สวัสดี

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง

แชร์:
Favorite (38)

22 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาววรรณี ตั้งคำ นางสาวสายทอง สุทธิสงค์

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -

ที่มา : โครงงานนักศึกษา เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋องคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2546

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : หอสมุด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กลุ่มสินค้า : 1511 เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์

เทคโนโลยี : การแปรรูปโดยใช้ความร้อน

Keyword : ข้าวหมกไก่, ข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง, ข้าวเสาไห้, ข้าวหอมมะลิ

 

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคมเมืองที่ต้องแข่งขันกับเวลา อาหารจานเดียวสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวได้ ข้าวหมกไก่เป็นอาหารจานเดียวชนิดหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เคยรับประทานและติดใจในรสชาติ แต่เนื่องจากข้าวหมกไก่นั้นมีอายุการเก็บรักษาสั้นดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อยืดอายุการเก็บข้าวหมกไก่ให้นานขึ้น โดยการบรรจุเป็น

ผลิตภัณฑ์ข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง โดยทำการศึกษาชนิดพันธุ์ข้าว และอัตราส่วนระดับน้ำที่เหมาะสมในการผลิตข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง ชนิดข้าวที่ใช้ทำการศึกษา มี 2 พันธุ์ คือ ข้าวพันธุ์เสาไห้ และข้าวพันธุ์หอมมะลิ จากนั้นศึกษาอัตราส่วนข้าวต่อน้ำที่เหมาะสมในการผลิตข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋อง โดยนำข้าว 2สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์หอมมะลิ และพันธุ์สาวไห้ ผสมกับน้ำ ในอัตราส่วนข้าว : น้ำ คือ 1:0.8, 1:1.2 และ1:1.6 จากนั้นนำไปผลิตข้าวหมกไก่บรรรจุกระป๋อง โดยนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 118 องศาเซลเซียสคำนวณหาค่า F0 โดยวิธี General Method และ Formular Method ทดสอบลักษณะทางประสาทสัมผัสโดยวิธี

Hedonic scale หลังจากนั้นนำมาทดสอบประสิทธิภาพของความร้อนในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ โดยวิธีSterility Test และนำไปทดสอบกับผู้ทดสอบ 50 คนในอำเภอหาดใหญ่ สามารถสรุปวิธีการทดลองผลิตข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋องได้ดังนี้

จากการศึกษา พบว่า ชนิดและอัตราส่วนข้าว : น้ำที่เหมาะสมในการผลิตข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋องคือ ข้าวหอมมะลิ อัตราส่วน 1:1.2 ส่วนค่า F0 ที่คำนวณโดยวิธี General Method และ Formular Method

จากการศึกษา พบว่า ชนิดและอัตราส่วนข้าว : น้ำที่เหมาะสมในการผลิตข้าวหมกไก่บรรจุกระป๋องคือ ข้าวหอมมะลิ อัตราส่วน 1:1.2 ส่วนค่า F0 ที่คำนวณโดยวิธี General Method และ Formular Method

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527