สวัสดี

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร

เกษตรกรรม

  • การใช้ที่ดิน

ข้อมูลจาก The Central Intelligence Agency (CIA) ระบุว่า ในปี 2554 ประมาณร้อยละ 31.2 ของพื้นที่ดิน (land area) ทั้งหมดในอินโดนีเซีย เป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ โดยมีขนาดประมาณ 565,210 ตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก (Arable land) และการปลูกพืชยืนต้น (Permanent cropland) ประมาณ 235,504 และ 219,200 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 และ 12.1 ของพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ทั้งหมดในอินโดนีเซีย ตามลำดับ (รูปที่ 1) โดยจากสถิติพบว่าพื้นที่ทางการเกษตรของอินโดนีเซียได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

รูปที่ 1:     การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรในอินโดนีเซีย ปี 2554

  • มูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน

CIA ปะมาณการว่า ในปี 2558 ภาคเกษตรกรรมของอินโดนีเซียมีมูลค่าทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.6 ของ GDP ทั้งประเทศ และก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 47.61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 38.9 ของจำนวนประชากรวัยแรงงานทั้งหมด ในปี 2555   อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนแรงงานในภาคเกษตรกรรมของอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่กลับพบว่ามีสัดส่วนของจำนวนแรงงานที่ลดลง จากร้อยละ 55 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ลดลงเป็นร้อยละ 45 ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 และลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

  • การผลิตและการส่งออก

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ยางพารา โกโก้ กาแฟ ชา มันสําปะหลัง ข้าว   โดยในปี 2558 อินโดนีเซียผลิตข้าวได้มากที่สุด มีปริมาณข้าวที่ไม่ได้ขัดสีจำนวน 75 ล้านตัน (ตารางที่ 1) ซึ่งจัดเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและอินเดีย   ทั้งนี้ แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกก็ตาม แต่ยังเป็นผู้นำเข้าข้าวด้วยเช่นกัน เนื่องจากชาวอินโดนีเซียถือเป็นชนชาติที่บริโภคข้าวเป็นจำนวนมาก เฉลี่ยคนละประมาณ 140 กิโลกรัมต่อปี   

 

ตารางที่ 1    ปริมาณการผลิตและการส่งออกผลผลิตการเกษตรที่สำคัญของอินโดนีเซีย ปี 2553-2558

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527