สวัสดี

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์

สถานการณ์อุตสาหกรรม

พฤติกรรมการบริโภคและการจำหน่ายภายในประเทศ

การจำหน่ายเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ทั้งหมดในตลาดอินโดนีเซียส่วนใหญ่เป็นแบบ Off-trade มีสัดส่วนการครองตลาดประมาณร้อยละ 96.9 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 82.8 ในเชิงมูลค่า โดยในปี 2558 มีปริมาณการจำหน่ายเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ทั้งหมดรวม 23,290.7 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่า 91,073.5 พันล้านรูเปียห์ (รูปที่ 1) ซึ่งมีทิศทางการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะตลาดเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์แบบ Off-trade ในอินโดนีเซีย พบว่า มีปริมาณการจำหน่ายรวม 22,573.8 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่า 80,374 พันล้านรูเปียห์ หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7 และ 12.1 ต่อปี ในเชิงปริมาณและเชิงมูลค่า ตามลำดับ ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2554-2558) (รูปที่ 2) 
ในปี 2558 น้ำดื่มบรรจุขวดเป็นชนิดสินค้าที่ชาวอินโดนีเซียนิยมบริโภคมากที่สุด สามารถครองส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 83.3 ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 31.8 ในเชิงมูลค่า ของการค้าเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ แบบ Off-trade ทั้งหมดในตลาดอินโดนีเซีย (รูปที่ 3)   โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเติบโตของน้ำดื่มบรรจุขวดในตลาดอินโดนีเซีย ได้แก่ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของสังคมเมือง ประกอบกับชาวอินโดนีเซียมีความห่วงใยสุขภาพมากขึ้น ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความต้องการน้ำดื่มสะอาดที่เพียงพอในแต่ละวัน   นอกจากนี้ราคาสินค้าที่ถูกกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่นยังสนับสนุนให้น้ำดื่มบรรจุขวดสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม ตั้งแต่ผู้ที่มีรายได้ต่ำไปจนถึงผู้ที่มีรายได้สูง


ในช่วงที่ผ่านมาพบว่าบรรดาผู้ผลิตเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ต่างพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อตอบรับกับกระแสความห่วงใยสุขภาพของชาวอินโดนีเซียที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าชาเขียวพร้อมดื่ม และเครื่องดื่มน้ำตาลน้อย ซึ่งมักจะเน้นจุดขายของสินค้าด้านความเป็นธรรมชาติของวัตถุดิบ การมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และการช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น เพื่อเป็นตัวกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลาง-สูง   ยกตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มน้ำมะพร้าว ตรา “Buavita” หรือ ตรา “Hydro Coco” ซึ่งปรับแบรนด์ใหม่จาก “Fatigon Hydro” และได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียเป็นอย่างดี หลังจากวางตำแหน่งสินค้าเป็นกลุ่มเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา   นอกจากนี้จากรูปแบบการใช้ชีวิตที่ยุ่งวุ่นวาย และต้องเดินทางอยู่เป็นประจำ ทำให้ชาวอินโดนีเซียมีความต้องการเครื่องดื่มที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก PET มากขึ้น เนื่องจากสะดวกต่อการพกพามากกว่าบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่น เช่น ขวดแก้ว กระป๋อง กล่องกระดาษ และยังสามารถเปิดปิดได้ใหม่ตามที่ต้องการ ส่งผลให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดในรูปของบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก PET อาทิ ชาพร้อมดื่ม ตรา “Ichi Ocha” “MYTEA” และ “Nü Green Tea Royal Jasmine with Rock Sugar”

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527