สวัสดี

การผลิตต้นเชื้อรา Rhizopus oligosporus โดยวิธีการหมักแบบแห้งในถัง แพคเบด

แชร์:
Favorite (38)

20 มกราคม 2559

ชื่อเรื่อง : การผลิตต้นเชื้อรา Rhizopus oligosporus โดยวิธีการหมักแบบแห้งในถัง

แพคเบด

ผู้วิจัย/ผู้เรียบเรียง : นางสาวจุฬารัตน์ ครองแถว

คณะทำงาน/อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ

ที่มา : วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เรื่องการผลิตต้นเชื้อรา

Rhizopus oligosporus โดยวิธีการหมักแบบแห้งในถังแพคเบด ภาควิชา

วิศวกรรมการอาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2547

แหล่งสืบค้นฉบับเต็ม : สำนักหอสมุด วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กลุ่มสินค้า : 1549 ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ / กากมันสำปะหลัง รำข้าว

เทคโนโลยี : เทคโนโลยีชีวภาพและการหมัก

Keyword : เศษอาหาร ก๊าซชีวภาพ

การผลิตต้นเชื้อรา Rhizopus oligosporus โดยวิธีการหมักแบบแห้งในถังแพคเบด

Rhizopus oligosporus เป็นราที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตสารชีวภาพ เอนไซม์และกรด

อินทรีย์ รวมทั้งชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การศึกษาในครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาวะการผลิตต้นเชื้อรา

Rhizopus oligosporus ที่มีคุณภาพและให้ปริมาณมาก โดยเลือกใช้กระบวนการหมักแบบแห้งบนซับสเตรท

ต่างๆ และเลือกใช้ถังหมักเชื้อราแบบแพคเบดขนาด 50 ลิตร เพื่อขยายขนาดการผลิตต้นเชื้อรา ขั้นตอน

การศึกษาประกอบด้วย การศึกษาระดับความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ของรา R.

oligosporus การศึกษาสัดส่วนระหว่างปลายข้าวสุกและรำข้าวที่เหมาะสมต่อการสร้างสปอร์ของ R.

oligosporus การศึกษาสภาวะการให้อากาศที่เหมาะสมต่อการสร้างสปอร์ของ R. oligosporus การศึกษาอายุ

การเก็บต้นเชื้อรา R. oligosporus และ การทดลองนำต้นเชื้อรา R. oligosporus R. oligosporus ไปเพาะเลี้ยง

ต่อกัน

จากการศึกษาสรุปผลได้ดังนี้

- การศึกษาระดับความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสร้างสปอร์ของรา R.

oligosporus โดยใช้ปลายข้าวหุงสุก 40 % พบว่าเชื้อราจะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดและ

สร้างสปอร์ได้สูงสุด 1.98x1010 สปอร์ต่อกรัมซับสเตรท และระดับความชื้นที่เหมาะสมใน

การสร้างสปอร์อยู่ระหว่าง 35-40%

- การศึกษาสัดส่วนระหว่างปลายข้าวสุกและรำข้าวที่เหมาะสมต่อการสร้างสปอร์ของ R.

oligosporus พบว่าสัดส่วนที่เหมาะสมของปลายข้าวสุกและรำข้าวอยู่ที่ 60:40 จะให้ปริมาณ

สปอร์ใกล้เคียงกัน คือ 5.13x104 CFU ต่อกรัมซับสเตรทที่เวลา 72 ชั่วโมง แต่จะมีต้นทุนสูง

กว่าการใช้ในสัดส่วน 50:50 ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนจึงควรเลือกใช้สัดส่วน 50:50

ซึ่งให้จำนวนสปอร์ 6.42x104 CFU ต่อกรัมซับสเตรทที่เวลา 108 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้

ทำการศึกษาวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ทดแทนปลายข้าวซึ่งโดยเลือกกากมันสำปะหลังซึ่งมี

ต้นทุนต่ำกว่าปลายข้าว มาทำการทดลองผสมกับรำข้าว พบว่าสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่าง

กากมันสำปะหลังต่อรำข้าวคือ 70:30 โดยจะให้จำนวนสปอร์สูงสุดที่ 6.88x105 CFU ต่อกรัม

ซับสเตรท

- การศึกษาสภาวะการให้อากาศที่เหมาะสมต่อการสร้างสปอร์ของ R. oligosporus โดยเลือก

วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตราจากกากมันสำปะหลังและรำข้าว ที่สัดส่วน 70:30 พบว่า ความ

หนาของซับสเตรทในถังหมักแบบแพคเบดที่หนา 5 เซนติเมตร จะให้จำนวนสปอร์สูงสุด

ภายใต้การให้อากาศตลอดเวลาการหมักที่อัตรา 0.1 เมตรต่อกรัม และพบว่าการปรับเปลี่ยน

อัตราการการให้อากาศในถังหมักและขนาดความหนาจะมีผลต่อปริมาณการผลิตเชื้อรา

- การศึกษาอายุการเก็บต้นเชื้อรา R. oligosporus โดบพบว่าการเก็บต้นเชื้อราที่อุณหภูมิ 30

องศาเซลเซียส โดยไมั่มผัสกับแสง จะเก็บรักษาเชื้อราได้มากที่สุด 71.73 % และเก็บได้นาน

- การทดลองนำต้นเชื้อรา R. oligosporus R. oligosporus ไปเพาะเลี้ยงต่อกัน พบว่าจำนวน

สปอร์จะมีมากขึ้นจนถึงรุ่นที่ 2 ซึ่งจะได้จำนวนสปอร์สูงสุด 1 log cycle ส่วนสปอร์รุ่นที่ 3

และ 4 จะมีจำนวนสปอร์ลดลงตามลำดับ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527