรับประทานอาหารในแต่ละครั้งเพียง 31 – 60 นาที 

พฤติกรรมการรับประทานอาหารไทย


ตารางที่ 1 แสดงถึงการรับประทานอาหารไทยของผู้ตอบแบบสอบถาม

จากการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารไทย พบว่า ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่ไม่เคยรับประทานอาหารไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.9 ขณะที่ชาวสวีเดนกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 โดยส่วนใหญ่มีสัดส่วน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527