สวัสดี

ตลาดอาหารกระป๋องในคาซัคสถาน

แชร์:
Favorite (38)

พฤษภาคม 2558

รู้จักคาซัคสถาน ในบรรดากลุ่มสมาชิก CIS(The Commonwealth of Independent States) 9 ประเทศ คาซัคสถานมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับ 2 รองจากรัสเซีย และเป็นลำดับที่ 48 ของโลก (ไทยอยู่อันดับที่ 32 ของโลก) คาซัคสถานเป็นแหล่งนำเข้าอาหารอันดับที่ 59 ของโลก มูลค่านำเข้าปีที่ผ่านมา 2,387.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

รู้จักคาซัคสถาน

ในบรรดากลุ่มสมาชิก CIS (The Commonwealth of Independent States) 9 ประเทศ คาซัคสถานมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับ 2 รองจากรัสเซีย และเป็นลำดับที่ 48 ของโลก ( ไทยอยู่อันดับที่ 32 ของโลก )คาซัคสถานเป็นแหล่งนำเข้าอาหารอันดับที่ 59 ของโลก มูลค่านำเข้าปีที่ผ่านมา 2,387.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 5ปี ที่ผ่านมาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของคาซัคสถานอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับสมาชิกในกลุ่ม CIS และในปี2557 เป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 138 ของไทย จึงเป็นตลาดใหม่อีกประเทศหนึ่งที่น่าจะทำความรู้จัก

ประเทศคาซัคสถานตั้งอยู่ในทวีปเอเชียกลาง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยทิศเหนือติดกับรัสเซียทิศตะวันออกติดกับจีน มีเมืองหลวงชื่อ กรุงอัสตานา (Astana) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบโล่งกว้างกึ่งทะเลทรายโดยทอดตัวจากแม่น้ำวอลกา (Volga river) ทางภาคตะวันตกไปยังเทือกเขาอัลไต (Altai Mountains) ทางภาคตะวันออกของประเทศ และจากที่ราบลุ่มในเขตไซบีเรียตะวันตกทางภาคเหนือ ไปยังเขตทะเลทรายและโอเอซิสทางภาคใต้ของประเทศ ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 17.95 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 70 สัดส่วนประชากรที่อาศัยในเขตเมืองมีร้อยละ 53.6 การปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข คาซัคสถานใช้ภาษารัสเซียและภาษาคาซัคเป็นภาษาราชการ ประเทศไทยกับคาซัคสถานมีความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปอย่างราบรื่นมาโดยตลอด โดยมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535

ภายหลังการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต คาซัคสถานได้พยายามปฏิรูประบบเศรษฐกิจของตนเองกระทั่งได้รับการรับรองสถานะเศรษฐกิจแบบตลาดจากสหรัฐอเมริกา ในปี 2545 และเป็นประเทศแรกที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียตที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในการลงทุนจากสถาบันระหว่างประเทศ (InvestmentGrade Rating) โดยหน่วยงานและบริษัทการเงินชั้นนำของโลก ทั้งจาก Moody และ Standard & Poor's (S&P) ระบบการธนาคารของคาซัคสถานจัดว่ามีการพัฒนามากที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ประธานาธิบดีนาซาร์บาเยฟแห่งคาซัคสถานได้ประกาศให้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zones: SEZ) เพื่อมุ่งเน้นการกระตุ้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างชาติ การยกระดับการพัฒนาพื้นที่ การสร้างเครือข่ายสนับสนุนเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาทางสังคมของประเทศ การดึงดูดการลงทุน การพัฒนาเทคโนโลยีและการจัดการแนวใหม่สำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงและมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของคาซัคสถานโดยปัจจุบันมีเขตเศรษฐกิจพิเศษรวมทั้งหมด 9 แห่ง

แม้ว่าวัฒนธรรมของโซเวียตได้มีอิทธิพลครอบคลุมชาวคาซัคมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่างพยายามสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งท้าทายอย่างมาก เนื่องจากประชากรในคาซัคสถานส่วนใหญ่ถูกหล่อหลอมอย่างฝังลึกเข้ากับวัฒนธรรมแบบโซเวียตรัสเซียทั้งด้านอาหาร การแต่งกาย และการดำรงชีวิต

ปัจจุบันแม้ว่าชาวคาซัคจะเริ่มเลียนแบบวัฒนธรรมการรับประทานอาหารแบบชาวตะวันตก (Continental) มากขึ้น กล่าวคือ การถือส้อมด้วยมือซ้าย และถือมีดด้วยมือขวา แต่โดยทั่วไปยังพบว่าชาวคาซัคมักจะรับประทานอาหารบนโต๊ะเตี้ย เรียกว่า ‘Dastarkhan’ และมีวัฒนธรรมการต้อนรับแขกที่มาเยือนที่บ้านด้วยการเลี้ยงรับรองอาหารที่ปรุงพิเศษ โดยเริ่มจากนมหมักจากสัตว์ต่าง ๆ เช่น นมม้า (Kumys) นมอูฐ (Shubat) หรือนมวัว (Airan) ตามด้วยน้ำชา ขนมแป้งทอดก้อนกลม (Baursaks) ชีสก้อนอบแห้ง (Irimshik) และชีสผสมหางนม
อบแห้ง (Kurt) หลังจากนั้นจะเสิร์ฟอาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers) ที่ท าจากเนื้อม้า ซึ่งจะรับประทานพร้อมกับขนมปังแบน

ชาวคาซัคเป็นชนชาติหนึ่งที่รับประทานเนื้อเป็นอาหารหลัก ทั้งเนื้อม้า เนื้ออูฐ เนื้อวัว และเนื้อแกะโดยเฉพาะเนื้อม้าที่นิยมนำมารับประทานในงานเลี้ยงโอกาสพิเศษหรือเทศกาลเฉลิมฉลอง นอกจากนี้ พวกเขายังมีความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับสัตว์ที่นำมารับประทานด้วย เช่น การห้ามไม่ให้เด็กแตะต้องหัวแกะเพราะเชื่อว่าจะทำให้พ่อของพวกเขาเสียชีวิต หรือการห้ามไม่ให้พ่อนำส่วนสมองของสัตว์ให้ลูกชายรับประทานเพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กชายคนนั้นพูดติดอ่างหรือพูดไม่ชัด

ตลาดอาหารโดยรวม

 

มูลค่าตลาดอาหารในคาซัคสถานและค่าใช้จ่ายด้านอาหาร/คน/ปี 2558

คาซัคสถานมีพื้นที่เพาะปลูกและทำการปศุสัตว์ที่กว้างขวาง มีความสามารถในการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรประเภทเนื้อสัตว์ ธัญพืชประเภทข้าวสาลี ธนาคารโลกได้ประเมินอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของคาซัคสถานว่าจะยังมีแนวโน้มขยายตัวในระดับดี ทำให้ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสามารถในการจับจ่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งโครงสร้างประชากรที่ยังมีคนอายุน้อยจำนวนมาก ทำให้เปิดรับวัฒนธรรมอาหารต่างชาติและสินค้าใหม่ Business Monitor International ประเมินค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารต่อคนต่อปีในปี 2558 จะเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11.2 หรือมีมูลค่า 1,539.7 $US/คน/ปี มูลค่าตลาดอาหารรวมอยู่ที่ราว 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนค่าใช้จ่ายด้านเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ต่อคนต่อปีจะเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 14.4 

 

 

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527