สวัสดี

เทรนด์อาหารปี 2558 ที่ต้องจับตา

แชร์:
Favorite (38)

กุมภาพันธ์ 2558

10 เทรนด์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมอาหาร จากการประชุม Global Food Forum ได้มีการนำเสนอทิศทางด้านอาหารที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารปี 2558 และในอนาคต โดยบริษัท Innova Market Insight น่าสนใจ 10 เทรนด์

10 เทรนด์ที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมอาหาร จากการประชุม Global Food Forum ได้มีการน าเสนอทิศ ทางด้านอาหารที่จะกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารปี 2558 และใน อนาคต โดยบริษัท Innova Market Insight น่าสนใจ 10 เทรนด์ ดังนี้

1. จาก Clean label สู่ Clear label Clean label คือการแสดงข้อมูลบนฉลากอย่างชัดเจน ไม่มากเกิน ความต้องการ และเข้าใจง่าย นอกจากนี้ Clean label ยังได้รับ ความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคว่าสินค้ามีส่วนผสมจากธรรมชาติหรือมี สารเคมีเจือปนอาหารน้อยกว่าปกติ ซึ่งในปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มกว่าร้อยละ 25 น า Clean label มาใช้ กอปรกับผู้ผลิตมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความเป็นธรรมชาติหรือผลิตจาก วัตถุดิบธรรมชาติโดยอาศัยช่องว่างของการกำหนดความหมายหรือคำจำกัดความของคำว่า “Natural” จนทำให้เกิดแรงผลักทั้งจากผู้บริโภค ผู้ค้าปลีก ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนผู้ก าหนดกฎหมาย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ 

2. เอาใจเชฟมือสมัครเล่น (Convenience for foodies) ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องสำหรับการประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้าน ด้วยความก้าวหน้า ของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ช่วยให้คนที่มีใจรักในการทำอาหาร กลายเป็นเชฟมือทองจากการเปิดและทำตาม รายการโทรทัศน์ หรือบล็อก (blog) สอนทำอาหาร ซึ่งกลายเป็นแฟชั่นและความสนุกสนานของคนในยุคนี้ อีกทั้ง ยังสามารถเผยแพร่ หรืออวดให้เพื่อนๆ ในสังคมออนไลน์ได้อีกด้วย นอกจากนี้สิ่งที่ส่งผลให้การทำอาหาร รับประทานเองที่บ้านได้รับความนิยมคือ ประหยัดและดีต่อสุขภาพ ส่งผลต่อความต้องการวัตถุดิบที่สดใหม่และ ส่วนผสมต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริโภคที่ต้องการประกอบอาหารรับประทานเองแต่ไม่มี ประสบการณ์ (cooking from scratch) จะเริ่มทำจากสูตรหรือคำแนะนำจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย

3. ตลาดผู้บริโภคกลุ่ม millennials (marketing to millennials) กลุ่ม millennials หรือ millennials generation 1 โดยจะมีอายุระหว่าง 15 – 35 ปี อย่างที่ทราบกันดี ว่าปัจจุบันประชากรโลกกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด มีความรู้ ความสนใจ และสามารถใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้ จนบางครั้งดูเหมือนมีชีวิตผูกติดกับสังคมออนไลน์ คนในกลุ่มนี้จึงได้รับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก จึงต้องการสร้างความแตกต่าง และชอบสิ่งใหม่ๆ โดยจะมีแนวโน้มในการจงรักภักดีต่อแบรนด์ (brand loyal) ลดลงต่างจากผู้บริโภคในสมัยก่อน และหันไปซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจแทน

*1 กลุ่ม Gen-M หรือ Millennial Generation บ้างก็เรียกว่า Echo Boomers (ลูกของกลุ่ม Baby boomer Generation) เป็นกลุ่มคนที่เพิ่งจบการศึกษา มีอายุระหว่าง 22-29 ปี คน กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานครอบครัวที่ค่อนข้างดี มีฐานะ การศึกษา

4. โอกาสที่เพิ่มขึ้นของขนมขบเคี้ยวมื้ออาหารปกติ (formal mealtime) ของประชากรในยุคนี้ลดความสำคัญลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับการเติบโตของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ถูกจัดให้เป็นอาหารว่าง (snack) มากกว่าเป็นมื้ออาหารหลัก อาหารเพื่อสุขภาพแบบจานด่วน (quick healthy food) มีแนวโน้มที่จะเข้ามาทดแทนมื้ออาหารหลักแบบเดิม (ที่จะต้องรับประทาน 3 มื้อ เช้า เที่ยง เย็น) เป็นการบริโภคของว่างหรือขนมขบเคี้ยวที่มีการกำหนดช่วงเวลาเฉพาะของการบริโภค ด้วยความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาของวัน

 

 

 


5. ไขมันและแป้งที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย (Good Fats, Good Carbs) ด้วยความกังวลว่าความเสี่ยงของการเกิดโรคอ้วน หรือน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องไขมันไม่อิ่มตัว และไขมันธรรมชาติ ทำให้ความสนใจในเรื่องปริมาณไขมันโอเมก้า-3 เช่นเดียวกันกับการใช้เนยแท้หรือ butter เพื่อกลิ่นรสที่เป็นธรรมชาติ แทนการให้เนยเทียมหรือมาการีน ซึ่งมีไขมันทรานส์สูง ไม่ดีต่อสุขภาพรวมถึงการใช้น้ำตาลจาธรรมชาติแทนการใช้สารให้ความหวานสังเคราะห์

6. มองหาแหล่งโปรตีนที่มากกว่าไม่ว่าจะเป็นผู้จำหน่ายส่วนผสม (ingredient supplier) ผู้ผลิตอาหาร หรือแม้กระทั่งผู้บริโภค ต่างมองหาแหล่งโปรตีนใหม่ โปรตีนถั่วเหลืองถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญเพราะมีราคาถูกและมีปริมาณเพียงพอ แต่กลับนำมาใช้ประโยชน์กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Products Launches :NPLs) ไม่มากนัก เวย์โปรตีนยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องยาวนาน และยังคงเติบโตต่อไปอีก ขณะเดียวกันโปรตีนจากถั่วฝัก (pulse protein) เริ่มเป็นที่สนใจอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้คาดว่าในอนาคตจะมีการประยุกต์ใช้โปรตีนจากสาหร่ายอื่นๆ ด้วย รวมถึงโปรตีนจากแมลงอาจจะกลายเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญในผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527