สวัสดี

ตลาดเครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ (Organic) หรือเครื่องดื่มออร์แกนิกในประเทศไทย

แชร์:
Favorite (38)

ธันวาคม 2559

สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยการปนเปื้อนของสารมลพิษ การดำเนินชีวิตจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากได้ตระหนักถึงพิษภัยจากสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์ที่ข้องเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพมากขึ้นด้วยการพิถีพิถันเลือกอุปโภคและบริโภคสินค้าที่ไม่มีสารพิษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และ “สินค้าเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าออร์แกนิก (Organic)” ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ของคนรักสุขภาพ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากกระบวนการผลิตตามธรรมชาติ ปราศจากการใช้สารเคมีและปลอดสารพิษในทุกขั้นตอนการผลิต

จากแนวโน้มที่กล่าวมาข้างต้นนี้ส่งผลให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic) ได้รับความสนใจจากธุรกิจห้างร้านมากขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากการหันมาเปิดร้านจำหน่ายอาหารเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพของผู้ประกอบการ    หลายแห่ง อาทิ บริษัทสังคมสุขภาพ จำกัด หรือ เลมอนฟาร์ม ภายใต้ชื่อ "บี ออร์แกนิก บาย เลมอนฟาร์ม" หรือ     การเพิ่มรายการอาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic) ของร้านซิซซ์เล่อร์ Sizzler “บิ๊กซี ซูเปอร์มาร์เก็ต” ขยายพื้นที่วางสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Organic) “ท็อปซูเปอร์มาเก็ต” จำหน่ายเนื้อสุกรที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ภายใต้แบรนด์ “เนเชอรัล มีท” (Natural Meat) “องค์การส่งเสริมโคนมแห่งประเทศไทย” พัฒนานมพาสเจอร์ไรซ์อินทรีย์ (Organic) ตราไทย-เดนมาร์ค “มอร์แกนิค” (Morganic) “บริษัท ไทยออร์แกนิกฟูด จำกัด” ผู้ผลิตและจำหน่ายซีเรียลธัญพืชอบกรอบแบรนด์ “ซองเดอร์” ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic) สำหรับเด็ก แบรนด์ “Baby Orkanic Thai” ของบริษัท เวิร์ธ แอนด์ เวลธ์ จำกัด และเครื่องสำอางอินทรีย์ “vowda” ของบริษัท ว้าวด้า จำกัด เป็นต้น

เครื่องดื่มเกษตรอินทรีย์ (Organic) หรือเครื่องดื่มออร์แกนิก เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ผู้บริโภคให้การตอบรับดี ดังจะเห็นได้จากมูลค่าตลาดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.9 ต่อปี กล่าวคือ ปี 2555 มูลค่า 81.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 105.6 ล้านบาท ในปี 2559 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในระหว่างปี 2558-2559 พบว่า ตลาดเติบโตน้อยกว่าในอดีตที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่เครื่องดื่มออร์แกนิกมีราคาสูงกว่าเครื่องดื่มปกติประมาณ 1-2 เท่า ผู้บริโภคมีความไม่มั่นใจว่าคุณประโยชน์ที่ได้รับจากเครื่องดื่มออร์แกนิกนั้นคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ประกอบกับขาดการกระตุ้นตลาดจากกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527