สวัสดี

กลยุทธ์การทำธุรกิจ

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 14 เมษายน 2562 
 
ลักษณะและพฤติกรรมผู้บริโภค
 
• ชาวอินเดียโดยทั่วไปจะนิยมรับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่มากกว่าอาหารแปรรูป แต่เนื่องจากวิถีการใช้ชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผู้หญิงชาวอินเดียออกมาทำงานนอกบ้านเพิ่มขึ้น และครอบครัวเดี่ยว หรือหนุ่มสาววัยทำงานที่อาศัยอยู่ตามลำพังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้พวกเขามีความต้องการอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพร้อมรับประทาน ที่จะช่วยประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกในการเตรียมอาหารที่บ้าน
 
• ประชากรในอินเดียส่วนใหญ่รับประทานมังสวิรัติ แต่ปัจจุบันชาวอินเดียหันมาเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช่มังสวิรัติมากขึ้น โดยเฉพาะชาวอินเดียที่อาศัยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ มีแนวโน้มการเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น  ส่วนชาวอินเดียทางภาคเหนือส่วนมากยังคงรับประทานมังสวิรัติ ซึ่งระดับรายได้ และระดับการศึกษาของชาวอินเดีย เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าว
 
• นม ชีส ไข่ เป็นกลุ่มอาหารที่ชาวอินเดียใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อมารับประทานในครอบครัวมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 23 ของค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารทั้งหมดในแต่ละครัวเรือน  รองลงมา ได้แก่ กลุ่มขนมปังและธัญพืช  ผลไม้ และผัก มีสัดส่วนร้อยละ 21 14.5 และ 12 ตามลำดับ  โดยในส่วนของเนื้อสัตว์ที่ชาวอินเดียส่วนใหญ่บริโภค ได้แก่ เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อไก่ เนื้อปลาและอาหารทะเล
 
• 5 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพ ได้แก่ การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติทั้งหมด ปริมาณโปรตีนสูง อาหารออร์แกนิก การปราศจากสารสังเคราะห์ และปริมาณน้ำตาลต่ำหรือไม่มีเลย
 
• ชาวอินเดียนิยมนำกระเช้าของขวัญไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่และบุคคลที่นับถือในวาระโอกาสและเทศกาลสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะบรรจุอาหารสำเร็จรูปประเภทผลไม้แห้ง ผลไม้อบกรอบ เช่น อินทผาลัม ลูกเกด ลูกพลับ มะม่วงหิมพานต์ เกาลัด รวมถึงถั่วต่าง ๆ และขนมขบเคี้ยว 
 
มารยาทการติดต่อธุรกิจ
 
• โดยทั่วไปชาวอินเดียจะทักทายกัน โดยการยกมือไหว้ พร้อมกล่าวคำว่า “นมัสเต” ซึ่งคำทักทายอาจแตกต่างกันในแต่ละศาสนา หรือแต่ละพื้นที่ เช่น ชาวมุสลิมจะทักทายด้วยคำว่า “ซาลาม มุอลายกุม” ขณะที่ชาวอินเดียในรัฐทมิฬนาฑู จะทักทายด้วยคำว่า “วานักกำ” ส่วนการจับมือแบบวัฒนธรรมตะวันตก ถือเป็นรูปแบบการทักทายที่ยอมรับในกลุ่มผู้มีการศึกษาค่อนข้างสูง โดยผู้ชายไม่ควรจับมือ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527