สวัสดี

ตลาดขนมขบเคี้ยว

แชร์:
Favorite (38)

พฤษภาคม 2566

ตลาดขนมขบเคี้ยวของไทยปี 2565 มูลค่า 43,948 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 5.1 ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน และสามารถพบปะเพื่อนฝูงได้เป็นปกติ โดยกลุ่มขนมขบเคี้ยวที่มีการเติบโตสูง ได้แก่ ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากถั่ว, เมล็ดพืช และธัญพืชรวม ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของสถานบันเทิง ผับ บาร์ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคมักจะซื้อไปบริโภคคู่กับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และนมขบเคี้ยวในกลุ่มอาหารทะเล รวมสาหร่ายที่เพิ่มจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่มักนิยมซื้อกลับบ้านไปเป็นของฝาก

ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวที่วางจำหน่ายในประเทศไทยจำแนกออกเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่

  1. ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากอาหารทะเล (Seafood Snacks) อาทิ ปลา กุ้ง ปลามีมูลค่าอยู่ที่ 4,382 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.0
  2. ขนมขบเคี้ยวที่ทำจากถั่ว, เมล็ดพืช, ธัญพืชรวม (Nuts, Seeds and Traill Mixes) มีมูลค่าอยู่ที่ 4,489 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.2
  3. ขนมขบเคี้ยวรสเค็ม (Salty Snacks) มีมูลค่าอยู่ที่ 24,548 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 55.9 ได้แก่ มันฝรั่งทอดชนิดแผ่น, แผ่นข้าวโพด/ข้าวสาลี อบหรือทอดกรอบ, ขนมชนิดอบพองและขนมที่ทำจากข้าว
  4. ขนมปังรสเค็ม (Savoury Biscuits) มีมูลค่าอยู่ที่ 2,002 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.6
  5. ป๊อบคอร์น (Popcorn) มีมูลค่าอยู่ที่ 443 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.0
  6. ชนมขบเคี้ยวอื่น ๆ (Other Savoury Snacks) มีมูลค่าอยู่ที่ 8,084 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 18.4

 ในปี 2565 ขนมขบเคี้ยวในกลุ่มอาหารทะเล (Seafood Snacks) และขนมขบเคี้ยวชนิดอบพอง (Puffed Snacks) เป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญช่วยผลักดันยอดจำหน่ายในตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ส่วนด้านการแข่งขันในตลาด พบว่าตลาดขนมขบเคี้ยวของไทยมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงตลอดหลายปีที่ผ่านมา จากผู้เล่นและแบรนด์ที่มีอยู่จำนวนมากในตลาด ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้พยายามสร้างความแตกต่างด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุดิบ และรสชาติที่แตกต่างจากคู่แข่ง อีกทั้งยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การลดโซเดียม หรือการเพิ่มวัตถุดิบที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าเพื่อสุขภาพและยินดีจ่ายในราคาที่สูงขึ้นเพื่อให้ได้บริโภคสินค้าที่มีประโยชน์ ตังอย่างเช่น ซันไบทส์  ผลิตภัณฑ์ขนมข้าวอบกรอบที่มีจุดเด่นอยู่ที่การเพิ่มส่วนผสมอย่าง “ข้าวไรซ์เบอร์รี่” ทำให้มีรสชาติอร่อยเข้มข้น ทั้งยังเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินต่างๆ อาทิ เบต้าแคโรทีน วิตามินอี วิตามินบี1โอเมก้า3  โดยใช้กรรมวิธีการอบแทนการทด จึงทำให้มีปริมาณไขมันน้อยกว่า 40%

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527