สวัสดี

Hot issue

เรื่องของ “หมู” ที่ไม่หมู

มกราคม 2565

รายละเอียด :

ทำไม...หมูราคาแพง

ปัจจุบันประเทศไทยมีการเลี้ยงสุกรในระบบราว 18.5 ล้านตัว หรือราว 1.5 ล้านตัน สุกรหรือหมูที่ผลิตได้ใช้บริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณร้อยละ 92 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 8 ถูกส่งออกจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านทั้งในรูปหมูมีชีวิตและผลิตภัณฑ์แปรรูป ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเพื่อการรักษาเสถียรภาพราคา

ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มในช่วงเดือนมกราคม 2565 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับเกินกว่า 100 บาทต่อกิโลกรัม จากปกติราคาเฉลี่ย 75 บาทต่อกิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 ส่งผลทำให้ราคาขายปลีกเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้นแตะ 250 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาเฉลี่ย 170 บาทต่อกิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 50 นับเป็นระดับราคาที่สูงสุดในรอบ 10 ปี นับเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง

ราคาเนื้อหมูที่แพงขึ้นไม่ได้อยู่นอกเหนือคาดการณ์ มันส่งสัญญาณมาตั้งแต่เกิดโควิด-19 มาตรการ Lockdowns การจำกัดการเดินทาง ทำให้ต้นทุนการกระจายผลผลิตสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์สำคัญอย่างข้าวโพดและกากถั่วเหลืองมีราคาเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดกว่า 80% และ 30% ตามลำดับ ซึ่งวัตถุดิบดังกล่าวส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ

อุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูของไทยที่เกาะเกี่ยวอยู่ใน Value chain ระดับโลก ก็ได้รับการส่งผ่านต้นทุนราคาวัตถุดิบมายังอุตสาหกรรมในประเทศ เมื่อต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่คิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของต้นทุนทั้งหมดในการเลี้ยงหมูปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับโรคระบาดครั้งใหญ่ไม่ว่าจะเป็นโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน (African Swine Fever: ASF) หรือโรคอะไรก็แล้วแต่ ทำให้​ฟาร์มหมูของผู้เลี้ยงรายย่อยจำนวนมาก ได้หยุดดำเนินกิจการเพราะไม่อาจแบกรับความเสี่ยงของโรคระบาดและต้นทุนการเลี้ยงหมูที่เพิ่มขึ้นได้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527