สวัสดี

สถานการณ์ตลาดอาหารในจีนหลังการแพร่ระบาดโควิด-19

แชร์:
Favorite (38)

พฤศจิกายน 2563

ส่องการค้าอาหารระหว่างประเทศของจีน หลังจากทางการจีนยืนยันเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ซึ่งเชื่อว่ามีต้นตอมาจากตลาดสดที่ขายอาหารทะเลและอาหารป่าในเมืองอู่ฮั่น โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ในเวลาต่อมาจีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่" 23 ม.ค. 2563 ทางการจีนมีคำสั่ง "ล็อกดาวน์" ระงับการให้บริการเครื่องบิน รถไฟ และบริการขนส่งมวลชนทั้งหมดที่เดินทางเข้าออกเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรราว 11 ล้านคน รวมทั้งเมืองใกล้เคียง หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ลุกลามอย่างรวดเร็ว ทางการจีนประกาศใช้มาตรการ “ปิดเมือง” เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า จีนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดโดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ถึงแม้จะมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากแต่อัตราการเสียชีวิตในจีนค่อนข้างต่ำอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เท่านั้น การรับมือของจีนแสดงถึงศักยภาพการวิจัยและสาธารณสุขภายในประเทศ ขณะเดียวกันการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในวงกว้างและความเป็นปึกแผ่นของชุมชน

          การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลกส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรง รวมถึงส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีนในระยะสั้น จีนใช้ความพยายามอย่างมากในการควบคุมการแพร่ระบาดเบื้องต้นภายในประเทศ  ทำให้สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ฉุกเฉินเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งช่วงหลังมานี้จีนทุ่มเทกำลังในสองด้านพร้อมกัน คือ ป้องกันและควบคุมการระบาดภายในประเทศ และผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูการผลิตและกลับเข้าทำงาน การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของจีนจึงค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างเป็นระบบ

          ด้วยเหตุนี้ สำหรับการค้าอาหารกับประเทศจีนจึงแทบไม่ได้รับผลกระทบเลย จะเห็นได้จากมูลค่านำเข้าสินค้าเกษตร อาหารและเครื่องดื่ม ช่วง 9 เดือนแรกปี 2563 ของประเทศจีน เท่ากับ 108,348.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 17.70  เมื่อพิจารณาภาพที่ 1 มูลค่านำเข้าอาหารรายไตรมาสของจีน จะเห็นได้ว่าการนำเข้ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน และหากพิจารณาเปรียบเทียบรายไตรมาสก็จะพบว่าจีนพึ่งพาการนำเข้าอาหารเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2562 โดยในปี 2563 ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสก็ยังมีการนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527