สวัสดี

ผู้บริโภคญี่ปุ่นในยุคเศรษฐกิจชะลอตัว

แชร์:
Favorite (38)

มีนาคม 2558

ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มการนำเข้าอาหาร ตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในแนวโน้มการบริโภค แนวโน้มประชากรญี่ปุ่นที่คาดว่าจะลดลงเนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำ ทำให้ตลาดอาหารญี่ปุ่นจะมีผลกระทบ ผู้ค้าปลีกอาหารและธุรกิจบริการอาหารต่างแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงลูกค้า

ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มการนำเข้าอาหาร

ตลาดญี่ปุ่นเป็นตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีมูลค่าเพิ่มสูงซึ่งก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในแนวโน้มการบริโภคแนวโน้มประชากรญี่ปุ่นที่คาดว่าจะลดลงเนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่่า ท่าให้ตลาดอาหารญี่ปุ่นจะมีผลกระทบ ผู้ค้าปลีกอาหารและธุรกิจบริการอาหารต่างแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงลูกค้า ทั้งการเพิ่มจ่านวนร้านเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง แข่งขันด้านราคา ความสะดวกความหลากหลาย และความปลอดภัย หลายรายที่รักษาธุรกิจให้อยู่รอดด้วยการควบรวมกิจการ การซื้อกิจการ หรือการมีหุ้นส่วนธุรกิจกับคู่ค้าใหม่ๆ ที่แตกต่างจากช่องทางเดิม ตลาดอาหารญี่ปุ่นเริ่มมีการแบ่งประเภทสินค้าเพื่อตอบสนองผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มที่ต้องการดูแลสุขภาพ จึงเป็นโอกาสของสินค้าที่คุณภาพสูง และมีคุณค่าสูง

ในช่วงปี 2557 ที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง มากกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว มีผลมาจากปัจจัยสนับสนุนคือค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงและผลก่าไรของภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ในทางตรงกันข้ามภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 8% ที่เริ่มมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2557 จะส่งผลทางลบต่อภาคธุรกิจบริการและแปรรูปอาหาร เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นด้านอาหาร แรงงาน และสาธารณูปโภค

ปี 2557 ญี่ปุ่นน่าเข้าสินค้าอาหาร มูลค่า 63,225 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีอัตราลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 2.87 โดยแหล่งน่าเข้าที่ส่าคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน แคนาดา ไทย และออสเตรเลีย โดยมีส่วนแบ่งตลาดดังภาพที่ 2 ทั้งนี้ มูลค่าน่าเข้าจากไทยมีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 กล่าวคือ ในปี 2554 ญี่ปุ่นน่าเข้าสินค้าอาหารจากไทยมีสัดส่วนร้อยละ 6.74 ของมูลค่าน่าเข้าทั้งหมดต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 6.63 ในปี 2555 และ ร้อยละ 6.34 ในปี 2556 ล่าสุดปี 2557ไทยมีส่วนแบ่งมูลค่าน่าเข้าอาหารร้อยละ 6.25

ทั้งนี้ แนวโน้มมูลค่าน่าเข้าอาหารของญี่ปุ่นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี 2555-2557ดังภาพที่ 1 ดังนั้น หากผู้ส่งออกไทยจะยังพุ่งเป้าขยายการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น จ่าเป็นต้องท่าความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการบริโภคให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เพราะเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะทรงตัว ผู้บริโภคจะเลือกซื้อแต่สินค้าที่คุ้มค่าและตอบสนองความต้องการที่ตรงใจจริง ๆ เท่านั้น ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นยินดีที่จะจ่ายในราคาสูงส่าหรับสินค้าที่มีคุณภาพและสะดวกสบาย แต่ต้องราคาเหมาะสมตามคุณค่าที่ได้รับด้วย ท่าให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหลัก ๆ หลายแห่งต่างแนะน่าสินค้า private brand ที่ราคาเหมาะสมคุณภาพสู่ตลาดเป็นทางเลือกมากขึ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527