สวัสดี

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 13 เมษายน 2562 
 
เกษตรกรรม
 
o การใช้ที่ดิน
ในปี 2559 อินเดียมีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ประมาณ 1,797,210 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 79 ของพื้นที่ดินทั้งหมดในประเทศ (land area) ในจำนวนนี้แบ่งเป็นที่ดินสำหรับการเพาะปลูกทั่วไป (arable land) การปลูกพืชยืนต้น (permanent crops) และการปลูกหญ้า/เลี้ยงสัตว์ (permanent pasture) ประมาณ 1,564,630  130,000 และ 102,580 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 69  6 และ 4 ของพื้นที่ดินทั้งหมดในอินเดีย (รูปที่ 1)  ทั้งนี้ พืชเกษตรที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ในอินเดีย ได้แก่ กลุ่มธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี เมล็ดพืชน้ำมัน ชา อ้อย ถั่วเลนทิล หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ผลิตภัณฑ์นม ส่วนสัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ แกะ แพะ ไก่ และปลา
 
 
o มูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน
 
ในปี 2559 ภาคเกษตรกรรมของอินเดียสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจร้อยละ 15.4 ของ GDP ทั้งประเทศ หรือประมาณ 392.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และก่อให้เกิดการจ้างงาน ร้อยละ 47 ของจำนวนประชากรวัยแรงงานที่มีงานทำทั้งหมด หรือประมาณ 245.3 ล้านคน ในปี 2560
 
o การผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร (ไม่รวมประมง)
 
ในปี 2560 อินเดียมีปริมาณการผลิตพืชผลเกษตรรวมประมาณ 968 ล้านตัน โดยผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อ้อย ข้าว และข้าวสาลี มีปริมาณผลผลิต  306  169 และ 99 ล้านตัน ตามลำดับ หรือมีสัดส่วนรวมกันเกือบร้อยละ 60 ของปริมาณผลผลิตพืชเกษตรที่เพาะปลูกได้ทั้งหมดในอินเดีย ทั้งนี้ พืชผลเกษตรที่ผลิตได้บางส่วนจะนำไปแปรรูปเบื้องต้น
 
 
 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527