สวัสดี

ส่องพฤติกรรมผู้บริโภคและอุตสาหกรรมอาหารในเอเชียช่วงสถานการณ์ COVID-19

แชร์:
Favorite (38)

เมษายน 2563

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ได้สร้างความเสียหายไปทั่วโลก เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คน โดยนักวิเคราะห์หลายสำนักต่างระบุว่าหลังเหตุการณ์นี้ผ่านพ้นไปจะเกิดความปกติใหม่ (New normal) ที่จะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติของโลก ธุรกิจทุกประเภทจะปรับโฉมเร็วขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น ในขณะที่ผู้บริโภคก็จะหันมาใช้ชีวิตตามรูปแบบของความปกติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการดูแลป้องกันสุขภาพ ความเชื่อใจที่ถูกมองเป็นเรื่องที่มากับแบรนด์ดังต่างๆ โดยปัจจัยด้าน “สุขอนามัย” กลายเป็นหนึ่งในคุณค่าของแบรนด์ไปแล้ว การอยู่บ้านมากขึ้นและสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ระบบนิเวศของ E-commerce จะเติบโตอย่างมาก ทั้งธุรกิจ Logistics, Delivery, สังคมแบบไร้เงินสด และระบบการขายสินค้าแบบอัตโนมัติ

มีประเด็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัยว่า ไวรัสโคโรนาสามารถปนเปื้อนมาในอาหารในบรรจุภัณฑ์ที่เราซื้อมารับประทานได้หรือไม่ คำถามนี้ตอบโดยองค์การอนามัยโลก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา และ  European Food Safety Agency (EFSA) พบว่ายังไม่มีหลักฐานว่ามีการแพร่ระบาดทางช่องทางนี้ เพราะเชื้อไวรัสมีอายุจำกัดบนพื้นผิว ซึ่งถ้าตอบตามหลักการวิทยาศาสตร์ก็คืออาหารที่ผ่านความร้อนฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรส์ เป็นอย่างน้อย และบรรจุภาชนะปิดสนิท เพียงพอสำหรับการทำลายเชื้อแล้ว ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงน้อยมาก เมื่อเทียบกับอาหารสดหรืออาหารแช่แข็งโดยไม่ผ่านความร้อน  และเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติของการแพร่ระบาด ผู้ประกอบการอาหารซึ่งมีระบบสุขลักษณะการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice) เป็นระบบพื้นฐานเบื้องต้นแล้ว ต่างก็เพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการคัดกรองคนงานเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อจากคนสู่คน  การสวมหน้ากาก การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล  การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นที่และเครื่องมือในการแปรรูป ดังนั้นจึงเกิดความเชื่อมั่นได้ในอีกระดับ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527