สวัสดี

ศึกษาการควบคุมเชื้อราในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบปรุงรส

แชร์:
Favorite (38)

20 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : ศึกษาการควบคุมเชื้อราในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบปรุงรส

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวชลลดา โพธิ์ขำ นางสาวดวงกมล สระน้ำ

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : -

ที่มา : ปัญหาพิเศษ เรื่อง ศึกษาการควบคุมเชื้อราในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบปรุงรส ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปี 2545

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุดกลาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

กลุ่มสินค้า : 1512 ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์

เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก

Keyword : ปลาหมึกปรุงรส / โซเดียมซอร์เบท / โพแทสเซียมเบนโซเอท

ศึกษาการควบคุมเชื้อราในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบปรุงรส

 

ปลาหมึกอบปรุงรสเป็นผลิตภัณฑ์อาหารแห้งที่มีผู้นิยมบริโภค แต่ในผลิตภัณฑ์มักมีเชื้อราที่เป็น

สาเหตุให้เกิดการเสื่อมเสีย เนื่องจากเชื้อราสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าเชื้อแบคทีเรียทั่วไป โดย

ปลาหมึกแห้งซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบปรุงรสมักมีการปนเปื้อนจากจุลินทรีย์ใน

ปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเชื้อราดังกล่าวสามารถสร้างสารพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคที่รับประทาน

สารพิษดังกล่าวเข้าไป จึงเกิดแนวคิดที่จะศึกษาวิธีการลดปริมาณจุลินทรีย์เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและ

ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยใช้สารกันเสียร่วมกับกระบวนการให้ความร้อน เพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุ

ผลิตภัณฑ์

การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการควบคุมเชื้อราในผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบปรุงรส เพื่อยืดอายุการ

เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาค่า Aw เปอร์เซ็นต์ความชื้น และปริมาณเชื้อราในปลาหมึกกล้วยตากแห้ง

ศึกษาเปรียบเทียบการใช้สารโซเดียมซอร์เบทและสารโพแทสเซียมเบนโซเอทในการควบคุมเชื้อราในน้ำจิ้ม

ปรุงรส และศึกษา Aw เปอร์เซ็นต์ความชื้น และการใช้สารโซเดียมซอร์เบทและสารโพแทสเซียมเบนโซเอท

ในการควบคุมเชื้อราในปลาหมึกอบปรุงรส

จากการศึกษา ค่า Aw เปอร์เซ็นต์ความชื้น และปริมาณเชื้อราในปลาหมึกแห้ง พบว่าค่า Aw เท่ากับ

0.720 มีความชื้นเท่ากับ 19.525% และปริมาณเชื้อราเท่ากับ 166 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ผลิตภัณฑ์ปลาหมึกแห้ง พ.ศ.2533 ( มอก.972-2533 ) ที่กำหนดให้ความชื้นไม่เกินร้อยละ 20 และมีปริมาณ

เชื้อราไม่เกิน200โคโลนี จากการศึกษาเปรียบเทียบการใช้สารโซเดียมซอร์เบต และสารโพแทสเซียมเบนโซ

เอต ในการควบคุมเชื้อราในน้ำจิ้มปรุงรส เมื่อบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยแบ่งน้ำจิ้มปรุงรส

เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุมซึ่งไม่เติมสารกันเสีย กลุ่มที่เติมสารโซเดียมซอร์เบท 0.1% โดยน้ำหนัก และกลุ่ม

ที่เติมสารโพแทสเซียมเบนโซเอท 0.1% พบว่า ในกลุ่มที่เติมสารโซเดียมซอร์เบต ร้อยละ 0.1 ของน้ำหนัก มี

ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเชื้อราดีที่สุด

จากการศึกษาค่า Aw เปอร์เซ็นต์ความชื้น และการใช้สารโซเดียมซอร์เบทและสารโพแทสเซียมเบน

โซเอทในการควบคุมเชื้อราในปลาหมึกอบปรุงรส พบว่าปลาหมึกอบปรุงรสมีค่า Aw เท่ากับ 0.610 มี

ความชื้นร้อยละ 26.87 และปริมาณเชื้อราเมื่อวิเคราะห์ทุกๆ 3 ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 33 วัน

โดยแบ่ง 3 กลุ่มคือ กลุ่มควบคุมซึ่งไม่เติมสารกันเสีย กลุ่มที่เติมสารโซเดียมซอร์เบท 0.1% โดยน้ำหนัก และ

กลุ่มที่เติมสารโพแทสเซียมเบนโซเอท 0.1% โดยน้ำหนัก มีปริมาณเชื้อราเท่ากับ 640 105 และ 255 โคโลนี

ต่อกรัม ตามลำดับ โดยกลุ่มที่เติมสารโพแทสเซียมเบนโซเอตร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก มีประสิทธิภาพใน

การควบคุมปริมาณเชื้อราได้ดีที่สุด แสดงว่าปลาหมึกอบปรุงรสมีอายุการเก็บรักษามากกว่า 33 วัน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527