สวัสดี

การผลิตไอศกรีมผง

แชร์:
Favorite (38)

21 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง: การผลิตไอศกรีมผง
ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง: นางสาวธิดารัตน์ ชินพัณณ์ นางสาวสุจิตรา บวรธนสาร
คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ. ดร. วรพจน์ สุนทรสุข
ที่มา: ปัญหาพิเศษ เรื่อง การผลิตไอศกรีมผงภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ปีการศึกษา 2544
แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม: หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กลุ่มสินค้า: 1520 ผลิตภัณฑ์นม
เทคโนโลยี: การแปรรูปโดยการกำจัดความร้อน
Keyword: ไอศกรีม ไมโครเวฟ สุญญากาศ มอลโทสเด็กซ์ตริน เครื่องอบแห้ง

การผลิตไอศกรีมผง

ปัญหาสำคัญในการผลิตไอศกรีมคือ ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้วต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิแช่แข็งตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนในการเก็บรักษาและเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งค่อนข้างสูง ดังนั้นหากผลิตไอศกรีมที่สามารถเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิห้องได้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตไอศกรีมผง โดยใช้การทำแห้งแบบไมโครเวฟสุญญากาศ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ผงที่ละลายน้ำได้ทันที

ในการผลิตใช้สูตรไอศกรีมมิกซ์ที่ประกอบด้วย

  •  นมผงร้อยละ 10
  • มันเนยร้อยละ 10
  • น้ำตาลร้อยละ 15
  • เจลาตินร้อยละ 0.3
  • เลซิตินร้อยละ 0.3
  • น้ำร้อยละ 64.4
  • มอลโทสเด็กซ์ตริน ร้อยละ 9

โดยน้ำหนักของไอศกรีมมิกซ์ เพื่อช่วยทำให้แห้ง จากนั้นทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งระบบไมโครเวฟสุญญากาศ โดยสภาวะที่เหมาะสม คือระดับความดัน 120 ทอร์ ใช้ระดับพลังงานไมโครเวฟ High 1200 วัตต์ และ Low 240 วัตต์ เวลาที่ใช้ในการทำแห้งหรือระเหยน้ำออกขึ้นอยู่กับปริมาตรหรือน้ำหนักของผลิตภัณฑ์เริ่มต้น ในการศึกษานี้ใช้น้ำหนักเริ่มต้น 350 กรัม ใช้กำลังไมโครเวฟระดับ High เป็นเวลา 19 นาที โดยให้ความร้อนครั้งละ 5, 5, 5, 2, 1, และ 1 นาที ตามลำดับ จนน้ำหนักไอศกรีมลดลงเกือบคงที่ จากนั้นเปลี่ยนเป็นระดับพลังงานไมโครเวฟ Low อีก 5 นาที แบ่งให้ความร้อนครั้งละ 3 และ 2 นาที ตามลำดับ จนน้ำหนักไอศกรีมคงที่ การให้พลังงานไมโครเวฟต้องให้ช่วงเวลาสั้นๆ เนื่องจากถ้าให้เวลานานผลิตภัณฑ์ที่ได้จะไหม้ ลักษณะไอศกรีมผงที่ได้ มีสีเหลืองสว่าง มีกลิ่นหอมของส่วนผสม

เมื่อนำไอศกรีมผงมาละลายด้วยน้ำอุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส อัตราส่วนในการคืนรูปของผลิตภัณฑ์ คือ น้ำหนักผง ต่อน้ำ เท่ากับ 1 : 1.5 แล้วนำไปปั่นจะเป็นไอศกรีม จากการทดสอบทางประสาทสัมผัสเปรียบเทียบกับไอศกรีมสูตรควบคุมที่ไม่ผ่านการทำแห้ง พบว่าผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับไอศกรีมสูตรควบคุมที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เมื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของไอศกรีมผง มีค่าความชื้นร้อยละ 2.3 ค่า Bulk density 0.5 และน้ำหนักของผงที่ไม่ละลายร้อยละ 9.7 ปริมาณสารอาหารในไอศกรีมที่ได้ มีโปรตีนร้อยละ 5.8 ไขมันร้อยละ 9.7 คาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 15.5 และเถ้าร้อยละ 0.9

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527