สวัสดี

พฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยการเลือกรับประทานอาหารในร้านอาหารไทย:ประเทศเดนมาร์ก : มกราคม 2558

แชร์:
Favorite (38)

มกราคม 2558

สถาบันอาหาร ได้ดำเนินโครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward)

และได้จัดทำโครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยการเลือกรับประทานอาหารในร้านอาหารไทย โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษา ที่นำมาสรุปเพื่อเผยแพร่แก่ผู้สนใจการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในเดนมาร์ก ได้เก็บกลุ่มตัวอย่างประชากรสัญชาติเดนมาร์กในประเทศเป้าหมายจำนวนทั้งหมด 434 ชุด ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชายร้อยละ 53.7 และเพศหญิง ร้อยละ 46.3 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 25 – 34 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ถึงร้อยละ 54.5 โดยผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 44.9 มีสถานภาพโสด รองลงมาแต่งงานและมีบุตร 1 คน ร้อยละ 39.8 ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเอกชน ร้อยละ 40.6

จากผลแบบสอบถามสามารถวิเคราะห์ และจำแนกผู้บริโภคออกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับรายได้ของครอบครัวต่อปี ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ชาวเดนมาร์กที่มีรายได้ของครอบครัวน้อยกว่า 100,000 โครนเดนมาร์ก ต่อปี
กลุ่มที่ 2 ชาวเดนมาร์กที่มีรายได้ของครอบครัว 100,001 – 200,000 โครนเดนมาร์ก ต่อปี
กลุ่มที่ 3 ชาวเดนมาร์กที่มีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 200,000 โครนเดนมาร์ก ต่อปี

ซึ่งต่อไปจะกล่าวถึงเพียง กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ ช่วงเดือนกรกฏาคม ปี 2557 อยู่ที่ 5.7 บาท ต่อ 1 โครนเดนมาร์ก1 โดยมีผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยในการเลือกรับประทานอาหาร ของกลุ่มผู้บริโภคแต่ละกลุ่มในประเทศเดนมาร์ก มีผลดังนั้น

พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน
จากผลสำรวจ พบว่า ชาวเดนมาร์กกลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน ส่วนชาวเดนมาร์กกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน 2 - 5 ครั้งต่อสัปดาห์และชาวเดนมาร์กกลุ่มที่ 3 มีความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้านมากที่สุด 6 - 10 ครั้งต่อสัปดาห์

1 ธนาคารแห่งประเทศไทย. “อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศย้อนหลัง”. [Online]. Available from:
http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/FinancialMarkets/ExchangeRate/_layouts/application/exchangerate/ExchangeRateAgo.aspx

ช่วงเวลาที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านส่วนมากเป็นช่วงเวลาอาหารเย็น โดยเฉพาะชาวเดนมาร์กในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 สำหรับกลุ่มที่ 2 นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านในช่วงเวลาอาหารกลางวันมากที่สุด อย่างไรก็ตามกลุ่มที่ 3 ที่มีรายได้สูงกว่ากลุ่มอื่น ยังนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านในช่วงเวลากลางวันด้วย โดยมีสัดส่วนที่เท่ากับการรับประทานอาหารนอกบ้านในมื้อเย็น

เมื่อพิจารณาเฉพาะการรับประทานอาหารนอกบ้านในมื้อเย็น กลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่ออกมารับประทานอาหารเย็นนอกบ้าน น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 34.2 ส่วนกลุ่มที่ 2 ส่วนใหญ่รับประทานอาหารนอกบ้าน 2 -5 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 28.5 และกลุ่มที่ 3 ส่วนใหญ่รับประทานอาหารนอกบ้าน 2 -3 ครั้งต่อเดือนร้อยละ 29.0

ประเภทของร้านอาหารที่ชาวเดนมาร์ก เลือกรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นอันดับ 1 มากที่สุด คือร้านอาหาร/ภัตตาคาร และเลือกรับประทานร้านประเภท คาเฟ่/บาร์เป็นอันดับ 2 ส่วนอันดับที่ 3 ชาวเดนมาร์กกลุ่มที่ 1 และ 2 เลือกรับประทานร้านประเภท ร้านอาหารจานด่วนมากที่สุด ขณะที่ชาวเดนมาร์กกลุ่มที่ 3 เลือกรับประทาน คาเฟ/บาร์ และ ศูนย์อาหาร

ปัจจัยในการเลือกรับประทานอาหารนอกบ้าน อันดับที่ 1 ที่ชาวเดนมาร์กกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ใช้ตัดสินใจในการเลือกร้านอาหาร คือ ด้านการบริการของร้าน ทั้งนี้ในกลุ่มที่ 3 ที่มีรายได้สูงจะเลือกปัจจัยด้านบรรยากาศของร้านเป็นอันดับที่ 1 นอกจากนี้ในกลุ่มที่ 1 ยังให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านคุณภาพของอาหารเป็นอันดับถัดมา กลุ่มที่ 2 ให้ความสำคัญในเรื่องราคา การบริการของร้าน และคุณภาพของอาหาร และกลุ่มที่ 3 ให้
ความสำคัญในเรื่องกระแสนิยม การบริการของร้าน และคุณภาพของอาหาร

ตารางที่ 1 แสดงถึงค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนของผู้ตอบแบบสอบถามที่รับประทานอาหารนอกบ้าน 

 

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527