สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไตรมาส 3/2551 แนวโน้มไตรมาส 4 และปี 2552

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

        ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาส 3/2551 เติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ภาคการผลิตจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 แต่ภาคส่งออกยังขยายตัวสูงตามความต้องการของสินค้าในตลาดโลกและอานิสงค์จากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่สามารถปรับราคาสินค้าส่งออกเพื่อสะท้อนต้นทุนการผลิตได้มากขึ้นในช่วงก่อนหน้า ขณะที่วัตถุดิบในการแปรรูปมีให้เลือกหลากหลายเนื่องจากผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจด้านราคา รวมทั้งค่าเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และมีทิศทางสอดคล้องกับคาเงินในภูมิภาค โดยการส่งออกอาหารของไทยในไตรมาส 3/2551 มีมูลค่า 219,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

 

 

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไตรมาส 3/2551

แนวโน้มไตรมาส 4 และปร 2552

พฤศจิกายน 2551

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทยไตรมาส 3/2551


          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาส 3/2551 เติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ภาคการผลิตจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.4 แต่ภาคส่งออกยังขยายตัวสูงตามความต้องการของสินค้าในตลาดโลกและอานิสงค์จากราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่สามารถปรับราคาสินค้าส่งออกเพื่อสะท้อนต้นทุนการผลิตได้มากขึ้นในช่วงก่อนหน้า ขณะที่วัตถุดิบในการแปรรูปมีให้เลือกหลากหลายเนื่องจากผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจด้านราคา รวมทั้งค่าเงินบาทค่อนข้างมีเสถียรภาพเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และมีทิศทางสอดคล้องกับคาเงินในภูมิภาค โดยการส่งออกอาหารของไทยในไตรมาส 3/2551 มีมูลค่า 219,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน


          ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของไทย 9 เดือนแรกเติบโตต่อเนื่อง โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนที่ผ่านมา การส่งออกอาหารของไทยมีมูลค่า 599,090 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงไตรมาส 3/2551 ได้รับผลกระทบบ้างจากการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่สงบ ขณะที่ภาคการผลิตมีแรงกดดันด้านต้นทุนสินค้าอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์ในช่วงต้นไตรมาส รวมทั้งวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ที่เริ่มลุกลามไปทั่วโลก ส่งผลทำให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาขยายตัวเพียงร้อยละ 1.2
แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารของไทยไตรมาส 4 และปี 2551


          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาส 4/2551 คาดว่าจะชะลอตัวลงจากไตรมาส 3 แต่คงเป็นไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากปริมาณนำเข้าวัตถุดิบเพื่อแปรรูปส่งออกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำสำคัญที่แสดงถึงภาวะการส่งออกในช่วงไตรมาสถัดไปมีแนวโน้มขยายตัวดีจากคำสั่งซื้อที่มีมาก่อนหน้าอย่างไรก็ตาม ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของไตรมาส 3 ภาวะอุตสาหกรรมอาหารเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวโดยเฉพาะการส่งออกที่ขยายตัวในอัตราลดลงหลังจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยเศรษฐกิจโลกที่กำลังทรุดหนัก เงินทุนที่เคลื่อนย้ายออกจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้ารวมทั้งผลผลิตทางการเกษตรฤดูกาลใหม่ที่จะออกสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่าหลาย ๆ  ปีที่ผ่านมา เป็นปัจจัยกดดันราคาสินค้าเกษตรให้ลดต่ำลงอย่างหนัก ส่งผลให้ปริมาณและราคาส่งออกสินค้าเกษตรอาหารมีโอกาสมากที่จะชะลอตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 โดยการส่งออกอาหารของไทยไตรมาส 4/2551 คาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 200,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ลดลงเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 47.2 ในไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตาม คาดว่ามูลค่าส่งออกรวมตลอดปี 2551 น่าจะอยู่ระหว่าง 790,000-800,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 30 จากปี 2550
คาดการณ์แนวโน้มส่งออกอาหารไทยปี 2552


          ทิศทางอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2552 อาจไม่สดใสนัก จากการที่ไดรับผลกระทบจากการชะลอตัวลงอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2551 และอาจต้องเผชิญกับภาวะการทรุดหนักของเศรษฐกิจโลกซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยอย่างเต็มรูปแบบในต้นปี 2552 เป็นต้นไป ภาวะเศรษฐกิจโลกในปีหน้าส่อเค้าย่ำแย่กว่าที่คาด ทำให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ปรับประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอีกรอบเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 ภายหลังจากการประกาศตัวเลขดังกล่าวในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้เพียงเดือนเดียว โดยในครั้งนี้ IMF ได้ปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2552 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากร้อยละ 3.0 ในเดือนก่อนและปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากร้อยละ 3.9 ในเดือนตุลาคม โดยเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาและเป็นประเทศคู่ค้าหลักของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น ถูกลดประมาณการเศรษฐกิจในปี 2552 ลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.7, -0.5 และ -0.2 ตสใลำดับ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากดัชนีเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณอ่อนแอลงชัดเจน ความวิตกกังวลที่มีต่อเศรษฐกิจโลกจะกลายเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นและส่งผลทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ผู้นำเข้าจะขาดสภาพคล่องจากภาวะสินเชื่อตึงตัว ประกอบกับราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลงจะส่งผลทำให้ประเทศคู่ค้าเริ่มต่อรองให้มีการลดราคาสินค้าลงอีก ซึ่งจะสร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการของไทยภายใต้ภาวะที่ต้นทุนการผลิตปรับตัวลดลงช้ากว่าความคาดหวังของผู้บริโภค


          ภาวะเสณษฐกิจโลกที่กำลังย่ำแย่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอาหารไทย เนื่องจากสินค้าอาหารของไทยหลายรายการพึ่งพิงตลาดโลกในการนำรายได้เข้าประเทศ โดยเฉพาะสินค้าที่มีตลาดส่งออกอยู่ในตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นต้นตอของวิกฤตย่อมีโอกาสที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกมากที่สุด ขณะที่ยุโรปและญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับภาคการเงินรวมทั้งพึ่งพิเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก จึงมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศจะชะลอตัวตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อการส่งออกอาหารของไทยไปยังทั้งสองตลาด ส่วนการส่งออกไปยังตลาดรองได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน และเกาหลีใต้ มีแนวโน้มชะลอตัวลงไม่แตกต่างจากตลาดหลัก โดยคาดว่าในปีหน้าเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้จะชะลอตัวลงค่อนข้างมากเนื่องจากมีการพึ่งพิงภาคต่างประเทศในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง นอกจากนี้ การขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ โดยเฉพาะจีนจะมีโอกาสน้อยลง เพราะปัจจุบันเศรษฐกิจพึ่งพิงการส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจโลกประสบภาวะวิกฤต เศรษฐกิจจีนย่อมได้รับผลกระทบ ตามไปด้วย ปัจจุบันประเทศจีนได้ชื่อว่าเป็นโรงงานอาหารขนาดใหญ่ที่วบรวมวัตุถดิบ รวมทั้งสินค้าขั้นกลางจากทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อแปรรูป

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527