สวัสดี

รายงานวิจัย เรื่อง แผนการตลาด (Marketing Plan) อุตสาหกรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสอาหาร กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ซอสไข่เค็ม

แชร์:
Favorite (38)

4 กันยายน 2555

รายงานวิจัย เรื่อง แผนการตลาด (Marketing Plan) อุตสาหกรรมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสอาหาร กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ซอสไข่เค็ม
กรณีศึกษา:  ผลิตภัณฑ์ ซอสไข่เค็ม
ประเภทธุรกิจ :  อุตสาหกรรมและจาหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสอาหาร
กรณีตัวอย่างผลิตภัณฑ์  : ซอสไข่เค็ม
รูปแบบการดาเนินธุรกิจ : ธุรกิจร้านอาหาร
รูปแบบการพัฒนาธุรกิจ  : สร้างเครื่องปรุงรสสูตรเฉพาะของร้าน ให้เป็นเมนูเด็ด
(พัฒนาผลิตภัณฑ์ : สร้างคุณค่าเพิ่ม เอกลักษณ์เฉพาะ)
เป้าหมายทางธุรกิจ : นาผลิตภัณฑ์เสริม (เครื่องปรุงรส) ออกจาหน่ายเพื่อ
ขยายตลาดให้มากขึ้น :โดยจาหน่ายในธุรกิจ ร้านค้า
ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง : ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และเข้าสู่ตลาด ผู้บริโภค

2. สภาพอุตสาหกรรม
พัฒนาการด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องเทศและเครื่องปรุงรส ผู้ประกอบการเกือบทั้งหมดเป็นกิจการที่
เริ่มต้นดาเนินงานจากอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรืออุตสาหกรรมในครอบครัว สินค้าในกลุ่มนี้เป็นสินค้าหลักที่มีความ
ต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด จึงทาให้เกิดการพัฒนาในด้านของกระบวนการและปริมาณการผลิตที่ต่อเนื่องอยู่
ตลอดเวลา ปัจจุบันการตลาดสาหรับผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทั้งนี้ประกอบด้วยผู้นาตลาด
และคู่แข่งขันในตลาด โดยองค์กรธุรกิจที่อยู่ในตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสมีทั้ง แบบตราสินค้าระดับชาติ (National
Brand) และตราสินค้าคนกลาง (Private Brand) และยังมีตราสินค้าของผู้ผลิตเอง (Manufacture Brand) โดยมี
รูปแบบผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วย เครื่องปรุงรส ซุปก้อนหรือผง รวมถึงเครื่องแกงสาเร็จรูป ดังนั้นหากพิจารณาตลาด
โดยรวมแล้ว แนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้นยังมีอีกมาก อีกทั้งยังเป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งสามารถขายได้กับคนทุกระดับ
แนวโน้มการตลาดและการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ เครื่องปรุงรส จากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ไป ทาให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปโดยเฉพาะแม่บ้านสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย,รวดเร็วในการ
ทาอาหารและประหยัดมากขึ้น, กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นครอบครัวเดี่ยว นักศึกษา หรือคนทางานซึ่งไม่ค่อยมีเวลา ดังนั้น
เครื่องปรุงรสสาเร็จรูปจึงมีการขยายตัวสูงขึ้นทุกปี และมีแนวโน้ม สูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยที่
สอดคล้องกับความต้องการของคนกลุ่มนี้เป็นอย่างดี ทาให้ผู้ผลิตหลายรายหันมาสนใจผลิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นตรา
คนอร์ ที่เป็นผู้นาตลาดอาหารกึ่งสาเร็จรูป ประเภทโจ๊ก และซุปไก่ก้อน ที่เป็นที่รู้จัก หรือตราสินค้า รีวอง ที่เข้ามาทา
ตลาดและผลิตเครื่องแกงหลากหลายชนิดจนสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดไปได้ส่วนหนึ่ง ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด
เครื่องแกงสาเร็จรูปเข้มข้นมากขึ้น

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527