ธันวาคม 2557
จากการนำเสนอข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของคนรุ่นใหม่โดย XTC World Innovation ผ่านงาน SIAL Innovation Awards 2014 พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดอำนาจการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในแต่ละตลาด จากการเผชิญปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และดูเหมือนจะยังไม่ฟื้นตัวในหลายประเทศชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เป็นต้น
จัดทำโดย : นางสาวนุชจรินทร์ เกตุนิล
12 พฤติกรรมการบริโภค เพื่อการก าหนดทิศทางนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่ม
จากการนำเสนอข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคของคนรุ่นใหม่โดย XTC World Innovation ผ่านงาน SIAL Innovation Awards 2014 พบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดอำนาจการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในแต่ละตลาด จากการเผชิญปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และดูเหมือนจะยังไม่ฟื้นตัวในหลายประเทศชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เป็นต้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีแนวโน้มมองหาสินค้าที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานมากกว่าสินค้าฟุ่มเฟือยเพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่วนภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบไม่รุนแรงมากนัก มีแนวโน้มตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายมากขึ้นหากสินค้านั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการได้มากที่สุดโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)
รายงานตลาดอาหารโลก : ธันวาคม 2557
จับกระแสนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มโลกผ่านงาน SIAL Innovation Awards 2014 (ตอนที่ 2)
อย่างไรก็ดี พฤติกรรมการบริโภคที่พบว่ามีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลกนั่นคือ “การเลือกสินค้าที่สามารถสร้างสุขให้กับตนเองและคุ้มค่ามากที่สุด” เพื่อเป็นการลดความตึงเครียดในการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันทั้งนี้ XTC ได้สรุปแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคที่น่าสนใจสำหรับกำหนดแนวทางนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป 12 แนวโน้มสำคัญ ดังนี้
1) มุ่งเน้นความประหยัดและควบคุมค่าใช้จ่าย : เนื่องจากผู้บริโภคในยุคนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ภายใต้ปัจจัยกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มได้รับความสนใจจากผู้บริโภคจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความคุ้มค่าทั้งในเชิงปริมาณ (The right amount) และคุณค่าที่ได้รับ และมีแนวโน้มที่จะเลือกปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้านหรือร่วมรับประทานกับครอบครัวมากขึ้นเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลดการสูญเสียหรือทิ้งจากการรับประทานไม่หมดเนื่องจากผลิตภัณฑ์มีปริมาณมากเกินความเหมาะสม ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในงาน SIAL Innovation 2014 ได้แก่ Ma Dose De Farine เป็นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่ใช้ส่วนผสมจากแป้ง 100 กรัม บริโภคในครั้งเดียวหมดเพื่อไม่ให้เหลือทิ้งเ ห ม า ะ ส า ห รั บ ผู้ บ ริ โ ภ ค ที่รับประทานน้อย (small scale)และบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กพกพาสะดวก
2) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์สร้างสุขในชีวิตประจำวัน (GFC) : จากวิกฤตเศรษฐกิจที่ทำให้อำนาจในการซื้อของผู้บริโภคลดลง นอกจากการประหยัดและควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้อยู่รอด การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่คุ้มค่าในด้านราคา และส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ที่สำคัญต้องสามารถสร้างสุขหรือช่วยให้อารมณ์ผ่อนคลายได้ในระหว่างรับประทาน เป็นแนวโน้มที่เรียกว่า Guilt –free Consumption (GFC) ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น Burger King ริเริ่มผลิตภัณฑ์ GFC โดยออกผลิตภัณฑ์ “Satisfries” มันฝรั่งทอดเพื่อสุขภาพ ไขมันน้อย (40%) แคลอรี่ต่ำ (30%) และบรรจุขนาดรายงานตลาดอาหารโลก : ธันวาคม 2557 จับกระแสนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มโลกผ่านงาน SIAL Innovation Awards 2014 (ตอนที่ 2) พอเหมาะสำหรับหนึ่งมื้อ (Small Portion) ในขณะที่ McDonald's นำเสนอทางเลือกให้ผู้บริโภคโดยจัดเมนูสลัดผลไม้หรือสลัดผักควบคู่ไปกับมันฝรั่งทอดเพื่อเพิ่มคุณค่าให้มื้ออาหาร และผลิตภัณฑ์ Desserts Gourmands – Rolph & Rolph ประเทศเบลเยี่ยม นำเสนอขนมหวานที่ถูกสร้างสรรค์ด้วยส่วนผสมที่ดีที่สุด สามารถรับประทานระหว่างวันได้ บรรจุภัณฑ์พกพาสะดวก ออกแบบสวยงาม และยังสามารถนำไปใช้ในงานสำคัญๆ ได้ เช่น งานแต่งงาน งานสังสรรค์ต่างๆ เป็นต้น
3) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนักและช่วยป้องกันรักษาโรค : ปัจจุบันแนวโน้มผู้บริโภคยุคใหม่มุ่งเข้าสู่การบริโภคอาหารแทนยา อาหารที่ช่วยปกป้องสุขภาพ ป้องกันความเสื่อมของร่างกาย ควบคุมน้ำหนัก ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ต่อการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันได้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น โยเกิร์ตผลไม้ (YOLIGUR- CASA AMETLLER) เป็นโยเกิร์ตผลไม้ไขมันต่ำใช้น้ำมันมะกอกแทน