สวัสดี

กลยุทธ์การทำธุรกิจ

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2562 
ลักษณะและพฤติกรรมผู้บริโภค
 
• ตุรกีเป็นชนชาติหนึ่งที่มองว่าการรับประทานอาหารเป็นกิจกรรมที่สำคัญทางสังคม ทั้งสังคมครอบครัว และสังคมธุรกิจ ซึ่งอาหารของชาวตุรกีมีความหลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค โดยส่วนใหญ่จะมีอาหารหลัก ประกอบด้วย ข้าว แป้งจากธัญพืช น้ำมันมะกอก หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ มะเขือยาว ถั่วแดง และชีส ส่วนเนื้อสัตว์ที่รับประทานส่วนใหญ่ คือ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อไก่ เนื่องจากประชากรเกือบทั้งประเทศเป็นชาวมุสลิม
 
• ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลให้ชาวตุรกีสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่ายมากขึ้น ประกอบกับการให้บริการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ ทำให้ผู้บริโภคชาวตุรกี โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวหันมาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งรวมถึงสินค้าอาหารด้วยเช่นกัน เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวมีรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันที่ค่อนข้างยุ่งวุ่นวาย  ดังนั้น พวกเขาจึงมีความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตของพวกเขา ทั้งด้านสินค้าและบริการ จะเห็นได้จากจำนวนผู้สั่งอาหารออนไลน์ และปริมาณความต้องการบริโภคอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพร้อมรับประทานแช่แข็ง ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
• ชาวตุรกีมีแนวโน้มการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นกระแสหลักเหมือนกับหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยมในตลาดตุรกี ได้แก่ สินค้าอาหารที่มีสูตรเฉพาะเหมาะสมกับสุขภาพ (better for you)  สินคาอาหารที่เติมสารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย (fortified/functional) และสินค้าอาหารที่ทำจากวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติและไม่ก่อให้เกิดการแพ้ (free from and naturally healthy)
 
• ชาวตุรกีมักจะเลือกซื้อสินค้าอาหารโดยพิจารณาจากร้านค้าหรือห้างค้าปลีกที่อยู่ใกล้บ้านเป็นหลัก ตามด้วยปัจจัยด้านคุณภาพและราคาสินค้า ซึ่งชาวตุรกีโดยทั่วไปค่อนข้างมีความอ่อนไหวต่อราคาสินค้าสูง ซึ่งจากพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้บรรดาร้านค้าปลีกสมัยใหม่ต่างจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมสินค้า เพื่อกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคชาวตุรกีให้เพิ่มมากขึ้น
 
• แม้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แต่ชาวตุรกีส่วนใหญ่ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ยังคงชื่นชอบการเลือกซื้ออาหารจากตลาดข้างทาง หรือตลาดแบบดั้งเดิม ที่เปิดขายของตั้งแต่เช้าจรดเย็น โดยเฉพาะสินค้าอาหารสด เช่น ผักสด ผลไม้สด เนื่องจากมีราคาถูกกว่าที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527