สวัสดี

โครงการจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน(สาขาอาหาร) กรณีอุตสาหกรรมกุ้ง และซูริมิ

แชร์:
Favorite (38)

12 กันยายน 2548

แต่ทั้งนี้ปัญหาอุปสรรคและข้อจํากัดในการค้าก็เพิ่มทวีมากขึ้นทุกขณะทมาตรการกีดกันทางการค้าที่ด้านภาษี (tariff barrier) และมิใช่ภาษี (non-tariff barrier)ประกอบกับประเทศคู่แข้งขมจํานวนมากและมีการปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตใหม่สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ขณะที่บางประเทศมีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนที่ต่ํากว่าไทย เช่น จีน และเวียดนาม ซึ่งส่งผลให้ไทยเริ่มสูญเสียความได้เปรียบด้านต้นทุนมากขึ้นทุกปีนอกจากประเทศคู่แข่งได้นํากลยุทธ์ด้านราคามาใช่มากขึ้น ทําให้ไทยเริ่มสูญเสียส่วนแบ่งตลาด จากปัจจัย เหล่านี้ทําให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยเริ่มขยายตัวแบบชะลอตัว เนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง และไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดังนั้นเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงต้องมีการติดตามภาวะหรือปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและประเทศคู่แข่งอย่างเร่งด่วน เพิ่งสัญญาณเตือนภัยให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

การศึกษาโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) สาขาอาหาร เป็นหนึ่งโครงการที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยสามารถขยายตัวไดอย่างตอเนื่อง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจาก จะทําให้ทราบถึงความสามารถในการแข่งขันของไทยเชิงเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง ภายใต้ 
2 ตัวชี้วัดที่สําคัญ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถใช้ในการกําหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศและสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของรัฐบาลโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) สาขาอาหาร ได้เริ่มดําเนินการศึกษามาตั้งแต่ปี2544-2545 จากผลการดําเนินงานในระยะแรก ทําให้ได้ข้อมูลตัวชี้วัดศักยภาพด้านการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารเชิงเปรียบเทียบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในระดับบริหาร และจากการเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาในระยะแรกพบว่าได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบธุรกิจโดยทั่วไป ซึ่งต่างเห็นความจําเป็นและต้องการให้มีการศึกษาและจัดทําข้อมูลในลักษณะดังกล่าวเชิงลึกต้อไป
ดังนั้น ในปี 2548 สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจึงได้มีการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยได้ทําการศึกษากลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมาย ได้แก่กุ้ง และเนื้อปลาบดแปรรูป เนื่องจากเป็น
สินค้าประมงที่มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทยทั้งภาคการผลิตและการส่งออก โดยมีมูลค้าการส่งออกทั้งสองผลิตภัณฑ์มากถึง 70,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 45 ของการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 14.38 ของมูลค่าการส่งออกอาหารทั้งหมดของไทยและมีส่วนแบ่งในตลาดโลกในอันดับต้นๆ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการค้าเกิดขึ้นต่อสินค้าอาหารทั้ง 2 กลุ่มนี้ เพื่อให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันให้คงอยู่ต่อไป

จากผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมกุ้งและเนื้อปลาบดแปรรูป ทั้งในระดับอุตสาหกรรมในประเทศ โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีของ ตัวแบบ Porter’s Five
Forces Model ซึ่งประกอบไปด้วยเกณฑ์การประเมินด้านสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน อํานาจการ ต่อรองของผู้ซื้อ อํานาจการต่อรองของซัพพลายเออร์สินค้าทดแทนและการเข้าสู่ธุรกิจของคู่แข่งรายใหม่และการใช้ปัจจัยชี้วัดทางการเงินในการประเมินขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย และการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศได้ใช้แนวคิดของ Diamond Model ภายใต้กรอบของ ความสามารถในการผลิต (Productivity) ประสิทธิภาพการผลิตการตลาด และการวิจัยและพัฒนา (Efficiency) และการใช์ประโยชน์จากสินทรัพย์ (Asset
Utilization) สามารถสรุปผลได้ดังนั้น

ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527